svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

มท.2 ดูพื้นที่ภัยแล้งสุราษฎร์ฯ ผันน้ำจากเหมืองแร่เก่าช่วยชาวบ้าน

24 เมษายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

นายนิพนธ์ บุญญามณี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (มท.2) ลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขสถานการณ์ภัยแล้ง ที่บ้านคลองหน หมู่ที่ 3 ต.บ้านส้อง อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี ที่เคยให้มีการสำรวจแหล่งน้ำสำคัญ เพื่อให้ประชาชนมีน้ำอุปโภคบริโภคและทำการเกษตรได้ในช่วงฤดูแล้ง ตรวจโครงการแก้มลิงในการรองรับน้ำ กักเก็บน้ำ จากนั้นเดินทางต่อจุดที่ 2 ที่เทศบาลตำบลเขานิพันธ์ อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี แวะตรวจโครงการแก้มลิงที่กักเก็บน้ำในพื้นที่

พร้อมรับฟังการบรรยายสรุปโครงการการพัฒนาที่ทางอำเภอเวียงสระจะทำเรื่องของบประมาณเพื่อสนับสนุนการพัฒนาพื้นที่เพิ่มเติมนอกจากการทำพื้นที่เก็บน้ำรองรับตามโครงการดังกล่าว จากนั้นได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมและติดตามการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในจุดที่ 3ที่ ต.บ้านส้อง อ.เวียงสระ จ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นแหล่งน้ำจากขุมเหมืองแร่เดิม ที่มีสภาพเป็นแหล่งเก็บกักน้ำธรรมชาติซึ่งมีน้ำชุ่มตลอดทั้งปี สามารถพัฒนาใช้เป็นแหล่งเก็บน้ำเพื่อใช้บรรเทาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนได้ดีในระดับหนึ่ง

มท.2 ดูพื้นที่ภัยแล้งสุราษฎร์ฯ ผันน้ำจากเหมืองแร่เก่าช่วยชาวบ้าน

มท.2 ดูพื้นที่ภัยแล้งสุราษฎร์ฯ ผันน้ำจากเหมืองแร่เก่าช่วยชาวบ้าน

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ตนได้ประสานงานให้ทางอำเภอเวียงสระ ร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้นำชุมชนในพื้นที่เร่งสำรวจเพื่อเตรียมติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ในการผันน้ำจากขุมเหมืองเก่าผ่านระบบท่อระบายน้ำเพื่อกระจายน้ำไปยังหมู่บ้านต่างๆที่ขาดแคลน เป็นการบรรเทาและแก้ไขเฉพาะหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่การเกษตรของชาวบ้านที่นิยมทำสวนผลไม้ และกำลังมีผลผลิตออกสู่ตลาดในช่วงนี้ อาทิ เงาะ ทุเรียน มังคุด ลางสาด เป็นต้น

มท.2 ดูพื้นที่ภัยแล้งสุราษฎร์ฯ ผันน้ำจากเหมืองแร่เก่าช่วยชาวบ้าน

มท.2 ดูพื้นที่ภัยแล้งสุราษฎร์ฯ ผันน้ำจากเหมืองแร่เก่าช่วยชาวบ้าน

หากมีเกิดความขาดแคลน หรือมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการใช้ประโยชน์ ขอให้เร่งแก้ไขโดยการใช้เครื่องจักรของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ที่มีพร้อมให้บริการอยู่แล้ว ทั้งเครื่องสูบน้ำระยะใกล้ -ไกล รถบรรทุกน้ำ และอุปกรณ์เครื่องมืออื่นๆ เป็นต้น เพื่อการกระจายน้ำให้อยู่ในระดับที่เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคและทำการการเกษตรของชาวบ้านเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนตลอดฤดูแล้งปีนี้และ จ.สุราษฎร์ธานีถือว่าจังหวัดยังพอดูแลบริหารจัดการได้อยู่ ซึ่งในส่วนของงบประมาณในการดูแลที่เรียกว่างบยับยั้งป้องกันซึ่งเป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดสามารถที่จะดูแลได้และไม่ติดขัดเรื่องของงบประมาณ

มท.2 ดูพื้นที่ภัยแล้งสุราษฎร์ฯ ผันน้ำจากเหมืองแร่เก่าช่วยชาวบ้าน

logoline