svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

สธ.แจง นอนห้องรวมสัตหีบ มาตรฐานเดียวกันคนไทยที่กลับจากอู่ฮั่น

04 เมษายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เผย ถึงการนำตัวคนไทยไปนอนห้องพักร่วมกัน 3 คน ที่ที่ฐานทัพเรือสัตหีบ เป็นไปตามดุลพินิจของสาธารณสุขจังหวัด โดยใช้มาตรการเดียวกับคนไทยที่เดินทางมาจากเมืองอู่ฮั่นประเทศจีน

นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยถึงสถานการณ์โควิด -19 ว่า พบผู้ป่วยรายใหม่ เพิ่มขึ้น 89 คน ผู้ป่วยสะสม 2,067 คน มีผู้หายป่วยแล้ว 612 คน รักษาอยู่ที่โรงพยาบาล 1,435 คน ซึ่งพบเสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย รวมเสียชีวิต 20 ราย ผู้เสียชีวิตล่าสุดเป็นชาวไทย อายุ 72 ปี มีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง และเบาหวาน

สธ.แจง นอนห้องรวมสัตหีบ มาตรฐานเดียวกันคนไทยที่กลับจากอู่ฮั่น


สำหรับผู้ป่วยวันนี้ที่พบเพิ่มขึ้น 89 คน จะเห็นได้ว่ายังเป็นกลุ่มเดิม ทั้งมาจากสนามมวย สนามบันเทิง แต่ที่น่าสังเกตุคือ ผู้ป่วยในกลุ่มรายใหม่นั้น พบติดเชื้อในประเทศลดลง แต่ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เดินทางกลับจากต่างประเทศ ถึง 21 คน คนไทย 18 คน ชาวต่างชาติ 3  คน ตอนนี้รัฐเข้มงวดผู้ที่เดินทางกลับ ต้องได้รับการสังเกตอาการและกักตัว จึงอยากให้ทุกฝ่ายร่วมมือกัน เพราะคนที่เสี่ยงที่สุดคือคนที่อยู่ใกล้ชิดเรา ทั้งครอบครัว คนรอบข้าง

สธ.แจง นอนห้องรวมสัตหีบ มาตรฐานเดียวกันคนไทยที่กลับจากอู่ฮั่น


ส่วนพื้นที่ที่พบผู้ป่วยเพิ่มในวันนี้ (4 เม.ย.63) ยังคงพบว่าส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครมและปริมณฑล โดยแบ่งเป็น5อันดับแรก คือ กรุงเทพมหานคร 31 คน นนทบุรี 13 คน ภูเก็ต 8 คน ชลบุรีและปทุมธานี 5 คน สมุทรปราการ นราธิวาส 4 คน

สธ.แจง นอนห้องรวมสัตหีบ มาตรฐานเดียวกันคนไทยที่กลับจากอู่ฮั่น


ทั้งนี้ ผู้ป่วยที่เริ่มติดเชื้อจะเริ่มมีอาการวันที่ 5-14 วัน บางรายมีอาการเร็วกว่านั้น ซึ่งผู้ป่วย1คนแพร่เชื้อให้คนอื่นเฉลี่ยได้ 2.2 คน แต่บางคนอาจแพร่เชื้อได้มากกว่านั้น ผู้ป่วยร้อยละ80 มีอาการค่อนข้างน้อย ในจำนวนนี้ร้อยละ30 ไม่มีอาการ ส่วนโอกาสการเสียชีวิต อยู่ที่ร้อยละ1.4 และเด็กมีอาการน้อยกว่าผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ส่วนใหญ่พบมีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หากพบปอดอักเสบจะมีอาการหายใจเร็วและลำบาก สำหรับการผลิตวัคซีนหลายฝ่ายเริ่มวิจัยแล้ว

