svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ประท้วงรัฐบาลแก้ปัญหาฝุ่น​ PM2.5​ ล้มเหลว

23 มกราคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แม้วันนี้คุณภาพอากาศในกรุงเทพฯจะดีขึ้นแต่ก็ยังสูงเกินค่ามาตรฐานที่รัฐบาลตั้งไว้ไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยปัญหาฝุ่น PM2.5 กำลังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในวงกว้างที่ ขณะที่ภาคประชาชน ออกมาเดินประท้วงรัฐบาล ที่ไม่มีความชัดเจนในการแก้ไขปัญหาฝุ่นที่ดีพอ ติดตาม คุณวชิรวิทย์ เลิศบำรุงชัย รายงานสดจาก ทำเนียบรัฐบาล



"พอกันทีขออากาศดีขึ้นมา" เป็นคำตะโกนของผู้ประท้วงเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่ยังคงเกินค่ามาตรฐาน แม้วันนี้จะลดลง แต่ก็ยังเกินกว่าค่าที่กรมควบคุมมลพิษกำหนดที่ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

ตัวแทนของภาคประชาสังคมกลุ่มหลายกลุ่มที่มารวมตัวกันในวันนี้ นำโดยกรีนพีช ระบุว่าและผลการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มกราคมที่ผ่านมา ยอมรับว่าสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 เกินมาตรฐานและอยู่ในปริมาณที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ จึงมีมติให้ยกระดับมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษ

แต่มาตรการดังกล่าวขาดเป้าหมายที่ชัดเจนไม่มีฐานข้อมูลที่มาจากการศึกษาวิจัยต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่นการตรวจสอบและสั่งปิดโรงงานที่ปล่อยมลพิษทางอากาศจนกว่าจะมีการแก้ไขนั้น ไม่มีฐานข้อมูลรองรับว่าจะตรวจสอบโรงงานประเภทใดจะลดฝุ่น PM 2.5 เป็นปริมาณเท่าใด

นอกจากนี้ปัญหา PM 2.5 ยังสะท้อนถึงความเหลื่อมล้ำทางสังคม ได้ชัดเจนเพราะแต่ละคนมีต้นทุนในการรับมือกับ PM 2.5 ที่ต่างกัน การที่ผู้คนจำนวนมากไม่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์ป้องกันสุขภาพ เช่น หน้ากากหรือเครื่องฟอกอากาศได้เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัด จำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐต้องสร้างคลีนรูม กระจายอยู่ในพื้นที่สาธารณะเพื่อบริการประชาชนในช่วงภาวะวิกฤต

ิอีกประเด็นสำคัญ คือมีข้อเรียกร้องให้รัฐบาลปรับมาตรฐาน PM 2.5 ในบรรยากาศของประเทศไทยให้ใกล้เคียง WHO ที่มีค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงคือ 35 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรจากเดิมที่ตั้งไว้ 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร รัฐบาลต้องมีมาตรการลดปล่อยมลพิษจากแหล่งกำเนิด ซึ่งปัจจุบันยังไม่เคยมีกฎหมายกำหนดมาตรฐานการปล่อยฝุ่น PM 2.5 จากแหล่งกำเนิดกำเนิดมลพิษหลัก ทั้งโรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม หรือกระทั่งรถยนต์

ส่วนอีกแหล่งกำเนิดมลพิษที่มาจากการเผาในภาคการเกษตร แม้รัฐบาลประกาศให้มีการลดการเผา แต่เห็นมีการลักลอบเผาอยู่จำเป็น จะต้องใช้มาตรการที่เข้มงวดกับผู้ประกอบการในห่วงโซ่อุปทาน ที่จะยุติการรับซื้อผลผลิตที่มาจากการเผา ในระยะยาวมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องลดพื้นที่การปลูกพืชเชิงเดี่ยวทั้งข้าวโพดและอ้อย เนื่องจากผลตอบแทนต่ำกว่าการผลิตรูปแบบอื่นหลายเท่าตัว ทั้งยังก่อให้เกิดผลกระทบวงกว้าง โดยผู้ที่ได้รับผลประโยชน์จากระบบการผลิตแบบนี้ ไม่ใช่เกษตรกรรายย่อยจะเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่

ท้ายที่สุดแล้ววิกฤตฝุ่น PM 2.5 เกิดจากรากเหง้าของปัญหามาจากการพัฒนาที่ผิดที่ผิดทางและไม่มีมาตรการป้องกันทางสิ่งแวดล้อมรองรับก่อนการตัดสินใจอย่างเพียงพอ

โดยในวันนี้ กลุ่มภาคประชาชน ดังกล่าวได้ยื่นหนังสือ ถึงนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์จันทร์โอชาที่ศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ทำเนียบรัฐบาลโดยมีผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมา รับหนังสือ และข้อเสนอต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกำหนดกฎหมายในการควบคุมการปล่อยมลพิษ

นักเคลื่อนไหวการเมือง ร่วมประท้วงฝุ่น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา กลุ่มผู้ชุมนุมรวมตัวกันหน้าวัดเบญจมบพิตร ทยอยเดินมาที่ศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ทำเนียบรัฐบาลพร้อมชูป้าย ทั้งข้อความที่เป็นภาษาอังกฤษและภาษาไทยระบุถึงความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ของรัฐบาล และการปล่อยมลพิษของโรงงานอุตสาหกรรม อาทิ เช่น นายเนติวิทย์ นักเคลื่อนไหวเยาวชนชื่อดัง รวมทั้งนางสาวชลธิชาแจ้งเร็ว นักเคลื่อนไหวกลุ่มคนอยากเลือกตั้ง ร่วมด้วย

นางสาวชลธิชา กล่าวว่ารัฐบาลจัดสรรไปใช้ในส่วนของกลาโหมมากเกิยไป ท่ามกลางวิกฤติเช่นนี้ควรจะเทงบประมาณ มาเพื่อบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก ซึ่งเป็นการทำเพื่อประโยชน์ของประชาชน

ขณะที่ผู้ชุมนุมคนอื่นๆที่มาร่วมเดินประท้วงด้วยบอกว่าต้องการให้รัฐพัฒนา ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะให้ดีขึ้น เพื่อจูงใจให้คนลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว ปัจจุบันต้องยอมรับว่าปัญหาขนส่งสาธารณะในกรุงเทพฯที่เชื่อมต่อกันไม่ทั่วถึงและเดินทางด้วยความยากลำบากทำให้ทุกคนเลือกที่จะใช้รถยนต์ส่วนตัวมากกว่าที่จะใช้บริการขนส่งสาธารณะ

logoline