svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

ผลการวิเคราะห์เผย "Social distancing" อาจไม่ช่วยสหรัฐฯ พ้นโควิด-19

31 มีนาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า2019เพิ่มทวีคูณมากขึ้น ซึ่งในขณะนี้ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกสูงเกินกว่าครึ่งแสน และดูว่าทีท่าจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

จำนวนผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโควิด-19 ทั่วโลก ยังทะยานไม่หยุด โดยมีผู้ติดเชื้อเกิน 785,700 คน ส่วนผู้เสียชีวิตเกิน 37,800 คน โดยสหรัฐฯ มีผู้ติดเชื้อเกิน 163,000 คน ซึ่งยอดสะสมสหรัฐฯ ได้แซงหน้าจีนและอิตาลี กลายเป็นประเทศที่มีผู้ป่วยโรคโควิด-19 มากที่สุดในโลก 

ผลการวิเคราะห์เผย "Social distancing" อาจไม่ช่วยสหรัฐฯ พ้นโควิด-19

ดร.เดบอราห์ เบิร์กซ์ ผู้ประสานงานของทำเนียบขาว ในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 แถลงว่า การตัดสินใจของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่ให้ขยายช่วงเวลาการใช้แนวทางปฏิบัติให้ประชาชนทั่วประเทศ เว้นระยะห่างทางสังคมจนถึงวันที่ 30 เมษายน มีขึ้นหลังคณะทำงานได้ทบทวนแบบจำลองทางสถิติ (statistical models) 12 แบบ และยังมีรูปแบบอื่นที่จบลงด้วยตัวเลขเดียวกัน โดยผลการวิเคราะห์ ได้ให้ภาพที่น่ากลัวของสิ่งที่จะเกิดขึ้นในสหรัฐฯ แม้จะใช้ระยะห่างทางสังคมก็ตาม 

ผลการวิเคราะห์เผย "Social distancing" อาจไม่ช่วยสหรัฐฯ พ้นโควิด-19

มีการประเมินว่า อาจมีคนเสียชีวิตในสหรัฐฯ วันละมากกว่า 2,000 คน ในช่วงกลางเดือนเมษายน ที่ถูกคาดการณ์ว่า เป็นช่วงที่ไวรัสระบาดหนักที่สุด ต้องใช้เตียงผู้ป่วย224,000 เตียง ในวันที่ 15 เมษายน เกินกว่าที่จะมีได้ถึง 61,000 เตียง ซึ่งถือเป็นช่วงการใช้ทรัพยากรสูงสุด และแม้จะขยายระยะห่างทางสังคมไปจนเดือนพฤษภาคม ก็อาจมีคนเสียชีวิตราว 82,000 คน ในเดือนสิงหาคม 

ผลการวิเคราะห์เผย "Social distancing" อาจไม่ช่วยสหรัฐฯ พ้นโควิด-19


ส่วนแบบจำลองที่นำมาใช้ ซึ่งออกแบบโดยสถาบันชี้วัดและประเมินผลด้านสุขภาพ มหาวิทยาลัยวอชิงตัน ได้วิเคราะห์โดยอ้างอิงข้อมูลจากอิตาลี จีน สหรัฐฯ โรงพยาบาลและองค์การอนามัยโลก โดยใช้ประสบการณ์ในอดีตมาทำนายอนาคต ซึ่งให้ข้อสรุปด้วยว่า "ต่อให้มีมาตรการระยะห่างทางสังคมมาบังคับใช้อย่างยั่งยืน แต่จุดสูงสุดของความต้องการใช้บริการในโรงพยาบาลเพราะการระบาดของโควิด-19 ก็ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญเช่นกัน 

ผลการวิเคราะห์เผย "Social distancing" อาจไม่ช่วยสหรัฐฯ พ้นโควิด-19

logoline