svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ตัวแทนแรงงานไทย บุกสำนักนายกฯ ขอให้ช่วยค่าไฟ 1,000 ค่าห้อง 2,000

21 เมษายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

คสรท.-สรส. บุกสำนักนายกเร่งเยียวยาลูกจ้างในระบบประกันสังคมที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ขอให้ช่วยค่าไฟ 1,000 ค่าห้อง 2,000 พรุ่งเตรียมบุกอีกรอบเพื่อได้พบนายก

ตัวแทนคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย หรือ คสรท.นำโดยรองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย นายชาลี ลอยสูง และตัวแทนสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ หรือสรส. เข้ายื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์จันทร์โอชา ขอให้เร่งช่วยเหลือเยียวยาลูกจ้างซึ่งอยู่ในระบบประกันสังคมที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐบาลกรณีเร่งด่วนเพราะจากสถานการณ์วิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อโรคไวรัสโคโรน่า(โควิด-19) ที่กำลังแพร่ระบาดไปทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ ผลจากวิกฤตการระบาดเป็นเหตุให้มีประชากรทั้งโลกติดเชื้อมากกว่าสองล้านคน และมีผู้เสียชีวิตไปแล้วมากกว่าแสนคน สถานการณ์การแพร่ระบาดขยายเพิ่มองค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ออกมาประกาศให้วิกฤตการแพร่ระบาดครั้งนี้ถือเป็นภัยพิบัติครั้งใหญ่ของโลก ที่ทุกประเทศ ทุกฝ่าย ต้องเร่งรีบหาทางขจัดเชื้อโรคร้ายนำพาประชากรโลกฝ่าวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้โดยเร็วประเทศไทยก็เป็นอีกหนึ่งประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า(โควิด-19)
ในครั้งนี้ รัฐบาลไทยโดยกรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศให้ไวรัสโควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตรายร้ายแรง ต่อมารัฐบาลได้ออกประกาศใช้ พระราชบัญญัติบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และออกข้อกำหนดและมาตรการต่างๆเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดรวมทั้งมาตรการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนทุกสาขาอาชีพที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดในครั้งนี้ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) และเครือข่ายแรงงานเห็นด้วยกับมาตรการที่รัฐบาลดำเนินการอยู่
โดยเฉพาะประเด็นให้การช่วยเหลือเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการที่รัฐดำเนินการอยู่ในขณะนี้ เพียงแต่ว่ายังมีมาตรการบางประการที่ยังไม่ครอบคลุมและเป็นธรรมกับลูกจ้าง ซึ่งอยู่ในระบบประกันสังคม คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) ได้เปิดศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์เพื่อเป็นศูนย์กลางให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบเข้ามาร้องเรียน


ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมต่อกลุ่มลูกจ้างที่อยู่ในระบบประกันสังคม ซึ่งถือว่าเป็นกำลังหลักที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประประเทศให้เจริญเติบโต และส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมมาโดยตลอด ดังนั้นเมื่อผู้ประกันตนได้รับผลกระทบจากการขาดรายได้อันเนื่องมาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งถือว่าไม่ใช่เรื่องที่ลูกจ้างมีเจตนาจะหยุดงาน หรือเป็นต้นตอปัญหาที่ทำให้นายจ้างต้องหยุดกิจการ 
ขณะเดียวกันกลับมีนายจ้างบางคนฉกฉวยโอกาสในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 หาวิธีการต่างๆ ปิดงาน เลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ดังนั้นจึงขอให้รัฐบาลได้พิจารณาช่วยเหลือโดยเร่งด่วน ดังนี้ 
ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานใช้อำนาจตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พศ.2518 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ห้ามมิให้นายจ้างปิดงานและลูกจ้างนัดหยุดงานทั่วราชอาณาจักร กรณีที่มีการปิดงานหรือนัดหยุดงานอยู่ก่อน 
ขอให้สั่งให้นายจ้างที่ปิดงานรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานตามปกติโดยเร็วในทันทีขอให้รัฐบาลปฏิบัติตามมาตรา 46 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533 จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม เพื่อการจ่ายสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตน ซึ่งรัฐบาลยังไม่ปฏิบัติให้ถูกต้อง 
กล่าวคือเมื่อสิ้นปี พ.ศ.2561 รัฐบาลยังไม่ได้นำเงินสบทบจำนวน 95,989,000,000 ล้านบาท (ปัจจุบันอาจมีจำนวนมากกว่านี้)โดยรัฐบาลจะต้องจ่าย สมทบเข้ากองทุนตามที่กฎหมายกำหนดและรัฐบาลต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมส่วนของรัฐให้เท่ากันกับนายจ้างและลูกจ้าง จำนวน 5% กรณีที่ผู้ประกันตนในมาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมยังไม่ครบตามระยะเวลาที่ประกันสังคมกำหนด ต้องจ่ายไม่ตำกว่า 5,000 บาท เป็นระยะเวลา ไม่น้อยกว่า 6 เดือน

ตัวแทนแรงงานไทย บุกสำนักนายกฯ ขอให้ช่วยค่าไฟ 1,000 ค่าห้อง 2,000

กรณีที่นายจ้างปิดงานหรือลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้ เนื่องจากเป็นเหตุสุดวิสัยขอให้จ่ายค่าจ้าง 75% ของค่าจ้างก่อนถูกปิดงานหรือไม่สามารถทำงานได้ ขอให้รัฐบาลลดค่าน้ำ ค่าไฟคนละ 1,000 บาท ให้กับลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบและมีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน จนกว่าจะพ้นวิกฤตโรคโควิด-19
ขอให้สถาบันการเงิน พักชำระหนี้โดยไม่คิดดอกเบี้ย กรณีที่กำลังผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ตลอดระยะเวลาจนกว่าจะพ้นวิกฤตโรคโควิด-19
ขอให้รัฐบาลช่วยเหลือค่าเช่าบ้านผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคมและประชาชนทั่วไปรายละ 2,000 บาทต่อเดือนขอให้รัฐบาลระงับการนำเงินกองทุนชราภาพไปจ่ายชดเชยแทนกองทุนประกันการว่างงาน กรณีกองทุนประกันการว่างงานหมดลงโดยรัฐบาลต้องจ่ายเงินอุดหนุนตาม มาตรา 24 ซึ่งเงินกองทุนดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อความมั่นคงในชีวิตของคนงานขอให้รัฐบาลควบคุมราคาสินค้าอุปโภค บริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีพของประชาชน
หรือจัดจำหน่ายสินค้าราคาถูกให้กับประชาชนในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19ด้วยเหตุผลอันจำเป็นเร่งด่วนดังที่กล่าวมาข้างต้น คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์(สรส.) และเครือข่ายแรงงาน จึงเรียนมาเพื่อขอเข้าพบนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 23 เมษายน 2563 เวลา 10.00 ณ ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล อาคารสำนักงาน กพ. (เดิม) ถนนพิษณุโลก เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร เพื่อนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องประกอบการพิจารณาดำเนินการช่วยเหลือเยียวยาเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมโดยด่วนในลำดับต่อไป จักเป็นพระคุณอย่างสูงยิ่ง

logoline