svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ราชกิจจา ประกาศ ธปท.ปล่อยเงินกู้เบี้ย 0.01 /ปี แก่ผู้ประกอบการวิสาหกิจกระทบจากโควิด-19

24 เมษายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ปล่อยสินเชื่อเงินกู้ แก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 กําหนดชําระไม่เกินระยะเวลา 2 ปี

ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สกส1. 2/2563เรื่อง การให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

1. เหตุผลในการออกประกาศ

สืบเนื่องจากผลกระทบการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ขยายวงกว้าง ยืดเยื้อ และมีแนวโน้มรุนแรงมากยิ่งขึ้น ประกอบกับผลกระทบจากมาตรการที่รัฐกําหนดให้ประชาชนต้องปฏิบัติ อันเป็นการระงับ ยับยั้ง หรือแก้ไขปัญหาอันเกิดจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสดังกล่าว จึงจําเป็นต้องมีมาตรการในการให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ โดยเฉพาะผู้ประกอบ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งเป็นภาคธุรกิจที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศและเป็นแหล่ง จ้างงานที่สําคัญของระบบเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วน โดยจําเป็นต้องมีมาตรการครอบคลุมทั้งการลดภาระหนี้ การเสริมสภาพคล่อง รวมถึงส่งเสริมการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ของธุรกิจให้สอดคล้องกับความสามารถ ในการชําระหนี้ที่คาดว่าจะลดลงอย่างรุนแรงจากผลการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จึงได้มีการตราพระราชกําหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบ จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 เพื่อป้องกันมิให้เกิดสภาวะ การขาดสภาพคล่องของภาคธุรกิจและการผิดนัดชําระหนี้ของภาคธุรกิจในวงกว้าง อันจะกระทบต่อฐานะ ทางการเงินและการทําหน้าที่ด้านสินเชื่อของสถาบันการเงิน ซึ่งจะทําให้ปัญหาทวีความรุนแรง และลุกลาม ยากต่อการแก้ไขในภายหลัง โดยให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอํานาจเฉพาะคราวในการ ให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงินเพื่อให้สถาบันการเงินนําไปใช้สําหรับให้กู้ยืมเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ ที่ได้รับผลกระทบต่อไปในอัตราดอกเบี้ยต่ํา ธนาคารแห่งประเทศไทยจึงกําหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการ ในการดําเนินการให้ความช่วยเหลือดังกล่าว

2. อํานาจตามกฎหมาย

อาศัยอํานาจตามมาตรา 3 มาตรา 7 มาตรา 8 มาตรา 9 และมาตรา 11 แห่งพระราชกําหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบ จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563

3. ขอบเขตการบังคับใช้

ประกาศนี้ให้ใช้บังคับกับสถาบันการเงินตามพระราชกําหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน แก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563

4. เนื้อหา

4.1 คําจํากัดความ

ในประกาศนี้

"ธปท." หมายความว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย

"พระราชกําหนด" หมายความว่า พระราชกําหนดการให้ความช่วยเหลือทางการเงิน แก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563

"ผู้ประกอบวิสาหกิจ" หมายความว่า ผู้ประกอบวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งเป็นวิสาหกิจที่มีวงเงินสินเชื่อกับสถาบันการเงินแต่ละแห่งไม่เกิน 500 ล้านบาท และไม่เป็น ส่วนหนึ่งของกลุ่มธุรกิจที่มีลักษณะตามที่ ธปท. กําหนด

"กลุ่มธุรกิจ" หมายความว่า บุคคลหลายคนที่ฐานะการเงินและความสามารถ ในการชําระหนี้มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดจนเสมือนว่าการให้สินเชื่อแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง ที่มีความสัมพันธ์ดังกล่าวเป็นการให้สินเชื่อแก่บุคคลเดียวกันเป็นสําคัญ เช่น บริษัทแม่ บริษัทลูก บริษัทร่วม หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับบุคคลนั้น ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์ การกํากับลูกหนี้รายใหญ่ (Single Lending Limit)

"สถาบันการเงิน" หมายความว่า ธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบัน การเงิน และสถาบันการเงินเฉพาะกิจตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงินซึ่งประกอบธุรกิจ ให้สินเชื่อ

หมวด 1

การให้กู้ยืมเงินของ ธปท.

