svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ภาครัฐ-เอสซีจี เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

30 ธันวาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จากความต้องการใช้ทรัพยากรที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้หลายภาคส่วนหันมาหาทางออกที่ยั่งยืน เพื่อใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้คุ้มค่าสูงสุด หลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) หรือการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าสูงสุดจึงถูกพูดถึงและนำมาปรับใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น ด้วยการปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจแบบดั้งเดิมจากการใช้ทรัพยากรแบบผลิต-ใช้-ทิ้ง (Take-Make-Dispose) เป็นผลิต-ใช้-วนกลับ (Make-Use-Return) "เอสซีจี" หนึ่งในองค์กรที่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงได้ส่งเสริมแนวคิด "ใช้ให้คุ้ม แยกให้เป็น ทิ้งให้ถูก" สู่การปฏิบัติจริง และผนึกกำลังกับพันธมิตร เพื่อต่อยอดและขยายแนวคิดนี้ไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม

เอสซีจีได้แปลงหลัก Circular Economy จากนโยบายไปสู่การปฏิบัติ โดยเริ่มจากโครงการ "บางซื่อโมเดล" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแนวปฏิบัติ "SCG Circular way" ที่มุ่งจัดการของเสียภายในสำนักงานใหญ่บางซื่อ เพื่อสร้างความตระหนักให้พนักงานเห็นคุณค่าของทรัพยากร เป็นต้นแบบที่ดีด้านบริหารจัดการของเสีย ปลูกฝังหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนให้กับพนักงานผ่านเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนสามารถทำได้ด้วยแนวคิด "ใช้ให้คุ้ม แยกให้เป็น ทิ้งให้ถูก" ตลอดจนส่งต่อแนวคิดการบริหารจัดการขยะสู่ชุมชนภายนอกด้วยการพัฒนาแอปพลิเคชัน "KoomKah" (คุ้มค่า) เพื่อช่วยบริหารจัดการรวบรวมและคัดแยกขยะจากชุมชน ทำให้ผู้รับขยะหรือธนาคารขยะทำงานได้สะดวกมากขึ้น

ภาครัฐ-เอสซีจี เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

หลังจากนั้น เอสซีจีได้ขยายผลโครงการนำร่องไปยังชุมชนขนาดเล็กที่หมู่บ้านรางพลับ จ.ราชบุรี ด้วยการเข้าไปพูดคุยกับชุมชนเพื่อสอบถามถึงปัญหาขยะ ก่อนแลกเปลี่ยนแนวทางที่จะเปลี่ยนขยะเป็นความมั่งคั่ง (จาก Waste สู่ Wealth) โดยมุ่งให้ชุมชนจัดการได้ด้วยตนเองและมีส่วนร่วมในโครงการ  

ภาครัฐ-เอสซีจี เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

ภาครัฐ-เอสซีจี เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน


ภาครัฐ-เอสซีจี เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน


ชุมชนนี้แสดงให้เห็นความตั้งใจและมีความเป็นผู้นำที่จะจัดการขยะ จึงเริ่มโครงการด้วยการจัดหากลุ่มผู้นำในชุมชนก่อน และเมื่อชุมชนวางกฎระเบียบของตัวเองร่วมกันจึงได้เริ่มแยกขยะ ทำให้พบว่า ขยะอินทรีย์หรือขยะอาหารเป็นส่วนที่กำจัดยากที่สุด เอสซีจีจึงเข้าไปช่วยให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะอินทรีย์ (Organic Waste) ด้วยการใช้อุปกรณ์ง่ายๆ ที่ชุมชนสามารถนำหญ้าหรือขยะอินทรีย์มาใส่แล้วนำไปทำปุ๋ย การริเริ่มเหล่านี้ทำให้ขยะอาหารกลายเป็นอาหารสัตว์หรือปุ๋ยที่ใช้ในชุมชน ส่วนที่เหลือก็ขายให้ชุมชนข้างเคียง นอกจากนี้ ชุมชนยังได้ริเริ่มพัฒนาและสร้างมูลค่าของเสียให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ ทำให้ได้รับการขนานนามว่าเป็น " Zero Waste to Landfill Community" 

