svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ปรับตัวสู่ new normal (1) โควิดกับชีวิตทางการศึกษา

30 เมษายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

มาตรการคลายล็อก-เปิดเมืองอย่างเป็นขั้นเป็นตอนของรัฐบาล และการที่ผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลงต่อเนื่องจนเหลือเพียงหลักหน่วย ทำให้ความหวังที่คนไทยจะได้ใช้ชีวิตหลังวิกฤติโควิดพ้นผ่าน ใกล้ความเป็นจริงมากยิ่งขึ้น แต่ผลข้างเคียงจากโควิดไม่ได้หมดไป และสังคมหลังจากนี้จะเปลี่ยนแปลงไปอยางมาก วิถีชีวิตใหม่ที่เรียกว่า New Normal กำลังจะก้าวเข้ามา "เนชั่นทีวี" ลงพื้นที่พบปะผู้คนและพูดคุยกับผู้รู้แขนงต่างๆ เพื่อสำรวจความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ เริ่มจาก "ชีวิตทางการศึกษา" ที่มีแนวโน้มเปลี่ยนไปอย่างมากมายหลังยุคโควิด ติดตามเรื่องราวนี้ได้จาก คุณชลธิชา รอดกันภัย

ศักดิ์ชัย ธรรมสาน์ส ต้องตระเวนขับรถแท็กซี่มากขึ้นกว่าปกติ เพื่อหารายได้ให้เพียงพอต่อการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันของครอบครัว และแบ่งเงินส่วนหนึ่งเตรียมไว้สำหรับค่าเทอมและค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเรียนของลูกชายที่เพิ่งสอบติดคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาการกีฬาแห่งหนึ่งในจังหวัดนครนายก 
แต่อาชีพขับแท็กซี่ของเขาในยุคโควิด ไม่เพียงพอสำหรับดูแลครอบครัวอีกแล้ว เพราะหาเงินได้เพียงแค่วันละ 200-300 บาทเท่านั้น
ความลำบากของครอบครัวศักดิ์ชัย สะท้อนถึงปัญหาความไม่แน่นอนทางการศึกษาของเด็กๆ และเยาวชนจำนวนไม่น้อยที่ครอบครัวของพวกเขาได้รับผลกระทบจากโรคระบาด 
ประธานที่ประชุมสภาคณาจารย์และข้าราชการแห่งประเทศไทย หรือ ทปสท. มองว่า ปัญหานี้จะกระทบเป็นวงกว้างต่อระบบการศึกษาของไทยทุกระดับ และเป็นห่วงโซ่ที่เชื่อมโยงกัน จุดเริ่มต้นคือพ่อแม่ผู้ปกครองถูกเลิกจ้าง จึงไม่มีเงินจ่ายค่าเทอมให้ลูกได้เรียนต่อ ซึ่งปัญหานี้ยังส่งผลต่อระบบการเรียนการสอนและ "ภาวะที่เก้าอี้ว่าง" ของมหาวิทยาลัยหลายแห่งด้วย

ประธาน ทปสท. เสนอทางออกของปัญหา 3 แนวทางด้วยกัน แนวทางแรกให้ภาครัฐแจกคูปองเรียนฟรีให้กับนักศึกษาที่ครอบครัวได้รับผลกระทบ โดยจำกัดทำเป็นทุนการศึกษา แนวทางที่สอง คือพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้นักศึกษาสามารถทำงานควบคู่ไปกับการเรียนได้ เพื่อให้สามารถหาเงินไว้ใช้จ่ายได้เอง โดยไม่ต้องรบกวนผู้ปกครอง และแนวทางสุดท้ายคือการดูแลเหล่าอาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาในมหาวิทยาลัย โดยการเพิ่มเงินเดือน 8% ตามสิทธิ์ที่ควรจะได้ หลังจากอัตราเงินเดือนเหลื่อมล้ำกับข้าราชการครูสังกัดอื่นมานานเกือบ 10 ปี
การดูแลคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาเป็นประเด็นที่อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย หรือ ทปอ. ใหความสำคัญ โดยบอกว่า อาชีพครู อาจารย์ ถือว่าเปราะบางมากในช่วงนี้ เนื่องจากการเรียนการสอนออนไลน์ทำให้ได้เห็นศักยภาพของอาจารย์แต่ละคนว่าสามารถปรับตัวได้มากขนาดไหน

อาจารย์สุชัชวีร์ บอกด้วยว่า ทางผู้บริหารมหาวิทยาลัยทราบดีถึงปัญหาทั้งหมด และได้ทุ่มงบของมหาวิทยาลัยจำนวน 5,000 ล้านบาท ไว้สำหรับเป็นค่าเล่าเรียนให้กับนักศึกษาและดูแลบุคลากรทางการศึกษาด้วย 
ชลธิชา รอดกันภัย ทีมล่าข่าว เนชั่นทีวี รายงาน

logoline