4.2 วัตถุประสงค์ในการให้กู้ยืมเงิน

ธปท. จะให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงิน เพื่อให้สถาบันการเงินนําเงินดังกล่าวไปให้กู้ยืม เพิ่มเติมแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจตามมาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อเพิ่มเติมที่กําหนดในพระราชกําหนด เพื่อเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่มีศักยภาพให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำ อันจะช่วยให้ภาคธุรกิจสามารถดําเนินกิจการต่อไปได้ รักษาระดับการจ้างงาน และช่วยเป็นแรง ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศภายใต้ภาวะที่การดําเนินธุรกิจประสบปัญหาจากโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 และมาตรการที่รัฐกําหนดให้ประชาชนต้องปฏิบัติอันเป็นการระงับ ยับยั้ง หรือ แก้ไขปัญหาอันเกิดจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสดังกล่าว ทั้งนี้ ให้สถาบันการเงินเร่งกระจาย สินเชื่อเพิ่มเติมให้แก่ผู้ประกอบวิสาหกิจโดยเร็ว และเป็นไปอย่างทั่วถึง รวมทั้งให้ติดตามดูแล ให้ผู้ประกอบวิสาหกิจนําเงินสินเชื่อไปใช้สําหรับการดําเนินธุรกิจ เช่น การชําระหนี้แก่เจ้าหนี้การค้า การจ่ายค่าแรงงาน เป็นต้น และติดตามดูแลไม่ให้ผู้ประกอบวิสาหกิจนําเงินสินเชื่อมาชําระหนี้เดิม ที่มีอยู่กับสถาบันการเงิน

4.3 วิธีการ และกําหนดระยะเวลาในการยื่นขอกู้ยืมเงินต่อ ธปท.

สถาบันการเงินที่ประสงค์จะขอกู้ยืมเงินจาก ธปท. ตามวัตถุประสงค์ในข้อ 4.2 ต้องยื่นคําขอกู้ยืมเงินต่อ ธปท. ภายในกําหนดระยะเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่พระราชกําหนดใช้บังคับ หรือตามกําหนดระยะเวลาที่ ธปท. ขยายเพิ่มเติม โดยให้สถาบันการเงินยื่นขอกู้ยืมเงินมายัง ธปท. ในวันจันทร์ของทุกสัปดาห์ ก่อนเวลา 11.00 น. หรือตามวันและเวลาที่ ธปท. กําหนดเพิ่มเติม
ทั้งนี้ หากวันจันทร์ของสัปดาห์ใดตรงกับวันหยุดทําการของ ธปท. ให้สถาบันการเงินยื่นคําขอกู้ยืมเงินต่อ ธปท. ในวันทําการถัดไป ก่อนเวลา 11.00 น. โดย ธปท. พิจารณาให้กู้ยืมเงินตามลําดับก่อนหลังของ การยื่นคําขอกู้ยืมเงินของสถาบันการเงิน เว้นแต่ ธปท. จะเห็นสมควรจัดการเป็นประการอื่น

เมื่อ ธปท. พิจารณาคําขอกู้ยืมเงินข้างต้นแล้ว ธปท. จะแจ้งผลการพิจารณาให้สถาบันการเงินที่ยื่นคําขอทราบโดยเร็ว ทั้งนี้ ธปท. จะอนุมัติเงินให้กู้ยืมตามจํานวนที่ ธปท. เห็นสมควร

การให้กู้ยืมเงินของ ธปท. จะดําเนินการโดยรับซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินที่สถาบันการเงิน เป็นผู้ออก โดยตั๋วสัญญาใช้เงินดังกล่าวต้องมีกําหนดชําระไม่เกินระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่สถาบัน การเงินได้รับเงินกู้ยืมจาก ธปท.

