svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

"สภาฯ"แห่งวิบากกรรม "ลุงตู่"

27 มกราคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

วุฒิสภา ลงมติเลือก กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ตามที่เสนอชื่อและคณะกรรมาธิการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมกรรมทางจริยธรรมของผู้ที่ถูกเสนอชื่อ ทั้ง 5 คน คือ น.ส.ลม้าย มานะการ เลขาธิการสมาคมลุ่นน้ำสายบุรี, นางปรีดา คงแป้น ผู้จัดการมูลนิธิชุมชนไท , นายสุชาติ เศรษฐมาลินี หัวหน้าสาขาวิชาสันติศึกษา มหาวิทยาลัยพายัพ, นายวิชัย ศรีรัตน์ อาจารย์วิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ นายบุญเลิศ คชายุทธเดช สื่อมวลชนอิสระ แม้ระหว่างที่เขียนคอลัมภ์นี้ จะไม่ทราบผลลงมติ แต่การพิจารณาของวุฒิสภา แบบประชุมลับ ได้ใช้เวลาค่อนข้างนาน ทำให้ประเมินว่ามี ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ "บางคนนั้น" ประวัติส่อมีปัญหา และ วุฒิสภา จะลงมติไม่เห็นชอบ

ขณะที่การเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง ในจังหวัดกำแพงเพชร เขต 2 แทน "พ.ต.ท.ไวพจน์ อาภารัตน์" ที่ ถูกศาลตัดสินจำคุก กรณีบุกล้มการประชุมอาเซียน ล่าสุด คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศกำหนดวันเลือกตั้งแล้ว เป็นวันที่ 23 กุมภาพันธ์ และเปิดรับสมัครผู้จะลงสมัครรับเลือกตั้ง วันที่29 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ ดังนั้นเมื่อเวลางวดเข้ามา แต่ละพรรค โดยเฉพาะ "พลังประชารัฐ"ที่เป็นเจ้าของถิ่น เพราะส่ง "ไวพจน์"ลงเลือกตั้งแล้วชนะ จึงจำเป็นต้องหาคนลงสมัคร ขณะที่ฝ่ายค้าน หรือ พรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ ต้องจับตาดูว่าเกมนี้จะยอมปล่อยให้ "พลังประชารัฐ"เล่นเกมชนะเลือกตั้งได้ง่ายๆ หรือไม่

"สภาฯ"แห่งวิบากกรรม "ลุงตู่"


ส่วนความคืบหน้าของการยื่นญัตติอภิปรายรัฐบาล เพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาล ของ "บิ๊กตู่"พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกลาโหม พร้อมรัฐมนตรีอีก 4-5 คนนั้น พรรเพื่อไทย ฐานะแกนนำพรรคร่วมฝ่ายค้าน ยังไม่เคาะรายชื่อแบบสะเด็ดน้ำ ซึ่ง "สุทิน คลังแสง" ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน บอกว่า ต้องคำนึงถึงข้อมูล ที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน "คณะรัฐมนตรี" ชุดปัจจุบัน ซึ่งประเด็นนี้ ดูเหมือนจะขัดใจพรรคร่วมรัฐบาลอื่นๆ ที่ต้องการจะใช้เป็นเวที เพื่อแซะความเชื่อมั่นของรัฐบาล

แม้จะมีข้อมูล ประกอบกับ ข้อสันนิษฐาน แต่หากได้ใช้โวหารไป อาจเรียกคะแนนจากแนวร่วม "ไม่เอาลุง" เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดีการยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ ต้องทำโดยเร็ว อย่างน้อยต้องยื่นและกำหนดอภิปรายก่อนสิ้นเดือนกุมภาพันธ์นี้ ที่ถือเป็นวันปิดสมัยประชุม
ขณะที่ความคืบหน้าต่อกรณี "ส.ส.จอมเสียบ"ที่ไม่มองว่าเป็นสิทธิของตนเองหรือไม่ ล่าสุดตามที่มีการเปิดเผยรายชื่อ 3 คน คือ "ฉลอง เทอดวีระพงศ์ ส.ส.พัทลุง พรรคภูมิใจไทย - นางนาที รัชกิจประการ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย และ น.ส.ภริม พูลเจริญ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคพลังประชารัฐ" นั้น สภาฯ ยังไร้ความคืบหน้าต่อการสอบถึงพฤติกรรมของ 2 ส.ส.ที่มีรายชื่อท้ายตามลำดับ แม้ฝ่ายประจำที่รอเวลา เพื่อไม่ให้ถูกนำพาไปเป็น"ศัตรู"ของผู้บังคับบัญชา คือ"ส.ส.ผู้ทรงเกียรติ" โดยรอให้"คณะกรรมาธิการกิจการสภาฯ" หรือ"คณะกรรมการจริยธรรม" ซึ่งกรรมการจริยธรรมนั้น รอตั้งขึ้นหลังจากระเบียบของสภาฯ ว่าด้วยประมวลจริยธรรมมีผลบังคับใช้ แต่ไม่ว่าจะรอเวลาหรือไม่ เรื่องนี้ถือเป็นความเสียหายครั้งใหญ่ เพราะทั้ง 3 กรณี คือ กรรมเดียวกัน"ลงมติร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563"

"สภาฯ"แห่งวิบากกรรม "ลุงตู่"

ที่การเสียบบัตร ถือเป็นกระบวนการสำคัญ ของการตรากฎหมายฉบับสำคัญ และประเด็นนี้ ถูกส่งไปยังศาลรัฐธรรมนูญให้ตีความว่า จะเป็นผลเสียหายกับการตราร่างกฎหมายฉบับนี้หรือไม่ และศาลรัฐธรรมนูญเตรียมพิจารณาคำร้อง 29 มกราคมนี้ ส่วนระยะเวลาการตรวจสอบ หรือไต่สวนนั้น คาดว่าจะใช้เวลาพอสมควร ซึ่งจากจุดเปิดโปง การเสียบบัตรแทนกัน ส่งผลต่อ การประกาศใช้งบประมาณแผ่นดิน ที่ต้องยืดออกไปอีก อย่างน้อย อีก 5เดือน หากนับจากปฏิทินการใช้งบประมาณปกติ
ทั้งนี้ต้องจับตาตลอดปลายเดือนมกราคม ถึงกุมภาพันธ์นี้ว่า สิ่งเร้าที่เกิดขึ้น จะกลายเป็นอุปสรรคครั้งใหญ่ของรัฐบาล และฉุด"ความเชื่อมั่น"ให้ทิ้งดิ่งลงเหวหรือไม่

logoline