svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

งดใช้ถุงพลาสติก​สูญเปล่า​ เพราะไทยนำเข้าขยะพลาสติก​

07 มกราคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ7.4 เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ตั้งแต่ต้นปี ทำให้โรงงานรีไซเคิลในประเทศนำเข้าเศษพลาสติกได้มากเมื่อเทียบกับเมื่อก่อน ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับเศษพลาสติกในประเทศของต่างประเทศจะราคาถูกกว่า สามารถนำมาผลิตสินค้าได้เลย

วันที่ 1 มกราคม ที่ผ่านมาเป็นวันที่ผมภาคภูมิใจอย่างมาก ที่จะนำถุงผ้าที่มีอยู่เป็นจำนวนมากภายในบ้านนำออกไปใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง

ในวันแรกทุกคนอาจจะรู้สึกเก้ๆกังๆ กับการงดใช้ถุงพลาสติกแบบหักดิบ แต่สำหรับผมก็ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่เราจะเลิกใช้ถุงพลาสติกอย่างจริงจังเสียที เพราะจริงๆแล้วก่อนหน้านี้ก็มีการประกาศมาล่วงหน้า และการนำถุงผ้าออกจากบ้านไปใช้ประโยชน์ ควรทำให้ติดเป็นนิสัย

ท่ามกลางความภาคภูมิใจในการลดใช้ถุงพลาสติก แต่กลับต้องสะดุดลง หลังจากที่ได้ทราบว่าประเทศไทยนำเข้าขยะพลาสติกมารีไซเคิลจนได้ชื่อว่า เป็นบ่อขยะของอาเซียน

นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมออกมา กระทุ้งเรื่องนี้ ว่านี่ช่างเป็นนโยบายที่ย้อนแย้งกับการลดใช้ถุงพลาสติก ที่ประชาชนกำลังภูมิใจว่าเป็นส่วนหนึ่ง ของการลดปัญหาขยะและลดภาวะโลกร้อน

ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย สนธิ คชวัฒน์ เขียนข้อความในเฟสบุ๊คส่วนตัว ระบุ สาเหตุที่ขยะพลาสติกถูกนำเข้าประเทศไทยได้จำนวนมาก เนื่องจาก

1.กลางปี 2560 ประเทศจีน ประกาศยกเลิกการนำเข้าขยะอุตสาหกรรมหรือขยะรีไซเคิล โดยเฉพาะเศษพลาสติกและกระดาษที่ยังไม่แปรรูป ดังนั้นประเทศที่เคยส่งขยะไปยังประเทศจีนเพื่อรีไซเคิล เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ยุโรปและอเมริกา เป็นต้น ไม่สามารถนำเข้าประเทศจีนได้อีกต่อไป จึงมุ่งมายังประเทศในแถบอาเซี่ยน เนื่องจากกฎหมายไม่ได้มีความเข้มงวดมากนักแถมยังมีบางประเทศมีนโยบายเปิดรับการลงทุนจากต่างประเทศด้วย

2.ประเทศไทยมีคำสั่งคสช.ฉบับที่4/2559 กำหนดให้โรงงานประเภท101 (ปรับคุณภาพของเสียอันตราย),โรงงานประเภท 105(คัดแยกากของเสียอุตสาหกรรม)และโรงงานประเภท106 (รีไซเคิลกากอุตสากรรม)สามารถตั้งโรงงานได้ทุกแห่งโดยไม่ต้องมีผังเมืองบังคับโดยเฉพาะโรงงานประเภท 105 และ 106 ไม่ต้องจัดทำรายงานอีไอเอ และเพียงนำแค่รายละเอียดโครงการไปปิดประกาศที่สถานที่ราชการ 3 แห่งหากประชาชนไม่คัดค้านในเวลาที่กำหนดไว้ก็สามารถออกใบอนุญาตหรือใบรง.4 ได้เลย
ดังนั้นโรงงานประเภทดังกล่าวจึงตั้งได้ไม่ยากนักเอื้อต่อการลงทุนซึ่งรัฐบาลหวังจะให้โรงงานดังกล่าวคัดแยกและรีไซเคิลขยะในประเทศให้มากที่สุดแต่ข้อเท็จจริงกลายเป็นโรงงานของต่างชาติที่ซื้อขยะจากต่างประเทศมารีไซเคิล

