svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ผบ.ทร. ถก ศรชล. ฟังสถานการณ์ทางทะเล

15 มกราคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ผู้บัญชาการทหารเรือ ประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล นัดแรกของปีงบ 63 รับทราบสถานการณ์ทางทะเล ความก้าวหน้าในการจัดทำร่างอนุสัญญาบัญญัติ การจัดทำงบและแผนปฏิบัติราชการ

พลเรือเอก ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะ รองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ 2563การประชุมคณะกรรมการ ศรชล. มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณะกรรมการฯ ได้รับทราบสถานการณ์ทางทะเล ความก้าวหน้าในการจัดทำร่างอนุบัญญัติแผนประจำปีราชการประจำปีงบประมาณ 2563 และพิจารณาการจัดทำงบประมาณและแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ 2564 ตลอดจนพิจารณาร่างอนุบัญญัติที่อยู่ในอำนาจพิจารณาของคณะกรรมการฯ ประกอบพิจารณาพระราชบัญญัติการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ.2562 เพื่อขับเคลื่อนกลไกของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางทะเล ตลอดจนอำนวยการและประสานงาน ในการจัดการกับภัยคุกคามและปัญหาความมั่นคงทางทะเล ตามโครงสร้างใหม่ของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลสำหรับประเทศไทยมีภูมิรัฐศาสตร์ที่โดดเด่น อยู่ระหว่าง 2 มหาสมุทร เป็นพื้นที่กลางอนุภูมิภาคอินโดจีนและอาเซียน โดยในห้วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมา การพัฒนาทางเศรษฐกิจ นวัตกรรมทางการค้าและการตลาด ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นวัตกรรมการสำรวจและการผลิต ได้สร้างแรงผลักดันและแรงบันดาลใจให้มีการขยายตัวของกิจกรรมที่แสวงประโยชน์จากทะเลมากขึ้น โดยที่ระเบียบและมาตรการควบคุมของไทยยังไม่เข้มแข็งพอที่จะกำกับให้การแสวงประโยชน์เหล่านี้อยู่ในขอบเขต ไม่สร้างความเสียหายให้แก่ทะเล ซึ่งผลการศึกษาระบุว่าผลประโยชน์ทางทะเลของไทย มีมูลค่าสูงถึง 24 ล้านล้านบาทการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลที่มองเห็นเป็นรูปธรรมแล้ว ศรชล. ยังต้องมีความคิดริเริ่มที่จะปิดช่องว่างบริเวณรอยต่อระหว่างดินแดนภายใน

ซึ่งรัฐมีอำนาจเต็มกับเขตทางทะเลซึ่งอำนาจรัฐถูกลดทอนลงไปตามลำดับ รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อเป็นกรอบในการแสวงหาผลประโยชน์ในพื้นที่ขององค์การจัดการประมงตามภูมิภาคต่างๆ และพื้นที่นอกเขตอำนาจรัฐ ที่กฎหมายทะเลวางหลักการไว้ให้รัฐสามารถร่วมกันแสวงประโยชน์ภายใต้กติกาของ International Seabed Authority (ISA) ได้อีกด้วยปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ศรชล. ได้เตรียมแผนงานหลักในการพัฒนาขีดความสามารถ คือ

1. การจัดหาระบบควบคุมบังคับบัญชา และสื่อสาร เพื่อเพิ่มความสามารถในการเฝ้าระวัง ติดตาม ตรวจสอบ และบริหารสถานการณ์ทางทะเล ครอบคลุมพันธกิจการควบคุมบังคับบัญชา การสื่อสาร การแบ่งปันข้อมูลข่าวสารระหว่าง ศรชล. และหน่วยในข่ายงาน2. การสร้างอาคารกองบัญชาการ ศรชล. ในพื้นที่กองบัญชาการกองทัพเรือ เพื่อความเป็นเอกภาพในการควบคุมบังคับบัญชา และการติดตามสถานการณ์ทางทะเล ซึ่งปัจจุบัน ได้ออกแบบเสร็จแล้ว อยู่ในขั้นเตรียมการจัดซื้อ/จัดจ้างโดยคาดว่าจะได้รับงบประมาณสนับสนุนในวงเงิน 900 ล้านบาท3. การจัดหาระบบหรือบริการข้อมูลสำหรับการติดตามเรือในทะเล สนับสนุนการสังเคราะห์ประเด็นปัญหา และการแสวงข้อตกลงใจในการบริหารสถานการณ์ทะเล

logoline