svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

Nation Documentary | ถอดรหัสไวรัส COVID-19

16 กุมภาพันธ์ 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ลักษณะการดำเนินของโรคจะคล้ายๆ กับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 คือ ทำให้เกิดปอดบวมอย่างรุนแรง ปัจจุบันแม้ยังไม่มียารักษา แต่การรักษาตามอาการก็ทำให้หายขาดได้ ผู้ติดเชื่อไม่ใช่ว่าจะต้องเสียชีวิต ขณะที่นักวิจัยกำลังพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันโรคดังกล่าว ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะประสบความสำเร็จในไม่ช้า

ภาพสาวจีนกินซุบค้างคาว ที่กำลังเผยแพร่ไปในโซเชียลมีเดีย กำลังถูกตั้งข้อสังเกตว่านี่ เป็นต้นเหตุของการระบาดโรคอุบัติใหม่ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือไม่
และนี่ก็คือสภาพเมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย ประเทศจีน ที่กลายเป็นเมืองล้างหลังรัฐบาลยกระดับมาตรการควบคุมโรคสูงสุด มีการปิดเมืองเพื่อป้องกันการแพร่เชื่อ ที่ปัจจุบันมีผู้ติดเชื่อพุ่งเกือบหมื่นคนในระยะเวลาเพียงเดือนเดียว
ย้อนไปเมื่อปลายปีที่แล้ว 2019 ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่เริ่มระบาดอย่างเงียบๆภายในเมืองอู่ฮั่นแห่งนี้ ที่ว่ากันว่า มาจากตลาดขายของป่าแห่งหนึ่ง ย่านชานเมือง
เพราะเป็นไวรัสตัวใหม่ ความรู้ในการรับมือยังมีไม่มาก ไม่มีใครคาดคิดว่าโรคจะแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว กว่าจะมีการประกาศปิดเมือง ผู้คนในเมืองอู่ฮั่นก็เดินทางไปทั่วโลก รวมถึงประเทศไทย
หลังได้รับเสมหะ และสิ่งคัดหลั่งในโพรงจมูกและคอหอยของผู้ป่วยจีนรายแรกในประเทศไทยเมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2563 ซึ่งขณะนั้นทางการจีนยังไม่ประกาศว่าเป็นเชื้อโรคชนิดใด

