svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"ทวี" ลุยรับฟังเสียงสะท้อนประชาชนต่อ รธน.60

15 มีนาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหา หลักเกณฑ์และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ลุยรับฟังเสียงสะท้อนความคิดเห็นประชาชนถึงแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง พร้อมด้วย ดร.เอกพันธุ์  ปิณฑวณิชในฐานะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาปัญหาหลักเกณฑ์และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560ลงพื้นที่รับฟังความคิดเห็นของประชาชน ที่คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นเวทีการถกแถลงเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญของสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล

            สำหรับ ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ2560 ดังนี้ 1.ควรมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยให้มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชนหรือการทำประชามติว่าควรแก้หรือไม่ควรแก้ เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งการร่างรัฐธรรมนูญต้องเกิดจากการมีส่วนรวมของประชาชนทุกภาคส่วน

            2.ปัญหาการได้รับความคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จะด้อยกว่ารัฐธรรมนูญปี40 แม้ตามมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญปี 60ได้ซ่อนเร้นแตกต่างจากฉบับที่ผ่านมา และ พ.ร.บ.ที่ออกตามมาเช่น พรบ. คอมพิวเตอร์ เนื้อหาก็เป็นการจำกัดสิทธิเสรีภาพ เช่นกัน

นอกจากนี้ ข้อ 3.มาตรฐานการคำนวณสมาชิกแบบระบบบัญชีรายชื่อของคณะกรรมการการเลือกตั้ง4.การให้ ส.ส.มีเอกสิทธิ์ลงคะแนนโดยไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามติพรรคการเมืองเป็นช่องทางในการขายเสียงหรือการต่อรองผลประโยชน์5.ปัญหาการเปิดโอกาสให้ศาลรัฐธรรมนูญใช้ดุลพินิจในการตีความกฎหมายที่ค่อนข้างกว้าง6.สมาชิกวุฒิสภาควรมาจากการเลือกตั้ง 7.ยุบสภาและให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายใต้กติกาที่เป็นธรรม

8.ควรยุติบทบาทของวุฒิสภาตามบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจวุฒิสภาในการร่วมเลือกนายกรัฐมนตรีจากสภาผู้แทนราษฎรรวมไปถึงการยุติบทบาทขององค์กรอิสระอื่นๆ ที่สรรหาแต่งตั้งโดย คสช. 9.ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการคัดเลือกบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกาหรือตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระ

10.ควรมีระบบการตรวจสอบคำวินิจฉัยหรือคำพิพากษาของศาล ควรจะมีเป็นหลักประกันเรื่องความยุติธรรมและ 11.ประเด็นเรื่องความสามัคคีของคนในชาติ ที่รัฐธรรมนูญ 60บัญญัติที่เกี่ยวกับศาสนาเป็นเรื่องละเอียดอ่อนความเชื่อทางศาสนาเป็นเรื่องความศรัทธาหลักการศาสนาทุกศาสนาควรเสมอภาคเท่าเทียมกัน

            เมื่อได้รับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในเวทีดังกล่าวแล้วนั้นคณะอนุกรรมาธิการจะรวบรวมประเด็นต่าง ๆนำเสนอให้คณะกรรมาธิการเพื่อเป็นข้อมูลในการศึกษาปัญหาหลักเกณฑ์และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 ต่อไป

logoline