ในการขอกู้ยืมเงินแต่ละครั้ง สถาบันการเงินต้องดําเนินการ ดังนี้

(1)ทําหนังสือความตกลงเพื่อกู้ยืมเงินตามแบบที่กําหนดในเอกสารแนบ 1

(2)ออกตั๋วสัญญาใช้เงินตามแบบที่กําหนดในเอกสารแนบ 2 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

(2.1) ระบุจํานวนเงินที่ขอกู้ยืม

(2.2) วันถึงกําหนดชําระไม่เกินระยะเวลา 2 ปี นับแต่วันที่สถาบันการเงินได้รับเงินกู้ยืมจาก ธปท.

(2.3) กําหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.01 ต่อปี

(3) ในการยื่นขอกู้ยืมเงินกับ ธปท. ครั้งแรก ให้สถาบันการเงินทําหนังสือยืนยันการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และวิธีการการจ่ายเงินชดเชยที่คณะกรรมการกํากับการจ่ายเงินชดเชยกําหนด ตามแบบที่กําหนดในเอกสารแนบ 3

(4) ตรวจสอบและรับรองว่าผู้ประกอบวิสาหกิจที่มาขอสินเชื่อเพิ่มเติมตามหนังสือ ความตกลงเพื่อกู้ยืมเงินมีลักษณะตามที่กําหนดในประกาศนี้

4.4 วงเงินให้กู้ยืม

ธปท. จะให้กู้ยืมเงินแก่สถาบันการเงินเพื่อวัตถุประสงค์ตามข้อ 4.2 ในวงเงินทั้งสิ้น ไม่เกิน 500,000 ล้านบาท

4.5 อัตราดอกเบี้ย

ธปท. เรียกเก็บอัตราดอกเบี้ยในเงินที่ ธปท. ให้สถาบันการเงินกู้ยืมในอัตราร้อยละ0.01 ต่อปี

4.6 การรับเงินกู้ยืมจาก ธปท.

เมื่อ ธปท. อนุมัติการกู้ยืมเงินแล้ว ธปท. จะนําเงินเข้าบัญชีเงินฝากของสถาบันการเงิน ที่ ธปท. ตามจํานวนที่สถาบันการเงินได้รับอนุมัติในแต่ละครั้งภายใน 1 วันทําการนับแต่วันที่ ธปท. ได้รับหนังสือความตกลงเพื่อกู้ยืมเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และเอกสารประกอบอื่น ๆ จากสถาบันการเงิน ครบถ้วนแล้ว และเมื่อ ธปท. ได้ดําเนินการนําเงินเข้าบัญชีดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าสถาบันการเงินได้รับ เงินกู้ยืมจาก ธปท. ตามประกาศนี้แล้ว

4.7 การใช้เงินที่ ธปท. ให้กู้ยืม

สถาบันการเงินต้องนําเงินที่ ธปท. ให้กู้ยืมตามประกาศนี้ ไปใช้สําหรับให้สินเชื่อ ตามวัตถุประสงค์ที่กําหนดในข้อ 4.2 โดยให้สถาบันการเงินพิจารณาจัดสรรเงินกู้ยืมและกระจาย ความช่วยเหลือให้แก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 อย่างทั่วถึง และสถาบันการเงินต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ดังต่อไปนี้

(1) นําเงินที่ ธปท. ให้กู้ยืมไปให้สินเชื่อเพิ่มเติมแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจซึ่งต้องมีลักษณะ ทุกข้อ ดังต่อไปนี้

(1.1) มีวัตถุประสงค์ของการให้สินเชื่อเพื่อเสริมสภาพคล่องสําหรับประกอบธุรกิจ ลดผลกระทบต่อการจ้างงาน

(1.2) เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย ที่มี สถานประกอบการและประกอบธุรกิจในประเทศไทย

(1.3) มีวงเงินสินเชื่อรวมทั้งกลุ่มธุรกิจของผู้ประกอบวิสาหกิจที่มีกับสถาบันการเงิน แต่ละแห่งไม่เกิน 500 ล้านบาท ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 แต่ไม่รวมถึงวงเงินตามภาระผูกพัน วงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ วงเงินสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพภายใต้กํากับ และวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิต

