svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เรื่องเล่า "มุ้งหลากสี ที่รพ.ทุ่งช้าง"

28 เมษายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แสงแดดยามบ่ายที่สาดส่องเข้ามา ฉายภาพให้เห็น "มุ้งหลากสีสัน ที่กางครอบเตียงผู้ป่วย ภายในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ด้วยสภาพอากาศที่ร้อนระอุเกือบทะลุ 40 องศาเซลเซียสของช่วงกลางเดือน เม.ย.ถือเป็นเรื่องไม่มีใครเคยคาดคิดมาว่า ภาพที่น่าหดหู่จะเกิดขึ้นกับโรงพยาบาลแห่งนี้

ท่ามกลางสถานการณ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่แพร่ระบาดไปทั่วโลกด้วยสรรพกำลัง ทั้งจากโรงพยาบาล สาธารณสุข ชุมชน และหน่วยงานทุกภาคส่วนล้วนแล้วแต่มุ่งไปที่การเฝ้าระวังป้องกันโรคระบาดระดับโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงพยาบาลที่ได้มีการช่วยกันเฝ้าระวัง ป้องกันและเตรียมการรองรับการรักษาผู้ป่วยโรคโควิด-19 อย่างแข็งขันเป็นพลังความร่วมมืออย่างเต็มกำลัง ทั้งงานเชิงรุกในชุมชนและเชิงรับแม้ในการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับผู้ติดเชื้อไวรัสโรคโควิด-19 จะดำเนินไปอย่างเข้มข้นแต่การดูแลผู้ป่วยโรคอื่นๆ ก็ไม่ได้ละทิ้งยังคงให้การดูแลตามมาตรฐานการรักษาที่มีคุณภาพ ด้วยหัวใจ ความตระหนักรู้และความรอบคอบของแพทย์รพ.ทุ่งช้างทำให้ระหว่างการเฝ้าระวัง พบการเกิดของโรคไข้เลือดออกรายแรกที่สถานพยาบาลแห่งนี้จากนั้น ก็พบอีกมากว่า 10รายในช่วง 1 สัปดาห์ต่อมาแม้ว่าโรคนี้ สามารถรักษาให้หายขาดได้ หากการรักษาสามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยที่มีอาการของโรคในระยะแรกส่งผลให้การระบาดของโรคไข้เลือดออก ลดอัตราการเกิดความรุนแรงลงได้มากสิ่งที่อยากนำเสนอ คือทีมงานสาธารณสุขอำเภอ(สสอ.)ทุ่งช้าง ทั้งโรงพยาบาลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.) 4 แห่งสถานบริการสาธารณสุขชุมชน(สสช.) 2 แห่ง พร้อมกับ อปท. ฝ่ายปกครองผู้นำชุมชน อสม.และภาคส่วนต่างๆ ภายใต้คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ(พชอ.)ไม่ได้ทำงานแต่เพียงการเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 หรือการออกเยี่ยมดูแลกลุ่มเสี่ยงที่ต้องกักตัวเอง14 วันตามมาตรการเท่านั้น หากแต่ต้องระดมสรรพกำลังเข้าไปเฝ้าระวัง สอบสวน ควบคุมรณรงค์ให้ความรู้โรคไข้เลือดออกไปพร้อมกันด้วย เพื่อควบคุมโรคให้สงบโดยเร็วไม่เกิดการแพร่ระบาดในวงกว้าง และให้ทุกคนช่วยกันอย่างจริงจังเช่นเดียวกับโรคโควิด-19 นี่เป็นภาระที่เพิ่มขึ้นเป็นอีกหลาย10 เท่า แต่ทุกคนก็ยอมเหน็ดเหนื่อยเพื่อให้ประชาชนได้ปลอดภัยปลอดโรค

เรื่องเล่า "มุ้งหลากสี ที่รพ.ทุ่งช้าง"


