svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

โควิดพ่นพิษ! อาชีพจักสานไม่มีคนรับซื้อ ขาดรายได้จุนเจือครอบครัว

22 เมษายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ชาวบ้านที่มีอาชีพจักสานหวดนึ่งข้าวเหนียวที่จังหวัดขอนแก่น รายได้หายไปกว่าครึ่ง หลังมีเหตุโควิด19แพร่ระบาด ทำให้พ่อค้าคนกลางไม่มารับสินค้าไปเร่ขายเพราะหลายหมู่บ้านปิดตัวเองป้องกันโรค ส่วนตามร้านค้าก็ไม่มีคนมาเลือกซื้อ

วันที่22เม.ย.2563นางสมบัติ ทองโคตร อายุ56ปี ชาวบ้านโคกสว่าง อ.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น พร้อมกับหลานสาววัย 10 ขวบ และ 11 ขวบ ยังคงช่วยกันนำไม้ไผ่ที่ผ่าเป็นเส้นบางๆ จนได้ขนาดมาสานเป็นหวดนึ่งข้าว โดยใช้บริเวณใต้ถุนบ้านของตนเองเป็นสถานที่ในการจักสานหวดนึ่งข้าว ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการWork From Homeที่ทางรัฐบาลกำหนดให้ประชาชนช่วยกันทำงานอยู่ที่บ้าน เพื่อลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19แต่ขณะนี้ครอบครัวของนางสมบัติ รวมทั้งชาวบ้านคนอื่นๆ กว่า 400 หลังคาเรือน ที่มีอาชีพจักสานหวดนึ่งข้าวเหนียว จากไม้ไผ่ ซึ่งเป็นทั้งอาชีพหลักและอาชีพรองจากการทำนาทำไร่ กำลังได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19

โควิดพ่นพิษ! อาชีพจักสานไม่มีคนรับซื้อ ขาดรายได้จุนเจือครอบครัว


นางสมบัติ บอกว่า ชาวบ้านที่นี่ประกอบอาชีพสานหวดนึ่งข้าวเหนียวเป็นหลัก ตั้งแต่ลูกเด็ก เล็กแดงในวัยไม่กี่ขวบ ก็สามารถสานหวดนึ่งข้าวเหนียวเป็นแล้ว เพราะที่โรงเรียนก็มีวิชาสอนหลักสูตรนี้ ทางครอบครัวจึงยึดอาชีพนี้เป็นอาชีพหลัก นอกเหนือจากการทำไร่ทำนา อย่างที่บ้านมีตนเองก็ช่วยกันสานหวด ได้วันละประมาณ10อัน ปกติเมื่อครบสัปดาห์ก็จะมีพ่อค้า แม่ค้ามารับซื้อถึงบ้านขายอันละ50บาท แต่ละเดือนก็จะมีรายได้จากการขายประมาณ20,000บาท แต่หลังจากที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19หวดนึ่งข้าวเหนียวที่สานไว้จำนวนมาก ไม่สามารถจำหน่ายได้ เนื่องจากไม่มีพ่อค้า แม่ค้ามารับไปขายต่อ 

โควิดพ่นพิษ! อาชีพจักสานไม่มีคนรับซื้อ ขาดรายได้จุนเจือครอบครัว


โควิดพ่นพิษ! อาชีพจักสานไม่มีคนรับซื้อ ขาดรายได้จุนเจือครอบครัว


โดยให้เหตุผลว่าไม่ได้เปิดร้าน หรือเปิดร้านแต่ขายไม่ได้เพราะไม่มีคนซื้อ เพราะส่วนใหญ่อยู่กันแต่ภายในบ้าน บางหมู่บ้านก็ปิดหมู่บ้าน เพื่อลดความเสี่ยงบุคคลภายนอกที่อาจจะนำเชื้อโรคเข้าไป ทำให้รายได้ของครอบครัวหยุดชะงักไปด้วย เฉลี่ยรายได้ที่หายไปประมาณ15,000บาท หรือ หายไปเกินครึ่ง ส่งผลกระทบกับรายได้ที่จะนำมาใช้จ่ายจุนเจือในครอบครัว

logoline