svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เผยสภาพภูกระดึง หลังไฟป่าเผาผลาญ

17 กุมภาพันธ์ 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สภาพ ภูกระดึง จังหวัดเลย หลังถูกไฟป่าเผาผลาญ วอดวายกว่า3พันไร่ ต้นไม้เสียหาย สัตว์ป่าหนีตาย ชาวโซเชียลร่วมใจติดแฮทแท็ก #SAVEภูกระดึง ปลุกจิตสำนึก ชี้ปัญหาไฟป่าส่วนใหญ่เกิดจากมนุษย์

ผู้ใช้เฟชบุ๊ก Phuri Phankradueng ซึ่งเป็นชาวภูกระดึง จังหวัด เลย เผยภาพป่า ที่ถูกเปาวอด ตั้งแต่เมื่อวานที่ผ่านมามา พร้อมระบุข้อความว่า  "สภาพบนภูกระดึง ที่ถูกไฟป่า  เสียดายต้นไม้ ขอให้ฝนตกลงมา จะได้ทำให้พื้นที่ต่างๆ และ ต้นไม้คืนสภาพ " โดยภาพดังกล่าว สภาพป่าสน ถูกเผาเป้นเถ้าถ่าน ยังพอเห็นต้นไม้ที่ยังหลงเหลือ ใบเขียว อยู่บ้าง แต่กลายเป็นภาพที่สร้างความน่าเสียดายของทรัพยากรธรรมชาติ ที่เกิดจากความประมาทของนักท่องเที่ยว 

เผยสภาพภูกระดึง หลังไฟป่าเผาผลาญ


ขณะที่ ส่วนประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช  เผยแพร่ ความสำคัญของภูกกระดึง พร้อมติด #saveภูกระดึง ระบุว่า รู้จักภูกระดึงแล้วจะรัก(ษ์)ภูกระดึง...สัตว์ป่ามากมาย...ป่าไม้สมบูรณ์... 
โดยอุทยานแห่งชาติภูกระดึง ถูกประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ ลำดับที่ 2 ของประเทศไทย ครอบคลุมพื้นที่ 348.13 ตารางกิโลเมตร (217,576.25 ไร่) ภูมิประเทศเป็นภูเขาหินทรายยอดตัด  มีที่ราบบนยอดภูกระดึงประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร (37,500 ไร่)
ภูกระดึงมีระดับความสูงอยู่ระหว่าง 400 1,200 เมตร จุดสูงสุดอยู่ที่บริเวณคอกเมย มีความสูง 1,316 เมตร สภาพทั่วไปของภูกระดึงประกอบไปด้วยพรรณไม้นานาชนิด พันธุ์สัตว์ป่านานาพันธุ์ หน้าผา ทุ่งหญ้า ลำธาร และน้ำตก อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ต้นน้ำของลำน้ำพองซึ่งเป็นลำน้ำสายสำคัญสายหนึ่งของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ด้วยความสูง บรรยากาศ และสภาพอากาศที่เย็นสบายตลอดปีบนยอดภูกระดึง โดยเฉพาะในช่วงฤดูหนาวอุณหภูมิอาจลดต่ำจนถึง 0 องศาเซลเซียส จึงเป็นแรงจูงใจให้นักท่องเที่ยวปรารถนาที่หวังจะเป็นผู้พิชิตยอดภูกระดึงสักครั้งหนึ่งในชีวิต

สภาพทั่วไปของอุทยานแห่งชาติภูกระดึง เป็นภูเขาหินทรายยอดตัดอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของที่ราบสูงโคราช ใกล้กับด้านลาดทิศตะวันออกของเทือกเขาเพชรบูรณ์ ลักษณะโครงสร้างทางธรณีของภูกระดึงเกิดขึ้นในมหายุค Mesozoic เป็นหินในชุดโคราช ประกอบด้วยชั้นหินหมวดหินภูพานหมวดหินเสาขัว หมวดหินพระวิหาร และ หมวดหินภูกระดึง ป่าสนเขา พบเฉพาะบนที่ราบยอดภูกระดึงที่ระดับความสูงประมาณ 1,200-1,350 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ สนสองใบ ก่อเตี้ย ทะโล้ สารภีดอย มะเขื่อเถื่อน รัก ฯลฯ

เผยสภาพภูกระดึง หลังไฟป่าเผาผลาญ


ภูกระดึง ยังได้ชื่อว่าเป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างชุกชุม เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศประกอบไปด้วยป่าไม้ ทุ่งหญ้าและลำธาร ซึ่งเป็นแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ สัตว์ป่าภูกระดึงมีหลายชนิดที่พบเห็นทั่วไป ได้แก่ ช้างป่า เก้ง กวางป่า หมูป่า ลิงกัง ลิงลม บ่าง กระรอกหลากสี กระแต หนูหริ่งนาหางยาว ตุ่น เม่นหางพวง พังพอน อีเห็นนอกจากนี้ ส่วนประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ยังเผยว่า สาเหตุของไฟป่าในประเทศไทยส่วนใหญ่เกิดจากฝีมือของมนุษย์ ที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อมเป็นวงกว้าง  ผลกระทบนั้นก็ย้อนกลับมาสู่มนุษย์ในรูปแบบของมลพิษต่างๆ ทั้งทางอากาศ ดิน น้ำ วันนี้เราทุกคนช่วยกันได้  ดดยเริ่มจากการมีจิตสึกนึก  รวมพลังสอดส่องดูแล หากพบเห็นไฟป่า หรือ การกระทำที่อาจก่อให้เกิดไฟป่า แจ้งสายด่วนไฟป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โทร 1362 ตลอด 24 ชั่วโมง

logoline