3.ประเทศไทยไม่มีมาตรการหรือกฎหมายบังคับให้ประชาชนแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ทำเพียงแค่การรณรงค์สร้างจิตสำนึกเท่านั้น จึงไม่เกิดการแยกขยะที่ครัวเรือนเท่าที่ควร ขยะพลาสติกจึงถูกทิ้งปะปนไปกับสิ่งสกปรกต่างๆทำให้ขยะพลาสติกดังกล่าวไม่เป็นที่ต้องการของโรงงานรีไซเคิลเนื่องจากต้องไปสร้างโรงคัดแยก บดย่อยและทำความสะอาดพลาสติกอีกซึ่งยุ่งยากและต้นทุนสูง

4.ประเทศไทยยังไม่ได้ออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ตาม พรบ.การส่งออกและการนำเข้ามาในราชอาณาจักรพ.ศ.2522 ที่ห้ามการนำเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศ ดังนั้นหากเป็นเศษพลาสติกที่สะอาดไม่ปนเปื้อนมีขนาดไม่เกิน 2.0 เซนติเมตรซึ่งเป็นเงื่อนไขการนำเข้า ก็สามารถนำเข้ามาเป็นวัตถุดิบผลิตสินค้าได้นอกจากนี้ยังพบว่ามีการลักลอบนำขยะเศษพลาสติกเข้าประเทศไทยผ่านทางท่าเรือแหลมฉบังจำนวนมากอีกด้วย

5.ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่าขึ้นถึงร้อยละ7.4 เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ตั้งแต่ต้นปี ทำให้โรงงานรีไซเคิลในประเทศนำเข้าเศษพลาสติกได้มากเมื่อเทียบกับเมื่อก่อน ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับเศษพลาสติกในประเทศของต่างประเทศจะราคาถูกกว่า สามารถนำมาผลิตสินค้าได้เลย

6.ดังนั้นรัฐบาลโดยกระทรวงทรัพยากรฯ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงสาธารณสุขต้องทำงานร่วมกัน หาเจ้าภาพและกำหนดนโยบายที่เป็นรูปธรรม จับต้องได้ ต่อไป

ก่อนหน้านี้ นายสนธิ ได้เขียนถึง นโยบายที่ขัดแย้งในเรื่องพลาสติก ที่ระบุว่า
1.ภาคเอกชนภาคีเครือข่าย43 แห่งให้ความร่วมมือกับภาครัฐด้วยความสมัครใจงดให้ถุงพลาสติกในห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ ตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2563 เป็นต้นไป คาดว่าจะลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (single-use plastic)ลงได้7.8แสนตันต่อปีจากปริมาณถุงพลาสติกที่เกิดขึ้นประมาณ 2 ล้านตันต่อปี

2 แต่หากจะให้การลดถุงพลาสติกเกิดผลที่กว้างมากขึ้นแบบในประเทศพัฒนาแล้วก็ต้องออกกฏหมายเก็บค่าธรรมเนียมถุงพลาสติกหรือเก็บเงินค่าถุงพลาสติกในทุกร้านค้าทั่วประเทศ โดยอาจให้เป็นถุงพลาสติกที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติหรือเป็นถุงพลาสติกมีความหนาใช้ได้หลายครั้ง การคิดเงินค่าถุงพลาสติกเพียงเล็กน้อยจะเปลี่ยนพฤติกรรมและลดปริมาณการใช้ถุงได้จำนวนมาก เพราะผู้ซื้อสินค้าที่เคยได้รับถุงฟรีๆหากไม่ต้องการจ่ายเงินค่าถุงก็ต้องนำถุงเก่ามาใช้ซ้ำหรือเตรียมถุงผ้าสำหรับใส่สินค้ามาด้วย