ดร.สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี รองหัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ นักเทคนิคการแพทย์ ได้นำมาตรวจหาสาเหตุการป่วยด้วยวิธีพิเศษ โดยมุ่งไปที่ไวรัส 2 ตระกูล คือ โคโรน่าและอินฟลูเอนซาที่ทำให้เกิดไข้หวัด
ขั้นตอนเริ่มจาก นำเสมหะมาสกัดสารพันธุกรรม ด้วยวิธีการพิเศษ เนื่องจากยังไม่ทราบชัดว่าเป็นไวรัสชนิดใด โดยการเพิ่มปริมาณไวรัสตรวจจับทั้งตระกูล แล้วถอดรหัสพันธุกรรม ด้วยเครื่องถอด "รหัสพันธุกรรม" ปรากฏพบเป็นบวกเฉพาะไวรัสโคโรน่า ในขณะที่ไวรัสอินฟลูเอนซาเป็นลบ
ต่อมา นำ "รหัสพันธุกรรม" ที่ถอดรหัสท่อนสั้นๆ ไปเปรียบเทียบรหัสพันธุกรรมจากธนาคารรหัสพันธุกรรมโลก ใช้เวลา 6 ชั่วโมง พบว่าบวกเฉพาะเชื้อไวรัสตระกูลโคโรน่า ต้นตอมาจากค้างคาว มีความคล้ายคลึงกับเชื้อที่ก่อโรคซาร์ส แต่ไม่สามารถระบุสายพันธุ์ย่อยได้ เพราะไม่เคยพบมาก่อนที่สนามบินสุวรรณภูมิ ผู้โดยทั้งชาวไทยและต่างชาติ มากกว่า 50% สวมหน้ากากอนามัยมิดชิด สะท้อนให้เห็นถือ ความตื่นตัวรับมือกับโรคระบาดในระบบทางเดินหายใจ
เที่ยวบินจากเมืองอู่ฮั่นถูกยกเลิก นักท่องเที่ยวจีนที่ตกค้าง ต้องเปลี่ยนไปลงเมืองอื่นในประเทศแล้วต่อโดยสารสาธารณะกลับภูมิลำเนา แต่ก็ยังมีเที่ยวบินจากจีนบางเที่ยว ที่ยังบินลงในไทย
ขณะที่รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายอนุทิน ชาญวีรกูล บอกว่าไทยไม่อาจมีมาตรการแบบกำปั้นทุบดินได้ เพราะต้องคำนึงถึงผลกระทบหลายส่วน และพิจารณาจากความรุนแรงของโรคแล้วยังไม่ถึงขั้นต้องปิดประเทศ
อย่างไรก็ตาม การระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 จะระบาดภายในประเทศไทย จากคนไทยสู่คนไทยอย่างแน่นอน ขึ้นอยู่กับว่าจะช้าหรือเร็วเท่านั้น เนื่องจากไม่มีทางที่จะคัดกรองผู้ติดเชื้อเข้า - ออกประเทศได้อย่าง 100%
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คาดว่าน่าจะมีผู้ติดเชื้ออยู่ในประเทศอื่นๆ ที่ยังไม่เป็นข่าว อีกหลายราย
แต่การคัดกรองในประเทศไทย ถือว่าทำเต็มขั้นและดีที่สุดแล้ว แต่ด้วยอาการของโรค หากติดเชื้อจะใช้เวลา 2 - 3 วัน กว่าจะเริ่มมีอาการป่วยเป็นไข้ อาจจะมีผู้ติดเชื้อหลุดลอดเข้ามาได้
การระบาดโรคนี้ค่อนข้างง่าย เพราะติดต่อผ่านการหายใจและการสัมผัสผ่านสารคัดหลั่ง ไม่ว่าจะเป็นฝอยละอองต่างๆ ที่มาจากร่างกายของผู้ติดเชื้อ
แต่อธิบดีกรมควบคุมโรคมีความเห็นที่แตกต่าง เขาบอกว่าเชื้อนี้ไม่ได้ติดต่อง่ายดายขนาดนั้น
เวลานี้ในประเทศไทยเฝ้าระวังอยู่ว่าจะมีผู้เสียชีวิตหรือไม่ โดยอัตราการระบาดที่จะพบผู้ติดเชื้อ มีขึ้นเป็นรายวัน โดยยังไม่มีทีท่าว่าโรคจะสงบลง
ศ.นพ.ธีระวัฒน์ บอกว่าลักษณะการดำเนินของโรคจะคล้ายๆ กับไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 คือ ทำให้เกิดปอดบวมอย่างรุนแรง ปัจจุบันแม้ยังไม่มียารักษา แต่การรักษาตามอาการก็ทำให้หายขาดได้ ผู้ติดเชื่อไม่ใช่ว่าจะต้องเสียชีวิต ขณะที่นักวิจัยกำลังพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกันโรคดังกล่าว ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะประสบความสำเร็จในไม่ช้า
วิธีการป้องกันของประชาชนโดยทั่วไป คือ กินอาหารสุกเท่านั้น ไม่กินอาหารดิบ และกินร้อน ใช้ช้อนกลาง ล้างมือบ่อย จะสามารถป้องกันการระบาดของโรคได้ในระดับหนึ่ง รวมไปถึงการใส่หน้ากากอนามัยในที่ที่มีผู้คนพลุกพล่าน
สำหรับเชื้อไวรัสตัวนี้เป็นไวรัสประเภท RNA ไวรัสที่มีการแปลรหัสพันธุกรรมเพื่อให้เข้ากับสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ จึงเป็นที่มาของการติดต่อจากสัตว์สู่คน และคนสู่คน
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ แบคทีเรีย เชื่อไวรัส และโรคติดต่อต่างๆ เติบโต แพร่กระจายไปสู่ส่วนอื่นๆ ของโลกมากขึ้น
สิ่งที่น่ากังวลก็คือสภาวะโลกร้อนจะส่งผล ให้เชื้อโรคเหล่านั้น ลุกลามไปยังพื้นที่ที่ไม่เคยเกิดโรคติดต่อชนิดนั้นมาก่อน
ฝูงค้างคาวบินว่อนใต้หลังคาบ้านหลังหนึ่ง ในอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เป็นคลิปที่โลกโซเชียลแชร์กันออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเจ้าของบ้านกลัวติดเชื้อไวรัสโคโรน่าซึ่งมีที่มาจากค้างคาว
หญิงชราวัย 80 ปีคนนี้คือเจ้าของบ้าน จันทร์นวล เหมหัตถภร เล่าว่า มีค้างคาวจำนวน 3 ตัวบินเข้ามาอยู่อาศัยใต้หลังคาบ้านเมื่อ 3 ปีก่อน หลังจากนั้นเพิ่มจำนวนมากขึ้นจาก 10 ตัวเป็น 100 ตัว และล่าสุดมีจำนวนมากเกือบพันตัว เกาะเต็มหลังคาบ้าน ยาวไปจนถึงโรงจอดรถ
หลานสาว บอกว่า ป้ายังไม่เคยมีอาการเจ็บป่วย แม้จะเก็บขี้ค้างคาวไปทิ้ง เป็นประจำ แต่หลังจากมีการระบาดไวรัส โคโรนา ซึ่งมีที่มาจากค้างคาว ทำให้ต้องป้องกันเอาไว้ก่อน เพราะไม่รู้ว่าอนาคตไวรัสจะกลายพันธุ์พัฒนาติดต่อสู่คนหรือไม่
วันเดียวกัน สาธารณสุข อ.เมือง ชลบุรี ลงพื้นที่ตรวจสอบบริเวณบ้านดังกล่าว ระบุว่า จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสที่มาจากค้างคาว จึงเป็นพื้นที่ต้องเฝ้าระวังโดย ได้มีการส่งเจ้าหน้าที่สำรวจประชาชนที่เป็นเพื่อนบ้าน โดยรอบ 3-4 หลังคาเรือน พบว่ายังไม่มีใคร มีอาการเจ็บป่วยเป็นไข้ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา

