svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

(ราย​งานพิเศษ)​ จี้รัฐเร่งให้สัญชาติผู้เฒ่ากลุ่มชาติพันธุ์ ตอน​ 1

19 มกราคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แม้ตลอดช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมาจะมีการผลักดันให้แก้ไขปัญหานี้ โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับขั้นตอนการแปลงและพิสูจิน์สัญชาติในประเทศไทยจะได้รับการแก้ไขและพัฒนาไปไกลแล้ว แต่ปัญหาก็ติด อยู่ที่กระบวนการของทางราชการที่ล่าช้า มีการเรียกรับเงินใต้โต๊ะ เพื่อให้เดินเรื่องเร็วขึ้น ไปติดตามจากรายงานของคุณวชิรวิทย์ เลิศบำรุงชัย



กาแฟอาราบีก้า เป็นผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้อย่างมากให้กับ ชาวชุมชนบ้านป่าคาสุขใจ อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย ชาวบ้านในชุมชนนี้ส่วนใหญ่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยจนกลมกลืน มีลูกหลานเหลนที่พัฒนาสถานะได้เข้าศึกษา และทำงานร่วมสร้างเศรษฐกิจให้กับสังคม

แต่กลุ่มผู้เฒ่าไร้สัญชาติที่อพยพมาอาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลากว่า 50 ปียังไม่สามารถพัฒนาสถานะบุคคลของตน ยังเป็นคนต่างด้าวเข้าเมือง แต่มีถิ่นที่อยู่อาศัยถาวรในประเทศไทย เนื่องจากความล่าช้าในการเรียกพยานหลักฐาน จากคณะอนุกรรมการกลั่นกรองสัญชาติ เป็นเหตุให้ปัจจุบันกลุ่มผู้เฒ่านี้ยังไม่มีบัตรประชาชน

ตามกฎตามพรบ.สัญชาติ ระบุเงื่อนไขการแปลงสัญชาติไทยตามมาตรา คือ

1. อายุ 20 ปี ขึ้นไป

2.มีความประพฤติดี ไม่มีประวัติการก่ออาชญากรรม

3.มีอาชีพเป็นหลักฐาน มีใบประกอบธุรกิจ

4.มีทะเบียนบ้าน ทร.14

5.พูดภาษาไทยได้ ฟังภาษาไทย ได้

เมื่อดูจากเงื่อนไขนี้ก็ ไม่น่าใช่เรื่องยากอะไรที่ชาวบ้านป่าคาสุขใจ จะสามารถแปลงสัญชาติเป็นไทยได้ ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร นักวิชาการที่ทำงานด้านสัญชาติมาเป็นเวลาหลายสิบปี อดีตสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ บอกว่าประเทศไทย กฎหมายในประเทศไทยมีพัฒนาพัฒนาด้านการแปลงสัญชาติไปไกลแล้ว แต่ปัญหาอยู่ที่ความล่าช้าเมื่อยื่นคำร้องต่อทางอำเภอ แล้วจะมีกรอบระยะเวลา 90 วัน แต่ถูกเจ้าหน้าที่ก็ดองเรื่องไว้ นำมาสู่การทุจริตยัดเงินใต้โต๊ะ

และหลังจากเรื่องเข้าไปสู่คณะกรรมการกลั่นกรองสัญชาติก็จะมีกรอบระยะเวลาอีก 90 วัน ซึ่งหากดำเนินขั้นตอนไปตามกรอบระยะเวลา การแปลงสัญชาติก็จะไม่มีปัญหา

แม้จะขับเคลื่อนเรื่องสิทธิทางสัญชาติของกลุ่มบุคคลในพื้นที่สูงทั้งเด็กและคนชรามาเกือบทั้งชีวิต แต่นางเตือนใจ ดีเทศน์ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิพัฒนาชุมชน และเขตภูเขา ก็ยอมรับว่า แม้ยังมีอุปสรรคในการขับเคลื่อนสิทธิสัญชาติ แต่ต้องยอมรับว่ามีพัฒนาการที่ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน

โดยเฉพาะกับกลุ่มเด็ก ที่สามารถแก้ปัญหาเด็กไร้สัญชาติ ที่เกิดตั้งแต่ปี 2551 มาถึงปัจจุบันได้กว่าแสนคน แต่สำหรับผู้เฒ่าไร้สัญชาติยังคงมีปัญหาอยู่

หากย้อนดูมติครมเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 ได้เห็นชอบต่อร่างคำมั่นของไทยที่จะประกาศในการประชุมระดับสูงว่าด้วยความไร้รัฐ ต่อสหประชาชาติ ซึ่งมีสาระสำคัญ เป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมือง เพื่อพัฒนากระบวนการแก้ปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น บนพื้นฐานของกฎหมายและระเบียบที่มีอยู่ ให้ครอบคลุมกลุ่มที่ตกหล่นจากการแก้ปัญหาในอดีต

เพื่อพิสูจน์คำมั่นของไทย การแก้ปัญหาผู้เฒ่าไร้สัญชาติที่ยังตกหล่น อยู่จึงเป็นบทพิสูจน์ของรัฐอย่างยิ่ง

logoline