svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

จับตา กทม. จ่อ ออกมาตรการเพิ่ม ลดการแพร่ระบาดโควิด-19

31 มีนาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"กทม. ห่วง คนทำงาน 80% ไม่แสดงอาการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เตรียมประชุมพิจารณากำหนดมาตรการเพิ่มพรุ่งนี้ เพื่อลดการแพร่ระบาด พร้อมแจงกำหนดมาตรการคุมการส่งของแบบเดลิเวอรี่ให้ปลอดภัย"

แพทย์หญิง วันทนีย์ วัฒนะ รองปลัดกรุงเทพมหานคร ประชุมชี้แจงทำความเข้าใจการปฏิบัติงานจุดตรวจควบคุมการแพร่ระบาดชื้อไวรัสโควิด-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมี พล.ต.ต.ไพศาล ลือสมบูรณ์ รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล/นายแพทย์ชวินทร์ ศิรินาค ผอ.สำนักอนามัย /ตัวแทนสำนักงานเขตต่างๆ/เข้าร่วมประชุม
โดย ตั้งแต่ 26 มีนาคมที่ผ่านมา กทม.ได้ร่วมกับ บช.น. และ กอ.รมน.กทม. ได้ตั้งด่านมาจนถึงปัจจุบันรวมทั้งหมด 15จุด เพื่อสุ่มตรวจและคัดกรองการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และลดการเคลื่อนย้ายคน เพื่อลดการแพร่ระบาดของโรค ซึ่งได้ตรวจค้นรถกว่า30,004 คัน และตรวจคนทั้งหมดกว่า 43,279 คน พบผู้มีไข้ 35 คน และยังไม่พบผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มเติม ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัดใหญ่และไข้หวัดธรรมดา
ทั้งนี้การเลือกตรวจจะใช้วิธีการสุ่มตรวจ โดยจะเน้นทะเบียนต่างจังหวัด รถตู้โดยสารที่นั่งกันมาจำนวนมาก และบุคคลที่ไม่สวมใส่หน้ากากอนามัย รวมถึงกลุ่มผู้สูงอายุที่นั่งมาในรถ ซึ่งการตรวจจะเป็นการป้องปราม เพื่อแสดงถึงความห่วงใย ลดความเสี่ยงที่จะมารับเชื้อ และยังแนะนำวิธีการปฏิบัติตัวสำหรับกลุ่มเสี่ยงด้วย
รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล บอกด้วยว่า การสุ่มตรวจของรถ จะสุ่มตรวจรถที่มีลักษณะของการเคลื่อนมวลชน รถบัส รถบรรทุก รถที่มีผู้สูงอายุ และเด็ก เพราะการขนส่งคนจำนวนมากๆเป็นพาหะในการแพร่เชื้อโควิด-19 จึงต้องทำการทุเลาการเคลื่อนมวลชน และหลังจากนี้อาจจะมีการปรับลดจุดตรวจด้วย

จับตา กทม. จ่อ ออกมาตรการเพิ่ม ลดการแพร่ระบาดโควิด-19


ขณะที่ รองปลัดกรุงเทพมหานคร บอกอีกว่า จากการติดตามสถานการณ์ การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 วงแรกทั้งสนามมวย และสถานบันเทิงเริ่มนิ่งแล้ว และวงต่อไปจะเป็นวงที่สองที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด และที่ผ่านมา มีมาตรการที่เด็ดขาด เพราะ กทม.เป็นสถานที่แรกๆที่ประกาศปิด และมีประกาศเพิ่มเติม จึงขอให้รอดูมาตรการเพิ่มเติมหลังจากนี้ และวันนี้มีความเป็นห่วงผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ขอให้อยู่ที่บ้าน และใครจะกลับไปเยี่ยมคนสูงอายุขอให้กักตัว 14 วันให้มั่นใจก่อน และกลุ่มที่เป็นห่วงอีกกลุ่มคือคนที่ติดเชื้อปัจจุบันและพบว่ามีอาการน้อยมาก กว่า80% ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่อยู่ในวันทำงาน
ดังนั้นจึงต้องมีมาตรการที่เข้มงวดขึ้นเพื่อลดโอกาสการไปแพร่เชื้อ รวมถึงหากสถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น ก็อาจจะต้องเพิ่มมาตรการที่เข้มงวดในเรื่องการเคลื่อนย้ายคนในรูปแบบต่างๆ ซึ่งรัฐบาลได้ติดตามอย่างใกล้ชิด
ด้านนายแพทย์ชวินทร์ ศิรินาค ผอ.สำนักอนามัย บอกเพิ่มเติมว่า ในวันพรุ่งนี้จะมีการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อของ กทม. ซึ่งจะนำประเด็นจากที่รัฐบาลได้ประกาศไป และรายละเอียดที่ กทม.พิจารณาแล้วว่า ควรมีสถานที่ที่ต้องปิดเพิ่มเติม เพื่อเป็นการยับยั้งการแพร่ระบาดใน กทม. มาพิจารณาจากคณะกรรมการ26คน ซึ่งจะนำความเห็นจากมติของคณะกรรมการเสนอ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ในการออกประกาศเพิ่มเติมต่อไป
ทั้งนี้ที่ผ่านมา การให้บริการแบบเดลิเวอรี่ เป็นสิ่งที่คณะกรรมการโรคติดต่อ กทม.ให้ความสำคัญ เพราะปัจจุบันประชาชนอยู่ที่บ้าน และจะสั่งของผ่านเดลิเวอรี่ จึงได้กำหนดมาตรการให้กับบริษัทขนส่งแบบเดลิเวอรี่ /พนักวานเดลิเวอรี่ /และร้านอาหารที่มีพนักงานส่งของ เพื่อให้ทราบถึงแนวทางการปฏิบัติตัว ใส่หน้ากากอนามัย การตรวจสุขภาพ และวิธีการส่งที่ถูกต้องซึ่งจะต้องมีระยะห่าง1เมตร ตามมาตรฐาน เพื่อลดการแพร่ระบาด และสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคๆ และให้ใช้ระบบการจ่ายเงินอิเล็กทรอนิกส์เพื่อลดการสัมผัสเงิน ทอนเงิน

logoline