ส่วนทีมรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาล นอกจากจะต้องดูแลรักษาผู้ป่วยอย่างเต็มความสามารถตามมาตรฐานการรักษาให้ผู้ป่วยหายโดยเร็วที่สุด ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ขณะเดียวกันก็ต้องคิดหาทางป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่เชื้อจากผู้ป่วยไปยังคนอื่นๆ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มานอนโรงพยาบาลและญาติ เพราะโรงพยาบาลทุ่งช้าง เป็นเพียงโรงพยาบาลขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชนบท ไม่มีอาคารสถานที่หรูหรา หรือเพียบพร้อมไปด้วยเครื่องทางการแพทย์ที่ทันสมัย มีเพียงมุ้งลวด ที่ก็ไม่ได้ติดตั้งทุกอาคาร นั่นย่อมเป็นความเสี่ยงที่เจ้ายุงลายตัวน้อยจะบินว่อน ออกกัดกินเลือดผู้ป่วยที่มีเชื้อไข้เลือดออก แล้วไปกัดกินเลือดคนปกติ ส่งผลให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อได้อย่างง่ายดายจากโจทย์ที่ต้องช่วยกันคิด ทำอย่างไร ไม่ให้ยุงลายมีโอกาสกัดกินเลือดผู้ป่วยได้... ทางออกหนึ่ง คือ "กางมุ้งให้ผู้ป่วย" วิธีการที่ประหยัด เรียบง่าย และเป็นวิถีดั้งเดิมของชาวชนบท กลายเป็นคำตอบที่ผุดขึ้นมาและถูกนำมาใช้ในห้วงเวลาแห่งวิกฤติจากสถานการณ์โควิด 19"มุ้งหลากสี" ไม่เพียงเป็นสีสันที่แต่งแต้ม "หอผู้ป่วยใน" ให้รู้สึกแปลกตา หากแต่ยังช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของไข้เลือดออกได้เป็นอย่างดี และนี่คืออีกหนึ่งเหตุการณ์ที่ได้พบเห็นแล้วเกิดความประทับใจท่ามกลางข่าวคราวของโควิด-19

เสียงจากฝ่ายบริหาร นพ.มงคล ลัคนาเลิศ ผู้อำนวยการ รพ.ทุ่งช้าง เผย จากเหตุการณ์ในครั้งนี้รพ.ทุ่งช้างต้องรับผู้ป่วยไข้เลือด 9 รายมารักษาที่โรงพยาบาล จากผู้ป่วยที่พบในหมู่บ้านเดียวกัน 12 ราย ทำเอาบุคลากรในโรงพยาบาลถึงกับหนาวๆ ร้อนๆ เรียกหายากันยุงกันยกใหญ่ นี่ขนาดว่ายังไม่เข้าฤดูฝนเลยไข้เลือดออกป้องกันได้ โดย 3ก : ไม่ให้ยุงกัด ไม่ให้ยุงเกิด ด้วยมาตรการ และ 3 เก็บ : เก็บบ้าน เก็บขยะ เก็บน้ำ หรือผู้ป่วยหายได้เอง แต่ถ้ามีไข้ 2 วันโดยไม่มีไอ น้ำมูก แล้วอ่อนเพลีย กินข้าวไม่ได้แนะนำให้มาตรวจที่โรงพยาบาลดังนั้น แม้ใน จ.น่าน โควิด-19 ยังไม่มา ก็ไม่ประมาทโรคระบาดตามฤดูกาล ก็ต้องขอบคุณทีม รพ.ทุ่งช้างและ รพ.สต.ในพื้นที่ สำหรับการดูแลประชาชนที่ทุ่มเทกันอย่างเต็มที่ รวมถึง อสม.ที่ร่วมลงพื้นที่กันแข็งขันมากๆ[1 ในกิจกรรมการสื่อสารโควิด-19 จ.น่าน : โดย สสจ.น่าน ร่วมกับสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข(สวรส.) เพื่อส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาเครือข่ายประชาคมสุขภาพในจังหวัด เพื่อการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคอย่างมีส่วนร่วม]

logoline