svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กรมการแพทย์ เตรียมแนวทางผ่อนปรนสถานพยาบาล รับโควิด-19

20 เมษายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

อธิบดีกรมการแพทย์ เตรียมยกระดับการแพทย์และการดูแลผู้สูงอายุ เน้นความปลอดภัยประชาชน และสถานพยาบาลต้องปลอดเชื้อโควิด-19 พร้อมปรับระบบทางการแพทย์ใหม่ หรือ new normal medical รับการแพร่ระบาดโควิด-19

นพ. สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยถึงการดูแลผู้สูงอายุในช่วงโควิด-19 ว่า กลุ่มอายุ 70 ปีขึ้นไปถึงแม้จะป่วยไม่มากแต่อัตราการเสียชีวิตสูง ขณะที่ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่เป็นวัยทำงาน


กรมการแพทย์ เตรียมแนวทางผ่อนปรนสถานพยาบาล รับโควิด-19


การป้องกันผู้สูงอายุ เน้น 2 ส่วนหลัก คือการป้องการติดเชื้อ /การการป้องกันไม่ให้ความถดถอยของร่างกาย และจิตใจ /ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ดี หรือโรคเรื้อรัง เป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่ไม่ควรออกจากบ้าน


ทางการแพทย์ แบ่งกลุ่มผู้สูงอายุ ออกเป็น 3 กลุ่มหลัก คือกลุ่มช่วยเหลือตนเองได้ดี กลุ่มนี้พบว่า มักจะออกมาทำกิจกรรมสังคมซึ่งต่อไปนี้อาจต้องลดลง / กลุ่มติดบ้าน เป็นกลุ่มที่ชอบอยู่บ้าน แต่ ต้องระวังนในครอบครัวที่อาจจะนำเชื้อกลับมาติดคนในบ้าน ซึ่งคนในบ้านกลับจากข้างนอกมาต้องอาบน้ำสระผม ทำความสะอาดร่างกาย ก่อนจะพบปะพูดคุยกัน/ กลุ่มติดเตียงเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องดูแลที่บ้าน ข้อควรระวังคือ คนที่อยู่ดูแลต้องระวังตัวจากการติดเชื้อมีการผลัดเปลี่ยนคนดูแล / ขณะที่กลุ่มติดเตียงในสถานที่ดูแลเน้นการคัดกรองบุคคลที่มาเยี่ยมจากภายนอก รวมถึงบุคลากรที่จะมาดูแลต้องมีการดูแลสังเกต คัดกรอง ผู้สูงอายุในสถานที่ดูแล

ส่วนการดูแลผู้สูงอายุ หากอาการไม่ชี้ชัดมาก ไม่ตรงไปตรงมา เช่น ไม่มีไข้ตัวไม่ร้อนไม่ไอมาก บอกไม่ได้ว่าเจ็บคอ คนดูแลควรสังเกตอาการ ว่า ผู้สูงอายุหายใจเร็ว หรือ หอบเหนื่อย อ่อนเพลียไหม มีอาการเบื่ออาหารหรือรับอาหารทางสายยางไม่ได้ ซึบสับสนเฉียบพลัน ความสามารถในการช่วยเหลือตนเองลดลงหากมีอาการเหล่านี้ หรือไม่แน่ชัด ให้ปรึกษาแพทย์ทันที

ขณะที่ผู้สูงอายุ ที่มีโรคเรื้อรังตอนนี้ได้มีแนวทางให้ผู้ป่วยรับยาใกล้บ้าน หคือส่งยาทางไปรษณีย์เลื่อนนัดให้นานขึ้น ให้คำปรึกษาทางไกลผ่านช่องทางออนไลน์ /หากผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง ป่วยอาการแย่ลง แพทย์จำเป็นอาจต้องให้มาตรวจตามนัดที่โรงพยาบาลบางส่วนอาจให้คำปรึกษาทางไกล / ส่วนผู้สูงอายุที่ป่วยรุนแรงฉุกเฉินสามารถเข้ารับการรักษาห้องฉุกเฉินตามปกติ


ส่วนการปรับระบบทางการแพทย์ใหม่ หรือ new normal medical คือ การบริหารจัดการระบบผู้ป่วยใหม่จะจำแนกตามกลุ่มอายุ กลุ่มอาการ ความสี่ยงของโรค ช่องทางในการให้บริการต่างๆ/ระบบสนับสนุนการดูแลตนเอง การให้ข้อมูลสุขภาพต่างๆระบบติดตามบุคคลผ่านช่องทางออนไลน์และแอบพลิเคชั่น / ระบบข้อมูลสุขภาพการส่งต่อผู้ป่วยที่เชื่อมโยงกัน /ระบบบริการที่เข้าถึงง่ายสะดวกรวดเร็วขึ้นด้วยระบบไอทีการตรวจจากทางห้องปฏิบัติการแบบไดรฟ์ทรู การรับยาใกล้บ้านการส่งยาทางไปรษณีย์การศึกษาทางไกล /ระบบการบริหารจัดการเรียนร่วมกันที่จะมีการทำอย่างต่อเนื่องแม้โควิด-19จะมีทิศทางที่ดีขึ้น / สุดท้ายคือระบบการป้องกันติดเชื้อในสถานพยาบาล

โดยทั้งหมด คือ แนวทาง ที่ยกระดับความปลอดภัยของผู้ป่วยและสถานพยาบาลโดยมีการพูดคุยเตรียมการแล้ว และเน้นย้ำ ห้องผ่าตัด และสถานที่ในโรงพยาบาลต้องปลอดโควิด-19 รวมถึง ห้องฉุกเฉิน ห้องรักษาทั่วไป ที่สอดคล้องกับแนวทาง ลดความแออัดในโรงพยาบาล และลดการแพร่กระจ่ายเชื้อในสถานพยาบาล โดยมีแนวทางให้บุคลากรทางการแพทย์แบ่งทีมออกเป็นแต่ละชุด ขณะที่ห้องผ้าตัดอาจจะต้องมีการปรับ1ห้องเป็นห้องผ่าตัดความดันลบเพื่อลดความเสี่ยงกรณีที่ไม่แน่ใจว่าผู้ป่วยติดเชื้อหรือไม่


ส่วนกรณีผู้ป่วยมะเร็งที่จะต้องรับเคมีบำบัดในโรงพยาบาลขณะนี้ ได้มีแนวทาง ปรับให้ผู้ป่วยมะเร็งไปรับเคมีบำบัดที่สถาบันมะเร็งในพื้นที่โดยไม่ต้องเดินทางไปยังโรงพยาบาลเดิม เพื่อลดการติดเชื้อเนื่องจากหากกลุ่มผู้ป่วยมะเร็ง หากติดเชื้อโควิด-19แล้ว อาการจะรุนแรงและเสียชีวิตได้

ขณะเดียวกัน ได้มีการหารือกับสถานทันตกรรม ว่า อาจจะทยอยเปิดรักษาฟันให้กับประชาชน ในต้นเดือนพฤษภาคมนี้แต่อาจจะต้องมีระบบการคัดกรองผู้ที่จะมาทำฟัน รวมถึงทันตแพทย์ที่จะต้องมีการป้องกันอย่างดี


ส่วนคลินิกศัลยกรรม อาจจะต้องพิจารณาตามข้อมูลการระบาดโควิด-19 ในแต่ละพื้นที่ ว่ามากน้อยแค่ไหน โดยอนาคต ตั้งเป้าหมายลดคนไข้มายังสถานพยาบาล เช่น ผู้สูงอายุ ที่จะให้มีการดูแลรักษาที่บ้าน

logoline