หากเทียบดู 6 โรคระบาดแห่งศตวรรษที่ 21 ในปี 2002 โรคซาร์ส มีต้นตอการระบาดมาจาก ค้างคาว ปี 2004 ไข้หวัดนก มีต้นตอจาก นกน้ำป่า ปี 2012 โรคเมอร์ส มาจากค้างคาว ซึ่งมีอูฐเป็นตัวกลาง ปี 2014 อีโบล่า มาจากค้างคาวและลิง ปี 2015 ไวรัสซิกา มาจากลิง ซึ่งมียุงเป็นพาหะ และ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 มีต้นตอจากค้างคาว โดยมีงูเป็นพาหะ
เชื้อโคโรน่าไวรัสในค้างคาวเจอได้ทุกสายพันธุ์ ค้างคาวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เชื้อจากค้างคาว หากมีการข้ามสายพันธุ์ในสัตว์ที่เลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนกัน โอกาสเป็นตัวกลางปรับเปลี่ยนสารพันธุกรรมในการมาสู่คนจะทำให้ติดเชื้อได้ง่ายดร.สุภาภรณ์ วัชรพฤกษาดี นอกจากจะเป็นนักเทคนิคการแพทย์ ที่ถอดรหัสพันธุกรรมของเชื่อโคโรนาแล้ว ในฐานะนักวิจัยเกี่ยวกับเชื้อไวรัสในค้างคาวบอกว่า ค้างคาวสายพันธุ์มงกุฎในประเทศไทยจำนวน 3-4 ร้อยชนิดพบเชื้อโคโรนา แต่ยังไม่ติดต่อเข้าสู่คน
ประเทศไทยมีค้างคาวที่กระจายไปอยู่ทั่วภูมิภาค ทีมข่าวชั่วโมงสืบสวนเดินทางไปที่ วัดเขาช่องพราน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี ซึ่งเป็นจุดที่มีค้างคาวเยอะที่สุด ค้างคาวที่นี่ เป็นหนึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ ทีมวิจัยจุฬาฯ ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เคยเจาะเลือดไปตรวจหาเชื่อโรค
มูลค้างคาวที่เห็นอยู่ตามพื้นถ้ำเหล่านี้ คือสิ่งที่ชาวบ้านในละแวกใกล้เคียง เก็บขายเป็นปุ๋ยมูลค้างคาว ที่นับได้ว่ามีราคาแพงว่าปุ๋ยมูลสัตว์ชนิดอื่น ชาวบ้านที่นี่บอกว่าในอดีต ก่อนมีพรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า ชาวบ้านบางส่วนเคยจับค้างคาวมากิน แต่ภายหลังจากพรบ.ประกาศใช้เมื่อปี 2535 ก็ไม่มีใครจับกินอีก ส่วนการเก็บขี้ค้าวคาว จะมีความเสี่ยงรับเชื่อโรคหรือไม่นั้น ด้านสาธารณสุขอำเภอ ได้เข้มงวดในการสวมผ้า ถุงมือ และหน้ากากอนามัยให้มิดชิด
แต่จากข้อมูลรายงานวิจัยต่างๆ พบว่าค้างคาวเป็น "แหล่งรังโรค" อุบัติใหม่ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อยู่มาดึกดำบรรพ์ มีภูมิคุ้มกันพิเศษที่สามารถให้ไวรัสอยู่ร่วมด้วยโดยที่ไม่เจ็บป่วยได้ เพื่อรอเวลาแพร่ไปที่อื่น การ Jump species ขึ้นอยู่กับกระบวนการ โดยมากจะข้ามสายพันธุ์ด้วยการสัมผัสทางมูลด้วย
อย่างไรก็ตาม ศ.ดร.ประทีป ด้วงแค อาจารย์ภาควิชาชีววิทยาป่าไม้ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) กล่าวว่า ถ้าให้ประเมินการแพร่เชื้อโรคจากค้างคาว มาสู่คน โอกาสน้อยมาก ไม่น่าห่วง แต่ควรจะโฟกัสที่คน ที่ป่วย และเป็นตัวกลางในการแพร่เชื้อจากคนสู่คนมากกว่า
โดยค้างคาวกับคนไทยอยู่ด้วยกันมานานแล้ว คณะแพทย์ จุฬาฯเคยมีการตรวจคนที่มีความเสี่ยง ไม่พบเชื้อจากค้างคาวมาสู่คน แต่ไม่ใช่ว่าจะไปจับค้างคาวมาเล่น หรือมากินได้
แต่ถึงอย่างนั้น นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ก็กังวลเกี่ยวกับไวรัสทุกชนิด ที่พบในมนุษย์เป็นครั้งแรก เมื่ออยู่ในเซลล์ ของมนุษย์ และขยายตัว มันจะเริ่มกลายพันธุ์และทำให้แพร่ระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และกลายเป็นเชื้อที่อันตรายขึ้น เพราะฉะนั้น จึงไม่ควร เปิดโอกาสให้ไวรัสตัวนี้

logoline