svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"นพ.ธนรักษ์" แจง "เปิดงาน เปิดเรียน" อาจเกิดระบาดเงียบ!

26 เมษายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ 25 เมษายน 2563 นายแพทย์ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊กส่วนตัวชื่อ หมอแก้ว ผลิพัฒน์ โดยระบุว่า

มีคำถามน่าสนใจเข้ามา ๓ คำถามครับ
๑) ถ้าเปิดงานแล้ว ให้ทำงานที่บ้าน ใครจะส่งลูกๆ ไปโรงเรียน
๒) ถ้าเปิดงานก่อนเปิดโรงเรียน และไม่เป็น work from home ใครจะดูแลเด็กที่บ้าน
และ ๓) เด็กจะไปเรียนกันอย่างไรในปีการศึกษาหน้าการตอบคำถามนี้จริงๆ แล้วจะต้องดูสถานการณ์ควบคู่ไปด้วย คำตอบนี้ อาศัยสถานการณ์ปัจจุบันในการตอบคำถามนะครับคำถามแรกตอบง่ายครับ เด็กเคยไปโรงเรียนอย่างไร ก็ไปด้วยวิธีเดิมครับ แต่ถ้าไปรถสาธารณะ อาจมีประเด็นความแออัดในรถสาธารณะได้ ซึ่งเป็นความเสี่ยงครับ แต่ก็สามารถลดความเสี่ยงได้หลายวิธี ซึ่งคนทั้งสังคมต้องช่วยกัน เช่น การใส่หน้ากากผ้า การเตรียมเจลแอลกอฮอล์ล้างมือไปด้วย การเหลื่อมเวลาทำงานเวลาเข้าเรียน การทำงานที่บ้านให้มากเท่าที่จะทำได้ การเพิ่มเที่ยวรถ เป็นต้น

"นพ.ธนรักษ์" แจง "เปิดงาน เปิดเรียน" อาจเกิดระบาดเงียบ!

ส่วนคำถามที่ ๒ และ ๓ ของอธิบายเป็นหลักการให้แล้วกันนะครับจะว่าไป ๒ คำถามนี้ตอบยากครับ เพราะเรายังมีเรื่องที่ยังไม่รู้เกี่ยวกับโรคนี้อีกมาก และเป็นเรื่องที่ต้อง balance ให้ดีทั่วๆ ไป ถ้าเด็กติดเชื้อจะมีอาการน้อยมาก ประมาณ 40% มีอาการไข้ ประมาณครึ่งหนี่งมีอาการไอ พูดง่ายๆ ก็ถ้าโรงเรียนจะคัดกรองเด็ก ไม่ว่าจะคัดกรองอย่างไร ก็จะมีเด็กติดเชื้อเข้าโรงเรียนไปได้ค่อนข้างเยอะอยู่ดี ซึ่งเด็กที่ติดเชื้อเหล่านี้ อาจก่อให้เกิดการระบาดเงียบ (silent outbreak) ในโรงเรียนได้เด็กติดเชื้อเด็กไม่เป็นอะไรมากนักหรอกครับ เนื่องจากพวกเขาอาการไม่รุนแรง แต่ถ้าผู้ใหญ่ (ครู พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย) ติดเชื้อ (จากเด็ก) อาจมีอาการรุนแรงได้ในสัดส่วนที่มากกว่า โดยเฉพาะผู้สูงอายุอาจมีอาการรุนแรงและเสียชีวิตได้มากกว่า นั่นหมายความว่า เราต้องพยายามอย่างเต็มที่เพื่อที่จะป้องกันไม่ไห้เด็กติดเชื้อและป้องกันไม่ให้มีการระบาดของโรคในโรงเรียน ไม่ใช่เพื่อปกป้องเด็ก (เพราะเด็กไม่น่าจะเป็นอะไรมากมาย อาการน้อย) แต่เพื่อปกป้องผู้ใหญ่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อาจอาศัยอยู่บ้านเดียวกับเด็กๆ

"นพ.ธนรักษ์" แจง "เปิดงาน เปิดเรียน" อาจเกิดระบาดเงียบ!