(1.4) ไม่เป็นลูกหนี้ที่ถูกจัดชั้นเป็นสินทรัพย์ จัดชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน สินทรัพย์ จัดชั้นสงสัย สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ สินทรัพย์จัดชั้นสูญ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารอง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562

(1.5) ไม่เป็นบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

(1.6) ไม่เป็นผู้ประกอบธุรกิจทางการเงิน

(2) วงเงินสินเชื่อที่สถาบันการเงินจะให้ผู้ประกอบวิสาหกิจกู้ยืมตามประกาศนี้ ต้องเป็น การให้สินเชื่อเพิ่มเติมจากวงเงินสินเชื่อเดิมไม่เกินร้อยละ 20 ของยอดหนี้คงค้าง ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2562 โดยให้นับรวมยอดหนี้คงค้างของวงเงินสินเชื่อธุรกิจทุกประเภทของแต่ละสถาบัน การเงิน ยกเว้นวงเงินสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกํากับ วงเงินสินเชื่อรายย่อยเพื่อการประกอบอาชีพ ภายใต้การกํากับ และวงเงินสินเชื่อบัตรเครดิต

ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องให้สินเชื่อเพิ่มเติมข้างต้นเป็นวงเงินสินเชื่อใหม่ โดยประเภทสินเชื่อขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ประกอบวิสาหกิจ เช่น สินเชื่อเงินทุนหมุนเวียน (working capital) หรือสินเชื่อมีกําหนดระยะเวลา (term loan) และผู้ประกอบวิสาหกิจสามารถ เบิกใช้วงเงินครั้งเดียวหรือทยอยเบิกใช้วงเงินจากสถาบันการเงินได้ตามความเหมาะสม ซึ่งสถาบัน การเงินต้องติดตามดูแลให้ผู้ประกอบวิสาหกิจนําเงินสินเชื่อไปใช้เพื่อดําเนินธุรกิจ เช่น การชําระหนี้ แก่เจ้าหนี้การค้า การจ่ายค่าแรงงาน เป็นต้น และติดตามดูแลไม่ให้ผู้ประกอบวิสาหกิจนําเงินสินเชื่อ มาชําระหนี้เดิมที่มีอยู่กับสถาบันการเงิน ทั้งนี้ ระยะเวลาการชําระหนี้ของสินเชื่อเพิ่มเติมดังกล่าว อาจเกินกว่า 2 ปี หรือพิจารณาต่ออายุวงเงินออกไปอีกหลังจากครบกําหนดระยะเวลา 2 ปีก็ได้

(3) สถาบันการเงินต้องคิดอัตราดอกเบี้ยในส่วนสินเชื่อเพิ่มเติมตามข้อ 4.7 (2) สําหรับระยะเวลา 2 ปีแรกในอัตราไม่เกินร้อยละ 2 ต่อปี โดยไม่เรียกเก็บดอกเบี้ยจากผู้ประกอบ วิสาหกิจเป็นระยะเวลา 6 เดือนแรกนับแต่วันที่ผู้ประกอบวิสาหกิจได้รับสินเชื่อเพิ่มเติม ทั้งนี้ สถาบันการเงินสามารถพิจารณาปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยหลังครบกําหนดระยะเวลา 2 ปีตามต้นทุน และความเสี่ยงของสถาบันการเงินได้

(4) สถาบันการเงินต้องไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียมใด ๆ รวมถึงดอกเบี้ยผิดนัดจากลูกหนี้ ในส่วนสินเชื่อที่ให้เพิ่มเติมตามประกาศนี้ และต้องไม่กําหนดข้อสัญญาใด ๆ ให้ผู้ประกอบวิสาหกิจ ต้องชําระเบี้ยปรับ หรือค่าเสียหายแก่สถาบันการเงินในกรณีที่สถาบันการเงินปฏิบัติไม่เป็นไป ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ หรือเงื่อนไขในการรับเงินกู้ยืมจาก ธปท. จนเป็นเหตุให้ ธปท. เรียกเงินกู้ยืม ดังกล่าวคืนจากสถาบันการเงิน