ส่วนกรณีความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในสนามบินสุวรรณภูมิเมื่อคืนนี้ ซึ่งวันนี้ได้เรียกให้คนที่หนีการกักตัว กลับมารายงานภายใน 18.00 น.ของวันนี้ (4 เม.ย.63) และกระแสดราม่าถึงการนำตัวไปกักที่ฐานทัพเรือสัตหีบ  โดยให้อยู่ในห้องพักห้องละ3คน จึงมีความกังวลว่าจะเป็นการแพร่เชื้อเองนั้น  ทางฝ่ายสาธารณสุขในพื้นที่และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการพิจารณาความเสี่ยงและตามความเหมาะสมอยู่แล้ว ซึ่งมีมาตราการอื่นๆร่วมด้วย เช่น แจกเจลล้างมือ หน้ากากอนามัย แยกของใช้ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ โดยได้ใช้มาตราการเดียวกันกับการรับคนไทยที่เดินทางกลับจากเมืองอู่ฮั่น ซึ่งเป็นมาตราการที่ทำได้ดีและไม่มีการแพร่เชื้อ จึงอยากให้ความมั่นใจและให้ความร่วมมือด้วย
กรณีพบผู้โดยสารที่เดินทางกลับมาจากสุวรรณภูมิและตรวจพบมีไข้ 3 คน ต่อมาได้หลบหนีการกักตัว ขณะนี้เจ้าหน้าที่เร่งติดตามและให้กลับมารายงานตัวแล้ว ส่วนผู้ที่หลบหนีกลับบ้านก่อน จำนวน 152 คน ขณะนี้มีข้อมูลทั้งหมดแล้ว โดยคนที่อยู่ในกนุงเทพมหาคร ขอให้รายงานตัวที่ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉิน สุวรรณภูมิ ส่วนอยู่ต่างจังหวัด ให้รายงานตัวศูนย์ดำรงธรรม ภายใน 18.00 น.ของวันนี้ (4 เม.ย.63) ไม่เช่นนั้นถือมีโทษตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินทจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับสูงสุดไม่เกิน 1 แสนบาท มีอายุความ 10 ปี  
ความคืบหน้าผลตรวจของผอ.รพ.สมุทรปราการ ที่ออกมาพบว่าติดเชื้อ หรือเป็นผลบวกแบบอ่อนๆ จากนั้นเข้ารับการรักษา และวันรุ่งขึ้นการตรวจเชื้อเป็นผลลบ นั้น ในกรณีนี้จะต้องหารือกันต่อไป พร้อมยอมรับว่าขณะนี้การตรวจเชื้อได้ใช้ห้องปฏิบัติการเดียว โดยไม่มีการตรวจซ้ำแล้ว ผลการตรวจอาจจะทีการคลาดเคลื่อนได้
ส่วนกรณีที่มีนายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความขอรับบริจาคเลือดของผู้ป่วยโควิด 19 ที่รักษาตัวจนหายแล้ว เพื่อนำพลาสม่า หรือน้ำเหลือง ไปใช้เป็นภูมิคุ้มกัน รักษาผู้ป่วยรายอื่น แต่จะต้องรักษหายแล้วอย่างน้อย 14 วัน ตรวจไม่พบเชื้อโควิดแล้ว และอายุ 17-60 ปี หนักไม่เกิน 50 กิโลกรัม โดยสามารถบริจาคที่สภากาชาดไทย
รองอธิบดีกรมควบคุมโรค บอกว่า ในทางทฤษฎีเชื่อว่าจะช่วยรักษาผู้ป่วยได้ ซึ่งในจีนเองก็เคยรับบริจาคเลือดจากผู้ป่วยที่หายดี นำมาสร้างยารักษาคนไข้ และที่ผ่านมาในประเทศไทยเอง ก็เคยใช้เลือดของคนขับรถแท็กซี่ที่ป่วยโควิด-19 แล้วรักษาตัวหายดีเป็นคนแรก มาสร้างยารักษาเช่นกัน
ส่วนกรณีที่ผู้ป่วยที่เคยติดเชื้อและได้เข้ารับการรักษาจนหายเป็นปกติแล้ว และให้ไปบริจาคเลือด เพื่อนำเลือดไปทำยา หรือ บริจาคภูมิคุ้มกัน นพ.ธนรักษ์ บอกว่า ผู้ป่วยที่หายแล้วจะมีภูมิคุ้มกันในการจัดการเชื้อ  ซึ่งก่อนหน้านี้ที่ประเทศจีนมีการทำแบบนี้มาแล้ว แต่ในประเทศไทยทราบว่า ได้มีการดำเนินการในช่วงผู้ป่วยรายแรกๆที่หายแล้ว ซึ่งเป็นลุงขับแท็กซี่ ได้ไปบริจาคเลือด  โดยหลักการมีความเป็นไปได้ว่าสามารถทำได้ เพราะผู้ป่วยที่หายแล้ว จะมีภูมิคุ้มกันของโรค     สำหรับเด็กทารกอายุ1เดือนที่ติดเชื้อ ยังอยู่ในขั้นตอนการสอบสวนโรค ต้องดูว่าใครใกล้ชิดกับเด็กบ้าง แม้ว่าเด็กจะมีอาการไม่มาก แต่เมื่อเด็กติดเชื้อแล้วจะสามารถแพร่ให้คนอื่นได้เช่นกัน

logoline