ปัญหาท้าทายที่จะตามมาอีกปัญหาหนึ่งก็คือ ถ้าพ่อ กับแม่ติดเชื้อ ต้องไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล 14 วัน เด็กจะอยู่กับใครส่วนตัวผมคิดว่า สุดท้ายโรงเรียนคงกลับมาเปิดสอน แต่ควรเป็นไปในลักษณะ hybrid หรือลูกผสมผมเห็นว่าเด็กไม่ควรกลับไปเรียนแบบเดิม คือไปโรงเรียนทุกวัน โรงเรียนควรพิจารณาตามความเหมาะสมและศักยภาพที่จะทำการสอนทางไกล (ทีวี วิทยุ การมอบหมายงาน การค้นคว้าด้วยตัวเอง หรือช่องทางอื่น) หรือเรียนออนไลน์ของโรงเรียน รวมไปถึงการสอนให้เด็กเรียนรู้ที่จะเรียนได้ด้วยตัวเอง (learn how to learn) โดยควรให้เด็กไปโรงเรียนเพียงบางวัน น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เช่น ๑ - ๓ วันต่อสัปดาห์ เพื่อลดความแออัดภายในโรงเรียน และลดความแออัดของระบบขนส่งสาธารณะอะไรเรียนที่บ้านได้ก็เรียนที่บ้าน อะไรต้องเรียนที่โรงเรียนก็ไปเรียนที่โรงเรียนจะว่าไป โรงเรียนทุกโรงเรียนจะต้องปรับตัวกันเยอะจริงๆ นอกจากจะต้องจัดระบบการเรียนการสอนทางไกลหรือการเรียนการสอนออนไลน์หรือการเรียนรู้ด้วยตัวเองแล้ว ยังต้องจัดระบบป้องกันควบคุมโรคในโรงเรียน แถมยังจะต้องจัดให้เด็กนั่งห่างกันอย่างน้อย ๑ เมตร อาจจำเป็นต้องลดจำนวนนักเรียนต่อห้องลง ควรให้เด็กใส่หน้ากากผ้าตลอดเวลาที่อยู่โรงเรียน (จะมีปัญหากับเด็กเล็ก หรือเด็กอนุบาล) จะต้องปรับกระบวนการเรียนการสอนและกิจกรรมใหม่เพื่อลดโอกาสที่จะให้เด็กเล่นหรืออยู่ใกล้ชิดกัน การจัดการกับเด็กเล็กมากๆ และอื่นๆ อีกมากมายการจะทำงานเรื่องนี้จะใช้วิธีคิด ( mindset) แบบเดิมไม่ได้ ภายใต้ข้อจำกัดที่มีอยู่ เรื่องนี้ต้องการจินตนาการและความตั้งใจเข้ามาจัดการกับท้าทายที่มีอยู่ครับ จริงๆ โจทย์นี้ไม่ใช่โจทย์ใหม่ เป็นโจทย์เดียวกับการพัฒนาระบบการศึกษาของไทยนี่แหละครับ

ส่วนผู้ใหญ่ก็ยังจำเป็นต้อง work from home กันอย่างเต็มที่ต่อไปครับ ให้ได้มากที่สุดเท่าที่แต่ละบริษัทจะทำได้ ส่วนของภาครัฐ คงจะพยายามรักษาระดับ work from home เดิมที่ 50-70% ต่อไปให้ได้เรื่องนี้คงไม่จบเร็วครับดังนั้น ทุกฝ่ายต้องปรับตัวครับ ทุกคนต้องช่วยกันเข้าใจสถานการณ์ ต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือ เราอาจไม่สามารถทำงานได้เต็มที่เหมือนเดิม ก็เพราะเราอยู่ในภาวะที่ไม่ปกติที่จะต้องช่วยกันประคับประคองสถานการณ์ครับ เป็น business continuity mode ไม่ใช่ full opeations modeช่วยๆ กันนะครับ เพราะเราทีมเดียวกันครับ #พวกเราทีมไทยขอบคุณโรงเรียนหลายๆ โรงเรียนที่เชิญชวนให้ไปดูกิจกรรมของโรงเรียน ทำให้ได้ข้อคิดมาตอบคำถามยากๆ นี้ไปได้บ้างครับ
คลิกอ่านโพสต์ต้นฉบับ
ขอบคุณข้อมูล FB:หมอแก้ว ผลิพัฒน์

logoline