svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"พลาสม่า" นวัตกรรมทางการแพทย์ ความหวังของผู้ป่วย "โควิด-19"

21 เมษายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

นับเป็นความหวังของวงการแพทย์ที่จะรักษาผู้ป่วยโควิด-19 เมื่อ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกมาบอกว่า "พลาสม่า" หรือน้ำเหลืองของผู้ป่วยที่หายจากไวรัสโควิด-19สามารถนำมาสกัดเป็นเซรุ่ม รักษาผู้ป่วยได้

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ "โคโรนาไวรัส" หรือ "โควิด-19" ที่ระบาดไปทั่วโลก โดยล่าสุดตัวเลขผู้ติดเชื้อทั่วโลกกว่า 2 ล้าน 5 แสนคน ส่วนในประเทศไทย นับว่าสถานการณ์ดีขึ้น มีตัวเลขผู้ติดเชื้อรายวัน ไม่ถึง 50 คน มาหลายวันติดต่อกันแล้ว สวนทางกับตัวเลขผู้ที่หายป่วย ที่มีสูงขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะอย่างที่รู้กันว่า "โคโรนาไวรัส" หรือ "โควิด-19" ยังไม่มียารักษาเฉพาะ แนวทางการรักษาที่ผ่านมา คือรักษาตามอาการ

"พลาสม่า" นวัตกรรมทางการแพทย์ ความหวังของผู้ป่วย "โควิด-19"


ฉะนั้น เมื่อ "หมอยง" ออกมาบอกว่า "พลาสม่า" หรือน้ำเหลืองของผู้ที่หายป่วยจากโรคนี้ คือความหวังของผู้ป่วยไวรัสโควิดที่ยังไม่หาย 
"พลาสม่า" ของคนไข้ที่หายแล้ว เค้ามีภูมิ เพราะฉะนั้น ภูมิอันนี้เราไปหาที่ไหนไม่ได้ เราสร้างก็ไม่ได้เพราะมนุษย์ที่ติดเชื้อแล้วสร้างขึ้นมาเอง จึงเปรียบเสมือนยาตัวนี้ที่สร้างขึ้นมาโดยธรรมชาติ "พลาสม่า" ของท่าน มีประโยชน์มากครับ"ในห้วงเวลาที่มนุษย์กำลังไขว่คว้าหาสิ่งป้องกันตัวเองจากโรคระบาดนี้ วงการแพทย์เองก็ยังคงเดินหน้าวิจัยสูตรยาที่จะใช้รักษา "ไวรัสโควิด" แต่หากมองย้อนกลับไปในมุมของคนไข้ การรักษาที่ผ่านไปในแต่ละวันค่อนข้างยาวนาน โดยเฉพาะผู้ป่วยหนัก พวกเขาจะอดทนรอถึงวันนั้นได้หรือไม่

"นพ.โอภาส พุทธเจริญ หัวหน้าศูนย์โรคอุบัติใหม่ทางคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้บอกถึงแนวทางการรักษา "ผู้ป่วยโควิด" กับทีมข่าวเนชั่นทีวีออนไลน์ ว่า การรักษานั้น ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคในคนไข้แต่ละคน โดยแบ่งผู้ป่วยตามอาการได้ 3 ระดับ คือ
1.กลุ่มที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการน้อย สามารถหายเองได้
2.กลุ่มอาการปานกลาง ต้องนอนโรงพยาบาล
3.กลุ่มอาการรุนแรง ต้องใช้ยาช่วยในการรักษา ใส่ท่อช่วยหายใจ ไปจนถึงนอนไอซียู

"พลาสม่า" นวัตกรรมทางการแพทย์ ความหวังของผู้ป่วย "โควิด-19"


ทั้งนี้ ในส่วนผู้ที่ประสงค์จะบริจาค "พลาสม่า" ต้องผ่านการประเมินคุณสมบัติจากศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทยโดยต้องเป็นผู้ป่วยที่หายดีแล้ว ไม่มีอาการ ออกจากโรงพยาบาลและกักตัวที่บ้านครบ 14 วัน และมีอายุระหว่าง 17-60 ปี น้ำหนักตัวไม่ต่ำกว่า 50 กิโลกรัม
ผู้ที่มีคุณสมบัติดังกล่าว สามารถเข้าไปลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่เพจเฟซบุ๊ค "ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ" สภากาชาดไทย

"พลาสม่า" นวัตกรรมทางการแพทย์ ความหวังของผู้ป่วย "โควิด-19"

logoline