svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

สธ.ยังไม่ทราบปัจจัยการเสียชีวิตผู้ป่วยโควิด-19 ในวัยทำงาน

06 เมษายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรมควบคุมโรคยังไม่สามารถระบุปัจจัยการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในกลุ่มวัยคนทำงาน หลังพบว่าเสียชีวิตหลังเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลไม่ถึงสัปดาห์ ชี้ ขึ้นอยู่กับอาการความรุนแรงของแต่ละบุคคล

นพ. ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ย้ำว่าความรุนแรงของโรค ร้อยละ 80 ของผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีอาการน้อย / ร้อยละ 30 แทบไม่มีอาการเลย / ร้อยละ 15 อาการรุนแรง / ร้อยละ 5-6 อยู่ภาวะวิกฤติ และร้อยละ 1.4 เสียชีวิต โดยกลุ่มผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัวมีอัตราเสียชีวิตมากกว่าคนทั่วไป
ส่วนกรณีที่ คนที่อายุน้อย ไม่มีโรคประจำตัวไม่มีภาวะเสี่ยง แต่พบว่าเสียชีวิตนั้น และบางรายมีอาการป่วยเพียง 1 สัปดาห์ก่อนเสียชีวิต เบื้องต้น นพ.ธนรักษ์ ยืนยันว่า ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการแต่ละคน ซึ่งยังไม่ทราบปัจจัยที่ชัดเจน แต่จากข้อมูลประวัติการรักษาของผู้ป่วย ส่วนใหญ่เข้ารับการรักษาเร็ว จะเริ่มมีอาการมากช่วงประมาณวันที่ 5 -7 วัน ของการได้รับเชื้อ
ทั้งนี้ นพ.ธนรักษ์ แนะวิธีสังเกตุลักษณะอาการว่าติดเชื้อโควิด -19 หรือไม่ หากติดเชื้อ จะมีไข้ต่ำประมาณ 37.6 องศา ติดต่อกัน 3-5วัน /มีไข้สูงถึง 39 องศา โดยไข้ไม่ลดลง / รู้สึกหายใจเหนื่อย / หายใจเกิน 24 ครั้งต่อนาที ให้ถือว่าไม่ปกติ ถ้ามีลักษณะดังกล่าวให้รีบพบแพทย์โดยทันที

สธ.ยังไม่ทราบปัจจัยการเสียชีวิตผู้ป่วยโควิด-19 ในวัยทำงาน


ด้านข้อมูลจากผู้ติดเชื้อในประเทศ ร้อยละ 50 ติดเชื้อภายในบ้าน ตอนนี้ได้มีการสั่งการทุกโรงพยาบาลหากผู้ป่วยทำการตรวจเชื้อให้รับแอดมิทที่โรงพยาบาลจนกว่าผลจะออก โดยไม่ให้กลับบ้านทั้งโรงพยาบาลรัฐและโรงพยาบาลเอกชน
ส่วนที่เชื้อโควิด-19 จะเข้าสู่ลามเข้าสู่ระบบประสาทได้หรือไม่ นพ.ธนรักษ์ ชี้แจ้งว่า ส่วนตัวยังไม่พบรายงานการติดเชื้อโควิด-19 ไปยังระบบประสาทในประเทศจีนรวมถึงประเทศไทย แต่ก็มีความเป็นไปได้แต่มีโอกาสเจอน้อยมาก ซึ่งแนวทางการรักษา ก็จะเป็นการรักษาตามอาการ
ขณะที่การแพร่โรคโควิด-19 มี 2 ทาง คือ การหายใจเอาเชื้อเข้าไปโดยตรง และ 2. มีการสัมผัสสารคลั่งหลั่งจากสภาพแวดล้อมและพื้นผิวแข็งและมัน โดยเชื้อจะมีชีวิตอยู่ประมาณ 48-72 ชั่วโมง เมื่อเชื้อเข้าสู่ระบบร่างกาย ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่างโดยจะเชื้อจะอยู่ในที่ลำคอประมาณ 8 วันก่อนที่จะเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจส่วนล่าง
ทั้งนี้แนวทางการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 จะถูกปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์และแนวโน้มของผู้ป่วยติดเชื้ออย่างไรก็ตามในช่วงเดือนพฤษภาคมซึ่งจะเข้าสู่ฤดูฝนอาจจะทำให้ความแพร่ระบาดของโรคกลับมารุนแรงขึ้น ขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 อย่าง อุณหภูมิหรือความชื้นที่จะทำให้เชื้ออยู่ได้นานขึ้น และการร่วมตัวของคนเป็นกลุ่มก้อนภายในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย ซึ่งหากมีการเปิดภาคเรียนปกติ ขณะที่การควบคุมโรคยังไม่ดีเท่าที่ควรยังเป็นอีกความท้าทายที่ต้องเฝ้าระวังต่อไป

logoline