svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ท่องเที่ยว

29 เมษายน วันเต้นรำสากล ใครไม่เต้น...เราเต้น!

29 เมษายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

วันที่ 29 เมษายน ของทุกปี คือวันที่ยูเนสโก้กำหนดให้เป็น "วันเต้นรำสากล" เพราะต้องการส่งเสริมให้ทุกคนหันมาเต้นรำ เนื่องจาก "การเต้น" เป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากกว่าที่ใครๆคิด

การเต้นรำ นับเป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวร่างกายและขยับตัวไปตามจังหวะของเสียงเพลง ประกอบกับการแสดงความรู้สึกต่างๆ เป็นการเคลื่อนไหวของมนุษย์ที่แสดงออกทางสังคม และจิตวิญญาณ เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ เป็นศาสตร์คือมีกฎที่ควบคุมแน่นอน ตายตัว เป็นศิลป์คือสามารถแสดงถึงจินตนาการและความเป็นตัวตนของมนุษย์ได้ดี


การเต้นรำ ถือได้ว่าเป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่มีความสำคัญ จนมีการกำหนดให้ทุก ๆ วันที่ 29 เมษายนของทุกปี เป็นวันเต้นรำสากล (International Dance Day)


29 เมษายน วันเต้นรำสากล ใครไม่เต้น...เราเต้น!


โดยที่มาของการเลือกวันดังกล่าวนั้น เกิดจากมติของ คณะกรรมการเต้นรำสากล (CID) ของสถาบันโรงมหรสพนานาชาติ สังกัดองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก้ ที่มีการประกาศเมื่อปี 1982 โดยกำหนดให้วันที่ 29 เมษายนของทุกปี เป็นวันเต้นรำสากล เพื่อเป็นการรำลึกถึงวันเกิดของ ฌอง จอร์จ โนแวร์ ศิลปินชาวฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์การเต้นบัลเลต์สมัยใหม่โดยพัฒนาบัลเลต์ให้เป็นแบบฉบับศิลปะและดึงดูดความสนใจของประชาชนในวงกว้าง


นอกจากนี้ การกำหนดให้มีวันเต้นรำสากล ก็เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการเต้นรำ รวมถึงการผลักดันให้รัฐบาลทั่วโลกช่วยส่งเสริมให้การเต้นรำมีอยู่ในระบบการเรียนการสอนในโรงเรียนด้วย




29 เมษายน วันเต้นรำสากล ใครไม่เต้น...เราเต้น!

ประโยชน์ของการเต้นรำ

1.ช่วยให้ความจำดีขึ้น

งานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ถูกเผยแพร่ในThe New England Journal of Medicineพบว่าการเต้นอาจช่วยให้เรามีความจำดีขึ้นและป้องกันไม่ให้คุณเป็นโรคสมองเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้นซึ่งนักวิทยาศาสตร์เผยว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิกสามารถช่วยลดการสูญเสียมวลของฮิปโปแคมปัสซึ่งเป็นสมองส่วนที่ควบคุมความจำ

2.คลายเครียด

การเต้นไม่เพียงแต่ดีต่อสุขภาพกายเท่านั้นแต่ยังดีต่อสุขภาพจิตอีกด้วยโดยมีงานวิจัยที่ถูกเผยแพร่ในJournal of Applied Gerontologyพบว่าการเต้นรำแบบคู่พร้อมกับเปิดเพลงคลอไปด้วยสามารถช่วยคลายเครียดได้

3.ลดอาการซึมเศร้า

มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งได้ทดสอบผลของการเต้นกับคนที่เป็นโรคซึมเศร้าพบว่าผู้ป่วยที่เข้าร่วมกลุ่มเต้นแนวUpbeatมีอาการของโรคซึมเศร้าน้อยที่สุดและมีชีวิตชีวามากที่สุด


4.ดีต่อหัวใจ

มีงานวิจัยของชาวอิตาลีพบว่าคนที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวที่เต้นรำจังหวะวอลทซ์มีสุขภาพหัวใจการหายใจและคุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับคนที่ปั่นจักรยานหรือวิ่งบนสายพาน


5.ช่วยลดน้ำหนัก

มีงานวิจัยในJournal of Physiological Anthropologyพบว่าการออกกำลังกายโดยการเต้นสามารถช่วยลดน้ำหนักและมีAerobic Powerเพิ่มขึ้นได้เท่าๆกับการปั่นจักรยานและการวิ่งจ็อกกิ้ง



6.มีการทรงตัวที่ดีขึ้น

มีงานวิจัยที่ถูกเผยแพร่ในJournal of Aging and Physical Activityพบว่าการเต้นแทงโก้สามารถช่วยให้การทรงตัวในผู้สูงอายุดีขึ้นและการเต้นเป็นประจำจะช่วยให้ร่างกายมีสมดุลและสามารถควบคุมร่างกายได้ดีขึ้น


7.เพิ่มพลังงาน

หากคุณรู้สึกว่าช่วงนี้ไม่มีแรงผลักดันมากพอการไปเข้าคลาสเรียนเต้นอาจช่วยได้เพราะมีงานวิจัยพบว่าการไปเต้นทุกสัปดาห์สามารถช่วยให้มีสมรรถภาพทางกายดีขึ้นและทำให้ระดับพลังงานในผู้ใหญ่เพิ่มขึ้นมีความกระตือรือร้นมากขึ้น


8.ได้มิตรภาพ

การไปสมัครคลาสเต้นไม่เพียงแต่ดีต่อสุขภาพของคุณเท่านั้นแต่ยังช่วยให้ได้เพื่อนใหม่อีกด้วยซึ่งการได้เข้าสังคมสามารถช่วยให้เรามีความสุขเพิ่มขึ้นไปในตัว


รู้อย่างนี้แล้วหากใครจะลุกขึ้นมาออกกำลังกายการเต้นรำก็ถือเป็นทางเลือกที่น่าสนใจทีเดียว

logoline