svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ชาวเลราไวย์เดินหน้า"ปลาแลกข้าว" แปรรูปปลาสดแลกข้าวสารยโสธร

19 เมษายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ชาวเลราไวย์ ภูเก็ต ปรับตัวสู้โควิด-19 ผุดไอเดีย "ปลาแลกข้าว" แปรรูปปลาสดเป็นปลาตากแห้ง หลังเจอปัญหาไม่สามารถขายปลาสดได้ ส่งไปแลกข้าวสารกับเครือข่ายยโสธร-กลุ่มชาติพันธ์ภาคเหนือ โดยกองทัพอากาศสนับสนุน C-130 ในการขนส่ง ภายใต้การประสานงานของมูลนิธิชุมชนไท

วันนี้ (19 เม.ย.63) บริเวณลานอเนกประสงค์ใต้ต้นมะขาม ริมหาดราไวย์ อ.เมือง จ.ภูเก็ต กลุ่มชาวเลราไวย์กำลังช่วยกันแล่ปลาสดที่หามาได้จากการออกเรือไปวางลอบดักปลา เพื่อแปรรูปเป็นปลาเค็มตากแห้ง และส่วนหนึ่งทำการบรรจุใส่ถุง สำหรับนำไปแลกข้าวสารกับเครือข่ายในภาคตะวันออกและภาคอีสาน ตามโครงการ "ปลาแลกข้าว"

ชาวเลราไวย์เดินหน้า"ปลาแลกข้าว" แปรรูปปลาสดแลกข้าวสารยโสธร

ชาวเลราไวย์เดินหน้า"ปลาแลกข้าว" แปรรูปปลาสดแลกข้าวสารยโสธร

หลังประสบปัญหาไม่สามารถขายปลาสดได้ตามปกติ ทั้งการเปิดแผงขายปลาในชุมชน และส่งไปขายให้กับร้านค้าร้านอาหารต่างๆ เนื่องจากร้านอาหารและร้านรับซื้อสัตว์ทะเลสดปิดตัวชั่วคราว อันเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้จังหวัดภูเก็ต มีมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19 ทั้งการปิดเส้นทางเข้าออกจังหวัดภูเก็ต ปิดรอยต่อระหว่างตำบล ปิดห้างสรรพสินค้าและพื้นที่เสี่ยงต่างๆ สร้างความเดือดร้อนให้กับพี่น้องชาวเลเป็นอย่างมาก

ชาวเลราไวย์เดินหน้า"ปลาแลกข้าว" แปรรูปปลาสดแลกข้าวสารยโสธร


นายสนิท แซ่ซั่ว ผู้ประสานงานกลุ่มชาวเลราไวย์ บอกว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้สร้างความเดือดร้อนให้กับครอบครัวของชาวเลราไวย์เป็นอย่างมาก เนื่องจากขาดรายได้จากการประกอบอาชีพหลัก คือ การทำประมง และการรับจ้างขับเรือพานักท่องเที่ยวไปยังเกาะแก่งต่างๆ ส่งผลให้หลายครอบครัวเจอปัญหาไม่มีเงินซื้อข้าวสารและเครื่องอุปโภคบริโภค แม้ว่าจะได้รับการช่วยเหลือจากท้องถิ่นแล้วบางส่วน แต่ก็ไม่เพียงพอ

ชาวเลราไวย์เดินหน้า"ปลาแลกข้าว" แปรรูปปลาสดแลกข้าวสารยโสธร


จึงได้มีหารือกับทางเครือข่ายและมีมูลนิธิชุมชนไทเป็นสื่อกลาง ในการประสานงานกับเครือข่ายในพื้นที่ทางภาคตะวันออกและภาคอีสาน (ยโสธร) ในการนำสินค้าของแต่ละท้องถิ่นมาแลกเปลี่ยนกัน โดยเฉพาะข้าวสาร จนเกิดเป็นโครงการปลาแลกข้าวขึ้น ตั้งเป้าทำปลาแห้งให้ได้ 3,000 กิโลกรัม แต่ครั้งแรกจะจัดส่งปลาแห้งไปก่อน 1,000 กิโลกรัม และจะได้ข้าวสารกลับมา 4,500 กิโลกรัม

ชาวเลราไวย์เดินหน้า"ปลาแลกข้าว" แปรรูปปลาสดแลกข้าวสารยโสธร


ด้านนางสมศรี ดำรงเกษตร กล่าวว่า หลังเกิดสถานการณ์โควิด-19 ก็ได้รับความเดือดร้อนมาก เพราะไม่มีรายได้ที่จะนำมาใช้จ่าย ซึ่งการมีโครงการนี้ก็จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนได้มาก เพราะเรามีปลาสำหรับการทำกับข้าวไม่ขาดอยู่แล้ว และถ้าได้ข้าวสารมาก็จะเป็นเรื่องที่ดีมากนอกเหนือจากที่ไดรับการสนับสนุนจากท้องถิ่น.

ชาวเลราไวย์เดินหน้า"ปลาแลกข้าว" แปรรูปปลาสดแลกข้าวสารยโสธร

อย่างไรก็ตามผู้สื่อข่าวรายงาน ว่า ในวันพรุ่งนี้ (20 เม.ย.63) ทางกองทัพอากาศ จะจัดส่งเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 8 หรือ C -130 ซึ่งมีขีดความสามารถในการบรรทุกได้ถึง 12 ตัน (12,000 กิโลกรัม) พร้อมด้วยกำลังพล ลำเลียงข้าวสารจาก จ.ยโสธร มาส่งแลกกับปลาแห้งของชาวเลราไวย์ จ.ภูเก็ต ที่สนามบินภูเก็ต ภายใต้โครงการนำร่อง "ทัพฟ้าช่วยไทย ต้านภัยโควิด-19 ขนข้าวชาวนาเปลี่ยนปลาชาวเล" นับเป็นโครงการนำร่องตัวอย่างในการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างชุมชน เมืองหรือประเทศ โดยไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง เป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมการแลกเปลี่ยนสินค้าที่เคยมีมาแต่โบราณ

ชาวเลราไวย์เดินหน้า"ปลาแลกข้าว" แปรรูปปลาสดแลกข้าวสารยโสธร


มั่นใจจะสร้างความเข้มแข็งและมีศักดิ์ศรีให้แก่ชุมชน สร้างความร่วมมือระหว่างส่วนราชการ องค์กร และชุมชน ลดภาระของส่วนราชการในการไปดูแลชุมชนดังกล่าว ตลอดจนส่งเสริมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่จะสร้างให้เกิดความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติ

ชาวเลราไวย์เดินหน้า"ปลาแลกข้าว" แปรรูปปลาสดแลกข้าวสารยโสธร

logoline