(5) สถาบันการเงินต้องจัดให้ผู้ประกอบวิสาหกิจที่ขอรับสินเชื่อเพิ่มเติมตามประกาศนี้ ได้รับรู้ข้อกําหนดแห่งประกาศนี้

4.8 การคืนเงินกู้ยืมก่อนกําหนดและการชําระหนี้กู้ยืม

(1) กรณีที่ผู้ประกอบวิสาหกิจชําระหนี้ให้แก่สถาบันการเงินบางส่วนก่อนครบ กําหนดเวลาที่สถาบันการเงินต้องชําระหนี้แก่ ธปท. สถาบันการเงินไม่ต้องนําส่งเงินดังกล่าวแก่ ธปท. เว้นแต่กรณีที่ผู้ประกอบวิสาหกิจชําระหนี้คืนแก่สถาบันการเงินทั้งหมดและปิดบัญชีก่อนครบกําหนดเวลา ที่สถาบันการเงินต้องชําระหนี้แก่ ธปท. หรือกรณีที่ผู้ประกอบวิสาหกิจแสดงความประสงค์ไม่ใช้สินเชื่อ เพิ่มเติมตามประกาศนี้ ให้สถาบันการเงินชําระหนี้คืน ธปท. ตามจํานวนเงินที่ลูกหนี้ชําระหนี้คืนทั้งหมด และปิดบัญชี หรือตามจํานวนเงินที่ลูกหนี้ไม่ประสงค์จะใช้ดังกล่าว ภายใน 30 วันทําการนับแต่วันที่ ได้รับชําระหนี้คืนทั้งหมดจากผู้ประกอบวิสาหกิจหรือวันที่ได้รับแจ้งความประสงค์จากผู้ประกอบธุรกิจ แล้วแต่กรณี

(2) กรณีภายหลังจากที่สถาบันการเงินรับเงินกู้ยืมจาก ธปท. และพบว่าสถาบันการเงินนําเงินดังกล่าวไปให้กู้ยืมแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขตามพระราชกําหนด หรือประกาศนี้ ให้สถาบันการเงินคืนเงินกู้ยืมตามจํานวนที่มีการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขให้แก่ ธปท. ตามระยะเวลาที่ ธปท. กําหนด ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องไม่กําหนด ในข้อสัญญาระหว่างสถาบันการเงินกับผู้ประกอบวิสาหกิจในการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยในช่วง 2 ปีแรก ให้เกินกว่าร้อยละ 2 ต่อปี หรือกําหนดให้ผู้ประกอบวิสาหกิจชําระเบี้ยปรับ หรือความเสียหาย ประการอื่นแก่สถาบันการเงิน

3) สถาบันการเงินต้องยินยอมให้ ธปท. หักเงินจากบัญชีเงินฝากของสถาบันการเงิน เพื่อชําระหนี้อันเกิดขึ้นเนื่องจากการที่ ธปท. ให้กู้ยืมเงินตามพระราชกําหนดหรือประกาศนี้หรือ เพื่อคืนเงินกู้ยืมก่อนกําหนด โดยในวันที่มีการชําระหนี้ตามกําหนดในตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือวันครบ กําหนดคืนเงินกู้ยืมก่อนกําหนด สถาบันการเงินต้องดํารงเงินฝากไว้ที่ ธปท. ให้มีจํานวนเพียงพอ ที่ ธปท. จะหักชําระหนี้ได้ และในกรณีที่เงินในบัญชีเงินฝากของสถาบันการเงินไม่มีหรือมีไม่พอหัก ชําระหนี้ดังกล่าว ให้ ธปท. จําหน่ายทรัพย์สินอย่างอื่นของสถาบันการเงินที่มีอยู่ที่ ธปท. และดําเนินการอื่นใดตามที่ ธปท. เห็นสมควรเพื่อให้ได้เงินมาชําระหน

