svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

จับตาอุทยาน​ฯ​ ฟื้นฟูระบบนิเวศ​ "แอ่งทราย" หลังไฟไหม้ป่าสน​ "ภูกระดึง"

18 กุมภาพันธ์ 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จนถึงขณะนี้ไฟป่าบนภูกระดึงมอดดับแล้ว 98% โดยยังเหลือไฟที่ยังลุกโหมอยู่ที่เชิงเขา ซึ่งเจ้าหน้าที่เร่งทำแนวกันไฟบริเวณหน้าผา เพื่อไม่ให้ไฟลุกมาบนยอดเขา แต่สิ่งที่ต้องจับตา หลังไฟไหม้ป่าครั้งใหญ่คือ การฟื้นฟูระบบนิเวศอย่างถูกต้อง

"วชิรวิทย์รายวัน" มาสำรวจภูกระดึงหลังเกิดเหตุไฟไหม้บนยอดเขา เดินขึ้นภูมากระทั่งถึงจุดที่อยู่ห่างจากบริเวณยอดภูประมาณ 2 กิโลเมตร บริเวณนี้เป็นจุดที่เจ้าที่ทำแนวกันไฟ เราเดินไปได้สุดแค่ป้ายที่เขียนว่า ห้ามเข้าโดยเด็ดขาด เพราะว่าข้างในยังมีไฟปะทุอยู่ เราจึงได้ใช้โปรบินสำรวจพบว่ายังคงมีกลุ่มควันพวยพุ่งออกมา จากบริเวณที่เป็นป่าเต็งรัง

อุทยานแห่งชาติภูกระดึง เป็นพื้นที่ที่มีป่าหลายชนิดรวมอยู่ในพื้นที่เดียวกัน บริเวณเชิงเขาจะเป็นป่าเต็งรัง ซึ่งเกิดไฟป่าเป็นประจำทุกปี เมื่อสูงขึ้นก็จะเป็นป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา ตามลำดับ โดยบริเวณยอดเขาที่เป็นภูเขาหัวตัด เป็นพื้นที่ราบมีลักษณะเป็น "ระบบนิเวศแอ่งทราย" ที่ในอดีตไม่เคยมี "ต้นสน" ขึ้นหนาแน่น

เมื่อ "วชิรวิทย์รายวัน" ขึ้นมาอยู่บนยอดภูกระดึง บริเวณนี้คือหลังแป ก็ได้เห็นสภาพป่าสนที่ถูกไฟไหม้อย่างชัดเจน ซึ่งเดิมทีบริเวณนี้ จะเป็นแอ่งทราย ทุ่งหญ้ากว้างขวาง หลังจากที่ไฟไหม้ป่าสนไปแล้วมีข้อเสนอแนะจากนักวิชาการว่าควรฟื้นฟูระบบนิเวศแอ่งทรายให้กลับคืนมา

และนี่ก็คือทรายที่สีขาวละเอียด อยู่ในป่าสนที่ถูกไฟไหม้ ชาวบ้านภูกระดึงที่เกิดและโตทำอาชีพค้าขาย และบริการนักท่องเที่ยว เล่าให้เราฟังว่าเมื่อ 30 ปีที่แล้วพื้นที่บริเวณนี้เป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ ไม่มีป่าสนขึ้น ป่าสนเพิ่งจะมีขึ้นหลังโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯ สอดคล้องกับข้อเสนอของ "อาจารย์ศศิน เฉลิมลาภ" ที่ปรึกษามูลนิธิสืบนาคะเสถียร ที่เสนอให้ใช้วิกฤตเป็นโอกาสพลิกฟื้นระบบนิเวศแอ่งทราย ให้กลับคืนมา

อ.ศศิน โพสต์เฟซบุ๊ค บอกว่า เอกลักษณ์ของ "ภูกระดึง" คือป่าต้นสนสลับทุ่งหญ้าป่าละเมาะ ขึ้นหลังแปมาเห็นทุ่งโล่งสวยสลับด้วยกลุ่มต้นสนสูงสง่า ไม่ใช่ป่าสนเป็นพืด หรือพุ่มไม้ทึบบังวิว ใครที่ปีนขึ้นภูกระดึงในปัจจุบัน เมื่อสายตาพ้นหลังแปขึ้นมา จะไม่ได้ตื่นเต้นกับที่ราบ สุดลูกหูลูกตาอีก

จับตาอุทยาน​ฯ​ ฟื้นฟูระบบนิเวศ​ "แอ่งทราย" หลังไฟไหม้ป่าสน​ "ภูกระดึง"


"โครงการปลูกป่าที่อาจจะละเลยความรู้พื้นฐานทางนิเวศวิทยา ใช้แต่การจัดการป่าไม้ และเทคโนโลยีปลูกป่า ต้นสนจึงโตงดงามแต่สูบน้ำไปด้วย ทำให้ในดินมีไนโตรเจนเพิ่มมากขึ้น ผลจากความรักธรรมชาติแต่อาจจะขาดความสนใจระบบนิเวศ" อ.ศศิน ระบุ

จับตาอุทยาน​ฯ​ ฟื้นฟูระบบนิเวศ​ "แอ่งทราย" หลังไฟไหม้ป่าสน​ "ภูกระดึง"



ล่าสุดแม้ไฟป่าบริเวณยอดภู จะดับลงไปแล้ว เหลือแต่เพียงกลุ่มควันที่ยังลอยคละคลุ้ง เจ้าหน้าที่จึงเร่งทำแนวกันไฟ เพื่อป้องกันไฟที่ยังติดอยู่ด้านล่าง ขึ้นมาซ้ำเติม

นี่ก็คือร่องรอยการทำแนวกันไฟของเจ้าหน้าที่ เดินจากตรงนี้มาสู่จุดนี้ ก็จะได้เห็นทางเดินเท้าเดิมซึ่งถูกใช้ประโยชน์เป็นแนวกันไฟแต่ก็ไม่สามารถจะป้องกันไฟป่าที่ลูกหัวมาจากพื้นที่ด้านล่างได้

จับตาอุทยาน​ฯ​ ฟื้นฟูระบบนิเวศ​ "แอ่งทราย" หลังไฟไหม้ป่าสน​ "ภูกระดึง"



อย่างไรก็ตาม คงต้องจับตาดูในระยะสั้นว่าเจ้าหน้าที่จะสามารถควบคุมไฟป่าภูกระดึงที่ยังคงโหมลุกไหม้อยู่ด้านล่างได้หรือไม่ ส่วนระยะยาวคงต้องดูว่าโครงการฟื้นฟูป่าที่ผิดหลักนิเวศวิทยา เช่นการปลูกป่าสน ในอ่างทราย จะได้รับการแก้ไขหลังเกิดไฟไหม้ป่าครั้งใหญ่ครั้งนี้หรือไม่

#วชิรวิทย์รายวัน

logoline