svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ยกระดับสร้างต้นแบบ "ค้นหาผู้ป่วย COVID-19 เชิงรุกในชุมชน"

16 เมษายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สปคม. ร่วมกับ กทม. สสส. และภาคีเครือข่าย เตรียมยกระดับและสร้างต้นแบบ "ค้นหาผู้ป่วย COVID-19 เชิงรุกในชุมชน" ด้วยกลไกพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับเขตชุมชน เพื่อให้เป็นผู้นำในการจัดการปัญหาด้วยตนเอง

นายแพทย์สำเริง แหยงกระโทกผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับเขต (พชข.)เป็นเครื่องมือสำคัญในการบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อใช้ในการจัดการแก้ไขปัญหาความซับซ้อนของระบบในการสู้ภัยวิกฤตโควิด-19ด้วยกลไกนี้จะมาช่วยเติมเต็มการทำงานเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเพิ่มความยั่งยืนของระบบประชาชนลุกขึ้นมาแก้ไขปัญหาและเป็นเจ้าของโครงการเป็นผู้นำในการจัดการปัญหาด้วยตนเอง

 

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันที่ยังคงความรุนแรงและมีแนวโน้มขยายตัวลุกลามไปยังพื้นที่ต่างๆมากขึ้นโดยเฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานครที่ปรากฎจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อมากที่สุดอันเป็นผลมาจากการเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวรวมทั้งเป็นศูนย์รวมของประชากรที่มาใช้ชีวิตท่ามกลางความเจริญเติบโตทางสังคมร่วมกันกว่า5.7 ล้านคนนโยบายกระทรวงสาธารณสุขในการค้นหาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีนโยบายค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในชุมชนเพื่อให้มีความครอบคลุม ค้นหาผู้ติดโควิด-19

ยกระดับสร้างต้นแบบ "ค้นหาผู้ป่วย COVID-19 เชิงรุกในชุมชน"

นายแพทย์สำเริง กล่าวเพิ่มเติมว่าผลงานครั้งนี้เกิดขึ้นจากนายธนะสิทธิ์ เมธพันธ์เมือง ผู้อำนวยการเขตบางเขนในฐานะประธานคณะกรรมการคุณภาพชีวิตระดับเขต (พชข.) ที่เห็นความสำคัญ โดยนำกลไกพชข. มาจัดการเพื่อกวาดล้างโควิด-19 ให้หมดไปจากประเทศไทยนับว่าเป็นความร่วมมือที่ยิ่งใหญ่เพื่อประชาชนได้รับการตรวจที่ครอบคลุมและปลอดภัยจากโควิด-19

 

ซึ่งสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมืองจัดทำรูปแบบโมเดล ร่วมกับ กทม. นำร่องที่สำนักงานเขตบางเขน และสำนักงานเขตคลองเตยโดยความร่วมมือจาก กทม. (นำร่องที่สำนักงานเขตบางเขน จำนวน 71ชุมชน และคลองเตย จำนวน 41 ชุมชน)ภาคเอกชนและเครือข่ายภาคประชาสังคม ร่วมกันรณรงค์ Kick off ในวันที่15 เมษายน 2563เป็นวันแรก กิจกรรมประกอบด้วยการให้บริการชุมชน เก็บสิ่งส่งตรวจ เพื่อค้นหาผู้ป่วยโควิด-19ช่วงเช้าจำนวน 100 ราย ช่วงบ่าย 100ราย รวมเป็น 200 รายต่อวัน


ยกระดับสร้างต้นแบบ "ค้นหาผู้ป่วย COVID-19 เชิงรุกในชุมชน"


 ด้าน พญ.ขจีรัตน์ ปรักเอโกผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ สสส. กล่าวว่า แต่เดิม สสส.ได้สนับสนุนให้ สปคม. และภาคีเครือข่าย จัดทำโครงการชุมชนเขตเมืองในประเด็นการป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) โดยใช้ระบบที่สอดคล้องกับบริบทเขตเมืองที่มุ่งใช้เทคโนโลยีเชื่อมโยงบุคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วยแต่เมื่อเกิดเหตุการณ์ระบาดของโควิด-19 จึงต้องปรับแผนการทำงานใหม่โดยมุ่งเสริมประสิทธิภาพการตรวจคัดกรองผู้ป่วยให้ได้จำนวนต่อวันมากขึ้นโดยได้รับความร่วมมือจากชุมชนและภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการประชาสัมพันธ์การตรวจเชิงรุกและการให้ความรู้ในมิติการดูแลกันเองภายในชุมชน หากใครเกิดความรู้สึกไม่สบายใจกังวลว่าตัวเองอาจมีความเสี่ยง สามารถเข้ามารับการตรวจคัดกรองได้ซึ่งการตรวจนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ป่วยที่มีอาการเท่านั้นที่จะเข้ารับการตรวจได้แต่สำหรับผู้ที่เข้าเกณฑ์เสี่ยงและยังไม่มีอาการสามารถเข้ารับการตรวจฟรีได้เช่นกัน ซึ่งจะช่วยให้ค้นพบผู้ป่วยได้รวดเร็ดยิ่งขึ้นอันเป็นการจำกัดการแพร่กระจายเชื้อในชุมชนได้ทันท่วงที


ยกระดับสร้างต้นแบบ "ค้นหาผู้ป่วย COVID-19 เชิงรุกในชุมชน"


logoline