(4) เมื่อสถาบันการเงินประสงค์จะชําระหนี้ทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนวันที่ตั๋วสัญญา ใช้เงินของสถาบันการเงินตามข้อ 4.3 ถึงกําหนดใช้เงิน หรือคืนเงินกู้ยืมก่อนกําหนดตามข้อ 4.8 (1) และ 4.8 (2) สถาบันการเงินต้องทําหนังสือขอชําระหนี้ตามแบบที่กําหนดในเอกสารแนบ 4 และ แจ้งให้ ธปท. ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 5 วันทําการ

(5) เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกําหนดใช้เงิน หรือเมื่อถึงวันครบกําหนดคืนเงินกู้ยืม ก่อนกําหนดตามข้อ 4.8 (1) และ 4.8 (2) ธปท. จะหักเงินจากบัญชีเงินฝากของสถาบันการเงิน ที่ ธปท. ตามจํานวนหนี้พร้อมดอกเบี้ย

ในกรณีที่วันถึงกําหนดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินหรือวันครบกําหนดคืนเงินกู้ยืม ก่อนกําหนดตรงกับวันหยุดทําการ ให้สถาบันการเงินชําระหนี้ในวันทําการถัดไป โดย ธปท. จะเรียกเก็บ ดอกเบี้ยสําหรับวันหยุดดังกล่าวจนถึงวันที่สถาบันการเงินชําระหนี้

4.9 การรายงานข้อมูล

ให้สถาบันการเงินส่งรายงานสถานะผู้ประกอบวิสาหกิจที่ได้รับสินเชื่อเพิ่มเติม ตามพระราชกําหนด ณ สิ้นเดือนของทุกเดือน โดยให้รายงานในระบบ DMS DA Extranet ภายใน วันที่ 21 ของเดือนถัดไป เริ่มตั้งแต่งวดสิ้นเดือนพฤษภาคม 2563 เป็นต้นไป ทั้งนี้ การรายงาน ดังกล่าวให้เป็นไปตามแบบที่ ธปท. กําหนดในเว็บไซต์ของ ธปท.

หมวด 2

เงินชดเชย

4.10 สินเชื่อที่จะได้รับการชดเชย

4.10.1 สินเชื่อเพิ่มเติมที่สถาบันการเงินให้กู้ยืมแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจตามข้อ 4.7 ที่อาจถือว่าเป็นสินเชื่อที่ทําให้สถาบันการเงินได้รับความเสียหายและอาจได้รับชดเชยจาก กระทรวงการคลังตามพระราชกําหนดและประกาศนี้ ได้แก่

(1) กรณีสถาบันการเงินที่เป็นธนาคารพาณิชย์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบัน การเงิน ต้องเป็นสินเชื่อที่ถูกจัดชั้นเป็นสินทรัพย์และภาระผูกพันทางการเงินที่มีการด้อยค่าด้านเครดิต หรือสินทรัพย์และภาระผูกพันทางการเงินที่เดิมเคยมีการด้อยค่าด้านเครดิตที่มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หลังจากได้รับสินเชื่อเพิ่มเติมตามพระราชกําหนดและอยู่ระหว่างจัดชั้นเป็นสินทรัพย์และภาระผูกพัน ทางการเงินที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญของความเสี่ยงด้านเครดิต ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบันการเงิน ณ เวลาที่ครบกําหนด 2 ปี นับจากวันที่ผู้ประกอบวิสาหกิจได้รับเงินสินเชื่อเพิ่มเติม

(2) กรณีสถาบันการเงินที่เป็นสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ต้องเป็นสินเชื่อที่ถูกจัดชั้น เป็นสินทรัพย์จัดชั้นต่ํากว่ามาตรฐาน สินทรัพย์จัดชั้นสงสัย สินทรัพย์จัดชั้นสงสัยจะสูญ สินทรัพย์จัดชั้นสูญ หรือสินทรัพย์ที่เดิมเคยจัดชั้นต่ํากว่ามาตรฐานเป็นต้นไปที่มีการปรับปรุงโครงสร้างหนี้หลังจาก ได้สินเชื่อเพิ่มเติมตามพระราชกําหนดและอยู่ระหว่างจัดชั้นเป็นสินทรัพย์จัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์การจัดชั้นและการกันเงินสํารองของสถาบัน การเงินเฉพาะกิจ ณ เวลาที่ครบกําหนด 2 ปี นับจากวันที่ผู้ประกอบวิสาหกิจได้รับเงินสินเชื่อเพิ่มเติม

