svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เขาใหญ่​ เตรียมแผนรับมือ​ ช้างป่าหากินนอกอุทยาน​

17 มกราคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ วางรับมือสถานการณ์ช้างออกหากินนอกเขตอุทยาน 3 ระยะ สั้น กลาง ยาว หลังสถิติ 2 ปี พบช้างป่าออกหากินนิกเขต กว่า 600 ครั้ง พืชผล ชาวบ้านได้รับความเสียหาย

เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 63 นายครรชิต ศรีนพวรรณ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ กล่าวว่าสถานการณ์ช้างป่าออกนอกพื้นที่ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในช่วง 2 ปีหลังโดยจาดการเก็บสถิติการออกนอกพื้นที่ของช้างป่า อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ตั้งแต่ปี 2559 ถึงธันวาคมปี 2562 พบว่าในปี 2561 มีช้างป่าออกนอกพื้นที่จำนวน 685 ครั้งและปี 2562 จำนวน 602 ครั้งสูงกว่าปี 2560 ถึง 1 เท่า

เขาใหญ่​ เตรียมแผนรับมือ​ ช้างป่าหากินนอกอุทยาน​



สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากประชากรช้างป่าที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 8% หรือ 24 ตัว ปัจจุบันมีช้างป่าเท่าที่นับได้มีกว่า 300 ตัว ขณะที่พื้นป่าเขาใหญ่มีจำนวน 1.3 ล้านไร่ ซึ่งเป็นจำนวนที่มากพอที่จะรองรับช้างป่าได้มากถึง 1000 ตัว แต่เพราะขาดสัตว์ผู้ล่า เช่นเสือ ทำให้โขลงช้างป่าเกิดการกระจุกตัว และโดยธรรมชาติของช้างเพศผู้หรือช้างพลาย จะถูกขับออกจากฝูงเมื่อโตเต็มวัย ทำให้ไม่สามารถอยู่ในโขลงได้ ต้องกระจัดกระจายออกมาพื้นที่โดยรอบ จนไปหากิน ทำลาย พืชผลอาสิน ตามไร่สวนของชาวบ้าน เช่นข้าวโพด และอ้อย ซึ่งมีรสชาติดีกว่าพืชพรรณในป่า จึงติดใจ ออกมาทำลายพืชผลอาสินของชาวบ้านและกลับเข้าป่า กลับไปกลับมา เป็นประจำ


"ต้องยอมรับว่า สัตว์ผู้ล่า เช่นเสื่อโค่งที่เคยมี ถือเป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้ปริมาณช้างโขลงช้างกระจัดกระจายไปอยู่พื้นที่ต่างๆ ผืนป่ามีขนาใหญ่มาก รวมถึงผลักดันให้ไปใช้ทางเชื่อมถนน 304 ผืนป่าเขาใหญ่-ทับลานซึ่งยังมีที่อยู่อาศัยให้กับช้างอีกจำนวนหลายแสนเป็นล้านไร่"สำหรับแนวทางการรับมือในระยะสั้น เมื่อเกิดความเสียหายกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จะประกาศเขตภัยพิบัติจากสัตว์ป่าเพื่อ ใช้งบประมาณจ่ายค่าเยียวยาให้กับชาวบ้าน
ในระยะกลางจะมีการสร้างรั้วไฟฟ้า และปลูกไผ่หนามรวมทั้งสร้างแหล่งน้ำและแหล่งอาหารให้เพิ่มมากขึ้น และระยะยาวคือการติดตามประชากรของช้างป่าและจัดการถิ่นที่อยู่อาศัย แต่ทุกวันนี้ปัญหาอุปสรรคที่พบคือมีอัตรากำลังไม่เพียงพอเพราะต้องออกลาดตระเวนเป็นหลัก

เขาใหญ่​ เตรียมแผนรับมือ​ ช้างป่าหากินนอกอุทยาน​



ส่วนการรับมือ สถานการณ์แห้งแล้งปีนี้ ที่สัตว์ป่าได้อาจรับผลกระทบจากน้ำในคบองลำตะคลองที่เกือยแห้งขอด ในปี งบประมาณ 63 การสร้างฝายชะลอน้ำเพื่อให้มีแหล่งน้ำเก็บกัก ไว้สำหรับสัตว์ป่าลงมากินให้มีเพียงพอ

logoline