svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ราชกิจจาฯ เปิดคำพิพากษาศาลฎีกา เรื่อง ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ของ "ทักษิณ ชินวัตร"

28 กุมภาพันธ์ 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ คำพิพากษาของศาลฎีกา เรื่อง ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ [คดีหมายเลขดำที่ อม.อธ. ๔/๒๕๖๑ คดีหมายเลขแดงที่ อม.อธ. ๖/๒๕๖๒ ระหว่าง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โจทก์ นายทักษิณ หรือ พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร จำเลย]

เรื่อง ความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ

โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคําพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่งทางการเมือง ลงวันที่ ๒๔ เดือน สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๑ องค์คณะวินิจฉัยอุทธรณ์ รับวันที่ ๑๑ เดือน ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๖๑

โจทก์ฟ้องและแก้ฟ้องว่า จําเลยดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง นายกรัฐมนตรีในวาระแรกตั้งแต่วันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ และได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่ง นายกรัฐมนตรีในวาระที่สองตั้งแต่วันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๔๘ จนถึงวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ จําเลยจึงมีฐานะเป็นข้าราชการการเมืองตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการการเมือง พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และมีอํานาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๑๑ (๑) (๓) (๔) จําเลยในฐานะนายกรัฐมนตรีต้องกํากับ ดูแล และควบคุมการบริหารราชการของกระทรวงการคลัง โดยผ่าน ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ในขณะนั้น) เพื่อให้ การเป็นไปตามกรอบแห่งอํานาจและหน้าที่ของกระทรวงการคลังตามมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ เมื่อระหว่างวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๔๖ ถึงวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๕๖ เวลากลางวันและกลางคืนต่อเนื่องกัน จําเลยขณะดํารงตําแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ร่วมกับ ร้อยเอก สุชาติ กระทําความผิดต่อกฎหมายอาญา

ดังนี้ เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖ จําเลยได้เชิญตัวแทน ธนาคารกรุงเทพ จํากัด (มหาชน) เจ้าหนี้ และผู้บริหารของบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จํากัด (มหาชน) ลูกหนี้ หรือทีพีไอในคดีล้มละลายของศาลล้มละลายกลางเข้าร่วมหารือที่บ้านพิษณุโลกเกี่ยวกับ การฟื้นฟูกิจการของทีพีไอและการตั้งผู้บริหารแผนคนใหม่ของทีพีไอ จําเลยเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา ความขัดแย้งโดยขอให้ฝ่ายเจ้าหนี้และที่พี่ไอเสนอตัวแทนมาฝ่ายละ ๑๕ คน คัดเลือกให้ เพื่อจะให้การบริหารแผนฟื้นฟูกิจการของทีพีไอสําเร็จ ต่อมาวันที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ศาลล้มละลายกลาง นัดไกล่เกลี่ยโดยมีตัวแทนคณะกรรมการเจ้าหนี้ ผู้บริหารของทีพีไอ ผู้อํานวยการสํานักฟื้นฟูกิจการ และตัวแทนของกระทรวงการคลังเข้าร่วมไกล่เกลี่ย แต่การหารือไม่สามารถหาข้อยุติได้ ระหว่างวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๔๖ ถึงวันที่ 9 กรกฎาคม ๒๕๔๖ ศาลล้มละลายกลางมีคําสั่ง (ตอนที่ ๑๕) ในคดีหมายเลขดําที่ ฟ. ๒/๒๕๔๓ คดีหมายเลขแดงที่ ฟ. ๔/๒๕๔๓ ลงวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๔๖ โดยพิเคราะห์แล้วเห็นว่าสมควรที่จะขอให้กระทรวงการคลังเข้ามาเป็นผู้บริหารแผนคนใหม่ตามมติที่ประชุม เจ้าหนี้หากกระทรวงการคลังมีหนังสือยินยอม หลังจากนั้น สํานักฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้มีหนังสือด่วนที่สุด ที่ ยธ ๐๕๒๒/๖๒๔๐ ลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๔๖ ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (ร้อยเอก สุชาติ เชาว์วิศิษฐ) ขอหนังสือยินยอมให้กระทรวงการคลังเป็นผู้บริหารแผนคนใหม่ของทีพีไอ ต่อมา ร้อยเอก สุชาติ กับจําเลยได้ การบริหารหนี้สาธารณะ การบริหารและการพัฒนารัฐวิสาหกิจและหลักทรัพย์ของรัฐ และมีอํานาจหน้าที่ ในราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกระทรวงการคลัง ตามมาตรา ๑๐ แห่งพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. ๒๕๔๕ ซึ่งกรอบอํานาจดังกล่าวจํากัด เฉพาะการบริหารทรัพย์สินของรัฐเท่านั้น และไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่นใดบัญญัติ ให้อํานาจและหน้าที่แก่กระทรวงการคลังในการเข้าไปบริหารกิจการหรือจัดการทรัพย์สินของบริษัทเอกชน