4.10.2 กรณีสถาบันการเงินโอนสิทธิเรียกร้องในสินเชื่อเพิ่มเติมของผู้ประกอบวิสาหกิจ รายใดก่อนครบกําหนด 2 ปีนับจากวันที่ผู้ประกอบวิสาหกิจได้รับเงินสินเชื่อเพิ่มเติม ให้ถือว่าสถาบัน การเงินไม่ได้รับความเสียหายจากการให้สินเชื่อเพิ่มเติมรายนั้น

4.11 การคํานวณเงินชดเชย

เมื่อครบ 2 ปี 6 เดือนนับแต่วันที่พระราชกําหนดใช้บังคับ ธปท. จะดําเนินการ คํานวณเงินชดเชยที่ต้องจ่ายให้แก่สถาบันการเงินที่ได้รับความเสียหายจากการให้กู้ยืมเงินแก่ผู้ประกอบ วิสาหกิจตามมาตรา 11 แห่งพระราชกําหนด และคํานวณเงินชดเชยดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินไม่เรียกเก็บ จากผู้ประกอบวิสาหกิจในช่วงระยะเวลา 6 เดือนแรกนับแต่วันที่ผู้ประกอบวิสาหกิจได้รับสินเชื่อ เพิ่มเติมตามมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนด เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกํากับการจ่ายเงินชดเชย ตามพระราชกําหนด ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้

4.11.1 เงินชดเชยความเสียหาย

เมื่อครบ 2 ปี 6 เดือนนับแต่วันที่พระราชกําหนดใช้บังคับ ธปท. จะดําเนินการ คํานวณเงินชดเชยที่ต้องจ่ายให้แก่สถาบันการเงินที่ได้รับความเสียหายจากการให้กู้ยืมเงินแก่ผู้ประกอบ วิสาหกิจตามมาตรา 11 แห่งพระราชกําหนด และคํานวณเงินชดเชยดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินไม่เรียกเก็บ จากผู้ประกอบวิสาหกิจในช่วงระยะเวลา 6 เดือนแรกนับแต่วันที่ผู้ประกอบวิสาหกิจได้รับสินเชื่อ เพิ่มเติมตามมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนด เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการกํากับการจ่ายเงินชดเชย ตามพระราชกําหนด ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้

4.11.1 เงินชดเชยความเสียหาย

(1) จํานวนเงินที่สถาบันการเงินจะได้รับชดเชย ธปท. จะคํานวณจากจํานวนเงิน ที่สถาบันการเงินต้องกันสํารองเพิ่มเติมจากยอดหนี้รวมของลูกหนี้คูณด้วยอัตราส่วนของยอดหนี้ใหม่ ตามประกาศนี้กับยอดหนี้รวม และนํามาคูณด้วยอัตราร้อยละที่กระทรวงการคลังจะจ่ายเงินชดเชย ในแต่ละกรณีตามที่กําหนดในประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยว่าด้วยอัตราการจ่ายเงินชดเชยความเสียหายแก่สถาบันการเงินตามมาตรการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบวิสาหกิจ ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

(2) ธปท. จะคํานวณเงินชดเชยที่สถาบันการเงินพึงได้รับเฉพาะสินเชื่อที่จะได้รับ ชดเชยตามข้อ 4.10 โดยแบ่งการคํานวณเป็น 2 ครั้ง ดังนี้

(2.1) เมื่อครบกําหนด 2 ปี 6 เดือน นับแต่วันที่พระราชกําหนดมีผล ใช้บังคับ ธปท. จะคํานวณยอดเงินชดเชยรอบแรก ในอัตราร้อยละ 80 ของเงินที่คํานวณได้ ตามวิธีการคํานวณในข้อ 4.11.1 (1)

