svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

นักวิจัย จุฬาฯ ยัน ยังไม่พบไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในค้างคาวไทย

27 มกราคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

นักวิจัยเตรียมสำรวจค้างคาวมงกุฎ อีก 23 ชนิดในไทย ว่ามีเชื่อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่2019 หรือไม่ ยืนยันว่ายังไม่พบเชื้อในค้าวคาวไทย พร้อมพัฒนาชุดตรวจเชื่อไวรัสโคโรนาเพิ่ม ให้เพียงพอต่อความต้องการ



เมื่อวันที่ 27 ม.ค. 63 ดร. สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี นักวิจัยศูนย์วิทยาศาตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า หลังจากที่ได้ทำการวิจัยไวรัสโคโรนา ในค้างคาวมาก่อนหน้านี้ ล่าสุดเตรียมลงพื้นที่ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช สำรวจค้างคาวมงกุฎในไทย จำนวน 23 ชนิด ว่ามีเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่หรือไม่

โดยก่อนหน้านี้ทีมวิจัยจุฬาฯ ร่วมกับ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงพื้นที่สำรวจค้างคาวในประเทศไทย เพื่อหาเชื้อไวรัสในค้างคาว เพื่อจัดทำฐานข้อมูล ถอดรหัสพันธุกรรมของโรคอุบัติใหม่ เบื้องต้น พบเชื้อโคโรนา ในค้างคาวไทย 300-400ชนิด แต่ยังไม่ติดต่อสู่คน

ส่วนทั่วโลก มีไวรัสโคโรนา ที่ติดต่อสู่คนใน 7 ชนิด แบ่งเป็น 4 ชนิดแรก ที่มีอาการโรคหวัด อีก 2 ชนิด เป็นไวรัสกลุ่มเบต้า คือ โรคเมอร์ โรคซาร์ส ที่มีความรุนแรง และ 1 ชนิด ล่าสุด คือ โคโรนา สายพันธุ์ใหม่2019 ที่มีผลต่อปอดอักเสบ

ขณะที่ สถานการณ์ความรุนแรง ของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ถือว่ามีความรุนแรงน้อยกว่าโรคเมอร์และซาร์ส อย่างมาก เพราะเป็นคนละชนิด และไวรัสโคโรนา สามารถตายได้ในภูมิภาคร้อนจัด และแห้ง 
ส่วนการจะวัดว่าสถานการณ์ของโรครุนแรงหรือไม่ สามารถวัดได้ 3 ระดับ คือ อัตราการเสียชีวิต ความรุนแรงของโรค และการแพร่ระบาด โดย ศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ โรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ รพ.จุฬาฯ มีชุดตรวจไวรัสโคโรนา มากกว่า 16 ชุด และอยู่ระหว่างการเร่งพัฒนาชุดตรวจไวรัสโคโรนา จากการเทียบรหัสพันธุกรรมของเชื้อ เพิ่มขึ้นอีก 

ซึ่ง พรุ่งนี้ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จะมีการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้านห้องปฏิบัติการ เพื่อ พัฒนาการตรวจโรคไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ให้รู้เร็วที่สุด เพื่อให้เกิดการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพ

logoline