svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

สธ.เผย กำจัดเชื้อโควิด-19หมดประเทศเป็นเรื่องยาก

25 เมษายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เผย โอกาสที่จะกำจัดให้เชื้อหมดจากประเทศไทยโดยไม่มีผู้ป่วยในประเทศเป็นเรื่องยากมาก ซึ่งอาจจะมีคนป่วยโควิด-19 ในชุมชนโดยที่คนป่วยไม่รู้ตัวอีกเพราะอาการเบื้องต้นของโควิด-19คล้ายโรคหวัดมาก

นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยถึง สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ว่า   วันนี้มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่ม 53 คน ผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1 คน กลับบ้านได้ 57 คน รวมผู้ป่วยสะสมในไทย 2,907 คน จะเห็นได้ว่ามีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจากเดิม มาจากการค้นหาผู้ป่วยเชิงรุก มี 2 แบบคือ แบบที่ 1 เวลาเจอผู้ป่วย 1 คนจะทำการค้นหาว่าในพื้นที่ใกล้เคียง มีใครที่มีอาการคล้ายผู้ป่วยหรือไม่ ถ้ามีก็นำมาตรวจหาเชื้อทุกคน และแบบที่ 2 ไปทบทวนสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ผ่านมาแล้วลองไล่ดูว่า มีพื้นที่ไหนที่เจอผู้ป่วยบ่อยติดต่อกันระยะเวลาหนึ่ง ก็จะจัดทีมค้นหาว่ามีผู้ป่วยอยู่กี่คนแล้วนำผู้ป่วยที่เข้าข่ายทั้งหมดมาตรวจหาเชื้อโควิด-19 
ส่วนจังหวัดยะลาได้ดำเนินการตรวจหาเขื้อโควิด-19 อย่างเข้มข้น ตรวจหาเชื้อไปได้ทั้งหมด2,000กว่าคน เจอผู้ป่วยโควิด -19แค่ 7 คน คิดเป็นอัตราการตรวจพบแค่ ร้อยละ3.3คนต่อ1พันคน จะเห็นว่า โอกาสที่จะกำจัดให้เชื้อหมดจากประเทศไทยโดยไม่มีผู้ป่วยในประเทศไม่ใช่เรื่องง่าย จะเห็นได้ว่า ในชุมชนยังเจอผู้ติดเชื้อโควิด-19 อยู่ นั้นหมายความว่า คนกลุ่มนี้ถ้าเราไม่ไปหาเค้า เค้าก็จะไม่มาหาเราด้วยซ้ำไป ตอนนี้อาจจะยังมีผู้ติดเชื้อที่ยังอยู่ในชุมชนโดยที่ไม่รู้ตัว และไม่ได้จงใจหลบซ่อน เพราะว่าอาการเบื้องต้นโรคนี้ มีอาการคล้ายหวัดมากๆจนทำให้ไม่มีใครคิดมากและทำให้ไม่เข้ามาหาหมอ 

ขณะที่อีกกลุ่มที่เจอผู้ป่วยเป็นกลุ่มก้อนขนาดใหญ่ที่ศูนย์กักกันคนเข้าเมืองผิดกฎหมาย อำเภอสะเดา จังหวัด สงขลา 42 คน ซึ่งศูนย์นี้ไม่ใช่ศูนย์กักตัวแยกโรคแต่เป็นศูนย์รับคนเข้าเมืองผิดกฎหมายที่รอการส่งตัวกลับประเทศ ซึ่งอาการผู้ป่วยที่นี้เริ่มจากมีอาการน้อย คือ เริ่มเป็นหวัด โดยเริ่มมีผู้ป่วยรายแรกประมาณต้นเดือนเมษายน ซึ่งหลักจากนั้นก็ตรวจหาเชื้อทั้งหมดในศูนย์กักกังคนเข้าเมืองผิดกฎหมายจนพบว่า ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งหมด 53 คน โดยจำนวนนี้ร่วมเจ้าหน้าที่ดูแลศูนย์ติดเชื้อด้วยจำนวนหนึ่ง
นพ.ธนรักษ์ ระบุว่า ตอนนี้ประเทศไทยอยู่ในระยะของการแพร่ระบาดในวงจำกัด มาตรการที่สำคัญที่ควรทำคือการสร้างเสริมความรู้รอบด้านในการป้องกันควบคุมโรค  การส่งเสริมอนามัยส่วนบุคคล การเฝ้าระวังโรคอย่างเข้มข้น การค้นหาผู้ป่วยรายใหม่เชิงรุก การสอบสวนโรคและติดตามผู้สัมผัส การเตรียมความพร้อมระบบการจัดการภาวะฉุกเฉิน การจัดการกลุ่มเสี่ยงที่มีโอกาสเสียชีวิตสูง การเตรียมความพร้อมและจัดระบบการดูแลรักษาผู้ป่วย การป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล การเพิ่มระยะห่างระหว่างบุคคล ทั้งนี้เมื่อไหร่ที่เรามีวัคซีนก็จะเข้าสู่ระยะสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน และเป็นระยะฟื้นฟูต่อไป 
ซึ่งการกำจัดโรคให้หมดไปในประเทศไทยเป็นเรื่องที่ยากมาก สิ่งที่ตั้งเป้าไว้คือต้องแพร่ระบาดให้มีระดับต่ำที่สุด และไม่มีผู้ป่วยกลับมาเพิ่มขึ้นมากอีกเป็นกลุ่มก้อนแบบเดิม ต้องเข้าใจว่าความเสี่ยงเมื่อเราเริ่มออกมาใช้ชีวิต และเปิดกิจการต่างๆยังต้องรักษาระดับความเสี่ยงให้ต่ำที่สุด โดยเฉพาะระยะห่างระหว่างบุคคล.และอยากให้หน่วยงานของภาครัฐทำงานที่บ้านให้ได้มากกว่า 70% ขึ้นไปต่อไป. ส่วนภาคเอกชนก็ขอความร่วมมือด้วยเหมือนกัน 

ส่วนมาตรการที่ควรจะผ่อนปรนตอนนี้คือ การจำกัดการเดินทาง ซึ่งอาจจะมีพิจารณาจากรัฐบาลว่าอาจจะเริ่มให้มีการเดินทางในประเทศเพิ่มมากขึ้น / การปิดกิจการ ก็อาจจะมีการทยอยเปิดกิจการต่างๆตามระดับของความเสี่ยง ตอนนี้ทางทีมต่างๆพิจารณาพื้นที่ไหน ควรเปิดได้ก่อน และพื้นที่ไหรควรชะลอการเปิดไปก่อน และประกาศการห้ามออกเคหะสถาน มาตรการดังกล่าวนี้จะทยอยผ่อนปรนแต่จะผ่อนปรนอันไหนก่อนต้องรอทางรัฐบาลออกมาประกาศต่อไป 

logoline