3.ปี2561-2562 ประเทศไทยนำเข้าขยะพลาสติกจากต่างประ เทศมากถึง 481,381 ตันสูงเป็นอันดับ3ในอาเซียน(กรีนพีช) และกำหนดให้มีปริมาณนำเข้าในปีต่อไปปีละ70,000 ตันเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าพลาสติกราคาถูก ถ้าใครซื้อของใช้พลาสติกตามร้าน 20 บาท ทั้งหมดจะมาจากพลาสติกรีไซเคิล แต่ที่ยิ่งกว่านั้นปัจจุบันสินค้าพลาสติกคุณภาพต่ำราคาถูกถูกนำเข้าจากประเทศจีน เป็นจำนวนมากนำมาขายและกลายมาเป็นขยะท่วมประเทศไทยอยู่ทุกวันนี้ คำถามว่าทำไมไม่ใช้ขยะพลาสติกในประเทศไทยมารีไซเคิลแทนการนำเข้า

ข้อเท็จจริงก็คือขยะพลาสติกในประเทศไทยมีจำนวนมากจริงแต่เป็นขยะที่ไม่ได้ถูกคัดแยกอย่างมีประสิทธิ ภาพทั้งจากประชาชนและรัฐบาล จึงมีการปนเปื้อนสูงดังนั้นโรงงานอุตสาหกรรมจึงซื้อขยะพลาสติกจากต่างประเทศ(โดยเป็นไปตามเงื่อนไขการนำเข้าของรัฐบาลคือเศษพลาสติกต้องสะอาดไม่ปนเปื้อนมีขนาดไม่เกิน2.0เซนติเมตร) นำมารีไซเคิลและผลิตสินค้าพลาสติกราคาถูกขาย ซึ่งจะมีต้นทุนถูกกว่าการนำขยะพลาสติกในประเทศไทยมาคัดแยกและนำมารีไซเคิลผลิตเป็นสินค้าใหม่ ทำให้ขยะพลาส ติกในประเทศตกค้างจำนวนมากและถูกกองทิ้งไว้ในหลุมขยะเทศบาลและไหลลงทะเลในที่สุด

4.โรงงานคัดแยกและรีไซเคิล(โรงงานประเภท105และ106) ในประเทศไทยตั้งขึ้นได้ง่ายเนื่องจากมีประกาศคสช.ที่ 4/2559กำหนดให้ตั้งที่ใดก็ได้ไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายผังเมืองทำให้จังหวัดสมุทรสาครมีโรงงานรีไซเคิลถึง 6,000 แห่งและมากกว่า3,000แห่งในจังหวัดสมุทรปราการและจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นต้น

5.รัฐบาลกำลังรณรงค์ให้คนไทยเสียสละลดการใช้ถุงพลาสติกกันอย่างกว้างขวาง แต่อีกด้านเรากลับยินยอมให้นำเข้าขยะเศษพลาสติกจากต่างประเทศจำนวนมากมารีไซเคิล เป็นสินค้าพลาสติกราคาถูก คุณภาพต่ำมาขายในประเทศ ซึ่งสุดท้ายก็กลายเป็นขยะพลาสติกมหาศาลอยู่ในประเทศรวมทั้งยินยอมให้ต่างประเทศมาตั้งโรงงานรีไซเคิลพลาสติกในประเทศได้อย่างง่ายดาย มันจึงขัดแย้งกันทางนโยบาย และย้อนแย้งในทางปฏิบัติ

"วชิรวิทย์รายวัน" เห็นว่าเมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้แล้วกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงควรตระหนัก และเร่งพูดคุยกับกระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งเป็นกระทรวงที่สวนทางกับการรักษาสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง ให้มีความรับผิดชอบและดำเนินนโยบายในการลดใช้ถุงพลาสติกไปในทิศทางเดียวกัน ไม่เช่นนั้นแล้วการงดใช้ถุงพลาสติกที่เริ่มมาตั้งแต่ วันขึ้นปีใหม่ ก็แทบไม่มีความหมายอะไร

#วชิรวิทย์ #วชิรวิทย์รายวัน #Vajiravit #VajiravitDaily #Nation #NationTV22

logoline