svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

พรุ่งนี้ 30 เม.ย. จับตา คกก.วัตถุอันตราย เลื่อน-ไม่เลื่อน แบนสารพิษ

29 เมษายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ในวันพรุ่งนี้ (30 เม.ย. 2563) นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย ครั้งที่ 2-1/2563 ซึ่งถูกจับตามองถึงการยืนมติแบนสารเคมีอันตรายในวันที่ 1 มิ.ย. 2563 นี้หรือไม่

วันนี้ (29 เมษายน 2563) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะกรรมการวัตถุอันตราย ที่มีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมพิจารณาทบทวนยืดเวลาการแบนพาราควอต และคลอร์ไพริฟอสออกไป จากวันที่ 1 มิถุนายน 2563 ออกไปเป็น31 ธันวาคม 2563 หรือจนกว่าการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าจะสิ้นสุดลง ตามข้อเสนอของ "นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย" ในวันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายนนี้
อ่านข่าวเพิ่มเติม :ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดการณ์สินค้าเกษตรเดือน พ.ค. 63 สูงขึ้น
ทางด้านมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เปิดเผยผลทดสอบ ยาฆ่าหญ้าไกลโฟเซตในเมล็ดถั่วเหลือง ซึ่งเก็บตัวอย่างในช่วงเดือนธันวาคม 2562 จำนวน 8 ตัวอย่าง จากห้างค้าปลีกและค้าส่ง โดยจากการทดสอบพบว่า มีถั่วเหลือง 3 ตัวอย่าง ไม่พบไกลโฟเซต ได้แก่ 1.ถั่วเหลือง ตรา บิ๊กซี 2.ถั่วเหลืองซีก ตรา ท็อปส์ 3.ถั่วเหลืองออร์แกนิค ตรา โฮม เฟรช มาร์ท

พรุ่งนี้ 30 เม.ย. จับตา คกก.วัตถุอันตราย เลื่อน-ไม่เลื่อน แบนสารพิษ

และมีจำนวน 5 ตัวอย่าง มีสารไกลโฟเซต ตกค้าง ได้แก่ 1.ถั่วเหลือง ตรา ไร่ทิพย์ ที่ 0.53 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม 2.ถั่วเหลือง ตรา ด็อกเตอร์กรีน ที่ 0.50 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม 3.ถั่วเหลืองผ่าซีก ตรา แม็กกาแรต ที่ 0.24 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม 4.ถั่วเหลืองซีก ตรา โฮม เฟรช มาร์ท ที่ 0.20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมและ5.ถั่วเหลืองซีก ตรา เอโร่ ที่ 0.07 มิลลิกรัม/กิโลกรัม
แต่เป็นการตกค้างไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานอาหารสากลที่กำหนด คือ 20 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม


พรุ่งนี้ 30 เม.ย. จับตา คกก.วัตถุอันตราย เลื่อน-ไม่เลื่อน แบนสารพิษ

นางสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า แม้จะพบการตกค้างไม่เกินมาตรฐาน แต่การที่มีไกลโฟเซตตกค้างในผลิตผลทางการเกษตรก็ทำให้เกิดความเสี่ยงและอาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคได้ ทำให้ผู้บริโภคไม่ได้รับการคุ้มครองตามสิทธิอันพึงมีพึงได้ที่ได้รับสิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยและสิทธิในการเลือกบริโภค เพราะไกลโฟเซตถือเป็นสารเคมีอันตราย เป็นสารก่อมะเร็ง การสัมผัสสารจึงเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ส่งผลต่อต่อมไร้ท่อ พบการตกค้างในเลือดแม่และสะดือทารกแรกเกิดสูงถึง 50.7% และมีคดีฟ้องร้องบริษัทมอนซานโต้-ไบเออร์ ของผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง มากกว่า 10,000 คดีในสหรัฐอเมริกา จึงขอเรียกร้องคณะกรรมการวัตถุอันตรายเร่งรัดการยกเลิกการใช้ไกลโฟเซตโดยเร็วที่สุด รวมทั้งขอให้ยุติการทบทวนการยกเลิกการใช้สารเคมีอันตรายอีก 2 รายการ คือ พาราควอตและคลอไพริฟอส ตามข้อเสนอของสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยด้วย

พรุ่งนี้ 30 เม.ย. จับตา คกก.วัตถุอันตราย เลื่อน-ไม่เลื่อน แบนสารพิษ


นางสารีกล่าวต่ออีกว่า สำหรับผู้ประกอบการ ขอให้ระบุในฉลากให้ชัดเจนหากมีการใช้ไกลโฟเซตในการเพาะปลูกหรือมีการนำเข้า และเรียกร้องกระทรวงเกษตรฯ ต้องบังคับให้มีการแจ้งแหล่งที่มาของอาหารโดยระบุว่า "มีการใช้สารไกลโฟเซตในการกระบวนการผลิต" เพื่อให้ผู้บริโภคมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจก่อนที่จะเลือกซื้อ และเพื่อหลีกเลี่ยงการได้รับสารเคมีด้วยตนเองอ่านข่าวเพิ่มเติม :ยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกกว่า 3 ล้าน ส่วนไทยต่ำ 10 เป็นวันที่ 3

logoline