svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ไม่เห็นด้วย! ต่อ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทำเศรษฐกิจแย่ลงอีก

20 เมษายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"สภาองค์การลูกจ้าง" ชี้สถานการณ์โควิด-19ดีขึ้น รัฐไม่ควร ต่อพ.ร.บ.ฉุกเฉิน เสี่ยงเศรษฐกิจย่ำแย่ โอกาสฟื้นตัวหลายปี คนตกงานเพิ่มขึ้น เสนอเดินหน้าคุมเข้มเหมือนเดิม

ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย นายมนัส โกศล บอกว่า รัฐบาลได้ประกาศพระราชกำหนด การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน หรือพ.ร.ก.ฉุกเฉิน พ.ศ 2548 เพื่อควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นเวลา 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคมที่ผ่านมา นั่นหมายความว่าพ.ร.ก.ฉุกเฉินจะครบกำหนดในวันที่ 26 เมษายนนี้ ซึ่งตลอด 1 เดือนที่ผ่านมารัฐมีมาตรการเข้มข้น จนทำให้สถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 สามารถควบคุมได้ในระดับหนึ่ง ในมุมมองส่วนตัวคิดว่ารัฐบาลไม่ควรต่อพ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะเท่าที่ประเมินสถานการณ์โควิด-19 ตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลงเรื่อยๆ ถ้าหากมีการขยายต่อเศรษฐกิจอาจจะย่ำแย่ไปกว่านี้ โอกาสฟื้นตัวต้องใช้เวลาหลายปี คนตกงานเพิ่มขึ้น ซึ่งตอนนี้ตัวเลขจากสภาอุตสาหกรรมมีคนว่างงานถึง 7 ล้านคน หากรัฐบาลต่อ พ.ร.บ.ฉุกเฉิน ตัวเลขว่างงานและตกงานจะเพิ่มขึ้น แต่ถ้าหากไม่ต่อคนว่างงานอยู่ตอนนี้สามารถกลับเข้าสู่ระบบการทำงานต่อได้ เชื่อว่าหลายบริษัทมีมาตรการในการควบคุมการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 เพราะที่เห็นอยู่ตอนนี้เอกชนหลายแห่งมีมาตรการที่ดีอยู่แล้ว แต่การไม่ต่อพ.ร.ก.ฉุกเฉินใช่ว่ามาตราการหย่อนยาน รัฐบาลจะต้องเข้มงวดเหมือนเดิม อย่างการสวมหน้ากากอนามัย การอยู่ห่างกัน 2 เมตร กิจการบางกิจการต้องควบคุมเป็นพิเศษ อย่างห้างสรรพสินค้า ยังต้องคงมาตรการในการเปิดบางส่วนที่จำเป็นเท่านั้น แต่จะเปิดส่วนไหนบ้างต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วน เพราะสถานการณ์ในห้างขณะนี้แทบจะปิดทุกร้านค้า เปิดแค่ธนาคาร ระบบในห้างรวนไปหมด แม้ว่ารัฐจะไม่ได้สั่งปิดก็ตาม แต่เมื่อไม่มีประชาชนออกมาใช้บริการร้านค้าบางร้านค้าก็ต้องปิดไปโดยอัตโนมัติ ตรงนี้รัฐบาลจะต้องพิจารณาให้ดี

logoline