อีกทั้งจําเลยยังเสนอชื่อ พลเอก มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ เป็นประธานคณะผู้บริหารแผน และ นายทนง พิทยะ เป็นหนึ่งในคณะผู้บริหารแผน ต่อมา ร้อยเอก สุชาติ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีหนังสือด่วนที่สุด ที่ กค 0400/๔๗๕ ลงวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๕๖ ยินยอมให้กระทรวงการคลังเข้าเป็นผู้บริหารแผน ของทีพีไอ พร้อมเสนอรายชื่อคณะผู้บริหารแผน ได้แก่ นายพละ สุขเวช พลเอก มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ และ นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา และมีหนังสือด่วนที่สุด ที่ กค ๐๑๐๐/๔๙๒ ลงวันที่ ๑ เป็นผลให้ศาลล้มละลายกลางมีคําสั่ง (ตอนที่ ๑๕) ในคดีหมายเลขดําที่ ฟ. ๒/๒๕๔๓ คดีหมายเลขแดงที่ ฟ. ๘/๒๕๔๓ ลงวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๕๖ ตั้งกระทรวงการคลังเป็นผู้บริหารแผนคนใหม่ของทีพีไอ ตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้ และการกระทําดังกล่าวเป็นผลให้มีการจ่ายค่าตอบแทนแก่คณะผู้บริหารแผน ซึ่งเป็นพรรคพวกของจําเลย รวมเป็นเงินในอัตราเดือนละ ๔,000,000 บาท ต่อมา ร้อยเอก สุชาติ มีหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0400/๑๕๕๔๙ ลงวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๔๖ นําเรื่องที่ กระทรวงการคลังยินยอมเข้าเป็นผู้บริหารแผนของที่พี่ไอเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ และวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๔๖ สํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจึงนําเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ แต่จําเลย ในฐานะนายกรัฐมนตรีมิได้ทักท้วงกรณีที่กระทรวงการคลังยินยอมเข้าเป็นผู้บริหารแผนของทีพีไอ ทั้งที่จําเลยทราบดีว่ากระทรวงการคลังเป็นส่วนราชการไม่มีอํานาจหน้าที่เข้าไปบริหารกิจการหรือจัดการทรัพย์สิน ของบริษัทเอกชน 
โดยจําเลยต้องสั่งการให้กระทรวงการคลังปฏิเสธการทําหน้าที่เป็นผู้บริหารแผนของทีพีไอ แต่จําเลยกลับละเว้นไม่สั่งการให้มีการแก้ไขเกี่ยวกับการยินยอมให้กระทรวงการคลังเป็นผู้บริหารแผนของทีพีไอ ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามอํานาจหน้าที่ตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ การกระทําของจําเลยดังกล่าวจึงเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้ โดยชอบด้วยกฎหมายให้แก่คณะผู้บริหารแผนซึ่งเป็นพรรคพวกของจําเลย ทั้งยังก่อให้เกิดความเสียหาย แก่ระบบการบริหารราชการกระทรวงการคลังและกิจการของทีพีไอ อันส่งผลกระทบแก่การบริหารกิจการของรัฐ และบริษัทเอกชนโดยรวม เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง การกระทําของจําเลย จึงเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต เหตุเกิดที่กระทรวงการคลัง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร และทําเนียบรัฐบาล แขวงสวนจิตรลดา เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

อ่านต่อต้นฉบับ

logoline