การคํานวณเงินที่สถาบันการเงินต้องกันสํารองเพิ่มเติมในรอบแรก ธปท. จะใช้จํานวนเงินที่สถาบันการเงินกันสํารองเดือนสุดท้ายก่อนวันครบกําหนด 2 ปี นับแต่วันที่ ผู้ประกอบวิสาหกิจแต่ละรายได้รับสินเชื่อเพิ่มเติมวันแรก หักด้วยจํานวนเงินที่สถาบันการเงินกันสํารอง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562

(2.2) เมื่อครบกําหนด 4 ปี 6 เดือน นับแต่วันที่พระราชกําหนดมีผล ใช้บังคับ ธปท. จะคํานวณยอดเงินชดเชยรอบที่ 2 ตามวิธีการคํานวณในข้อ 4.11.1 (1)

การคํานวณเงินที่สถาบันการเงินต้องกันสํารองเพิ่มเติมในรอบที่ 2 ธปท. จะใช้จํานวนเงินที่สถาบันการเงินกันสํารองเดือนสุดท้ายก่อนวันครบกําหนด 4 ปี นับแต่วันที่ ผู้ประกอบวิสาหกิจแต่ละรายได้รับสินเชื่อเพิ่มเติมวันแรก หักด้วยจํานวนเงินที่สถาบันการเงินกันสํารอง ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562

ทั้งนี้ หากเงินชดเชยรอบที่ 2 มากกว่าจํานวนเงินที่ได้รับชดเชยในรอบแรก ให้ถือว่าเงินส่วนที่มากกว่าดังกล่าวเป็นเงินที่สถาบันการเงินพึงได้รับชดเชยเพิ่มเติมในรอบที่ 2 แต่ต้อง ไม่เกินร้อยละ 20 ของเงินที่คํานวณได้ตามวิธีการในข้อ 4.11.1 (1) ณ 2 ปี 6 เดือน นับแต่วันที่ พระราชกําหนดใช้บังคับ โดยการคํานวณดังกล่าวให้ใช้จํานวนเงินที่สถาบันการเงินกันสํารองเพิ่มเติม ตามข้อ (2.1) วรรคสอง แต่หากเงินชดเชยที่คํานวณได้ในรอบที่ 2 นี้ ต่ํากว่าที่ ธปท. คํานวณได้ ในข้อ 4.11.1 (2.1) ให้สถาบันการเงินคืนเงินชดเชยตามส่วนต่างที่คํานวณได้ดังกล่าวตามหลักเกณฑ์ และวิธีการการจ่ายเงินชดเชยที่คณะกรรมการกํากับการจ่ายเงินชดเชยกําหนดรายละเอียดการคํานวณเงินชดเชย และตัวอย่างการคํานวณปรากฏ ตามเอกสารแนบ 5

(3) กรณีที่ ธปท. ขยายระยะเวลาในการยื่นคําขอกู้ยืมเงินตามข้อ 4.3 ธปท.จะคํานวณเงินชดเชยตามหมวดนี้ตามที่ ธปท. กําหนดในการขยายระยะเวลาแต่ละคราว

4.11.2 เงินชดเชยดอกเบี้ย

ให้สถาบันการเงินได้รับชดเชยดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินไม่เรียกเก็บจากผู้ประกอบ วิสาหกิจในช่วงระยะเวลา 6 เดือนแรกนับแต่วันที่ผู้ประกอบวิสาหกิจได้รับสินเชื่อเพิ่มเติมงวดแรก เฉพาะสินเชื่อเพิ่มเติมที่ได้ให้แก่ผู้ประกอบวิสาหกิจที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขตามพระราชกําหนด และประกาศนี้ โดย ธปท. คํานวณเงินชดเชยดอกเบี้ยดังกล่าวตามวิธีการปกติของการธนาคาร

5. วันเริ่มต้นบังคับใช้

ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันที่ลงในประกาศนี้เป็นต้นไป

ประกาศ ณ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2563

วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย>> แบบหนังสือความตกลงเพื่อกู้ยืมเงิน << คลิ๊กที่นี่

logoline