ภาครัฐ-เอสซีจี เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

สำหรับโครงการนำร่องที่ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เอสซีจีได้ร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) พัฒนา "ทุ่นกักขยะลอยน้ำ" (SCG DMCR Litter Trap) โดยออกแบบทุ่นลอยน้ำให้มีกลไกฝาเปิด-ปิด ที่ช่วยกักเก็บขยะได้สูงสุด 700 กิโลกรัมต่อตัว นำร่องติดตั้ง 24 จุด ใน 13 จังหวัด และพัฒนา "ต้นแบบหุ่นยนต์เก็บขยะลอยน้ำ 4.0" (SCG Smart Litter Trap 4.0) โดยมีการนำระบบ ML (Machine Learning) และ IoT (Internet of Things) มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บขยะในแม่น้ำโดยระบบอัตโนมัติ มีระบบเพื่อช่วยบำบัดน้ำ ประหยัดพลังงานด้วยการใช้แรงขับเคลื่อนพลังงานแสงอาทิตย์ เก็บขยะได้สูงสุด 5 กิโลกรัมต่อหนึ่งรอบการเก็บ

ภาครัฐ-เอสซีจี เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

นอกจากนี้ ยังร่วมกับกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และกลุ่มประมงพื้นบ้าน จัดทำโครงการ "บ้านปลาเอสซีจี" ตั้งแต่ปี 2555 เพื่อเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนและวัยเจริญพันธุ์ใต้ท้องทะเล โดยใช้เศษท่อที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกพอลิเอทิลีนเกรดพิเศษ หรือ PE 100 จากกระบวนการทดสอบขึ้นรูปมาใช้สร้างบ้านปลา ถึงปัจจุบันวางบ้านปลาเอสซีจีไปแล้วจำนวน 2,090 หลัง ครอบคลุมทุกจังหวัดในภาคตะวันออก และในภาคใต้ที่ จ.ระนอง คิดเป็น 41 กลุ่มประมงพื้นบ้าน เกิดพื้นที่อนุรักษ์ทางทะเลกว่า 47 ตารางกิโลเมตร เกิดความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลกว่า 172 ชนิด และสร้างเครือข่ายจิตอาสากว่า 22,480 คน ทั่วประเทศ รวมถึงการออกแบบ "ปะการังเทียม" โดยนำเทคโนโลยีการพิมพ์ขึ้นรูปปูนซีเมนต์ 3 มิติในการก่อสร้างที่อยู่อาศัยมาประยุกต์ออกแบบโดยจำลองกลไกของปะการังตามธรรมชาติ โดยใช้วัสดุหินปูนธรรมชาติร่วมกับวัสดุรีไซเคิล อย่างเศษคอนกรีตจากการทุบ รื้อ อาคารสิ่งก่อสร้าง 
พร้อมกันนี้ เอสซีจีได้นำเสนออีกนวัตกรรม "ถนนพลาสติกรีไซเคิล" (Recycled Plastic Road) ซึ่งเกิดจากความร่วมมือกับพันธมิตรทางธุรกิจอย่าง กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย โดยนำพลาสติกใช้แล้วมาบดย่อยให้มีขนาดเล็ก ผสมกับยางมะตอยเพื่อใช้ปูถนน นอกจากจะเพิ่มคุณค่าให้แก่ขยะพลาสติก แล้วยังเพิ่มประสิทธิภาพให้กับถนนยางมะตอย มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 33 ส่วนการบริหารจัดการขยะจากเศษคอนกรีต เอสซีจี ร่วมกับ บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) ในโครงการ "ถนนคอนกรีตรีไซเคิล" (Recycled Concrete Aggregates For Road) นำเศษคอนกรีตรีไซเคิล 100% เช่น ก้อนปูน แผ่นพื้น หัวเสาเข็ม มาใช้ทดแทนวัสดุธรรมชาติ เพื่อเทเป็นถนนคอนกรีตในโครงการ สามารถสร้างมูลค่าให้กับขยะในแต่ละโครงการถึง 7 ล้านบาท ลดการใช้หิน ทราย ได้ถึง 100 ตัน สำหรับพื้นที่ 150 ตร.ม. และลดการทิ้งวัสดุจนเกิดมลภาวะนอกจากนั้น นวัตกรรม "Green Meeting" หรือการจัดประชุมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยังเป็นอีกหนึ่งแนวคิดที่เอสซีจีแปลงไปสู่การปฏิบัติด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์จากกระดาษรีไซเคิลในการจัดประชุมผู้นำอาเซียน เช่น นิทรรศการจากกระดาษรีไซเคิล ฉากหลังสำหรับถ่ายภาพ เก้าอี้กระดาษ แท่นบรรยาย กล่องกระดาษสำหรับรับคืนป้ายชื่อคล้องคอ สมุดโน้ตจากกระดาษรีไซเคิล 100% บรรจุภัณฑ์อาหาร Fest หลอดกระดาษ ขวดน้ำพับได้ Fill Fest และถังขยะแยกประเภท รวมถึงกระเป๋าถุงปูน และตะกร้าสานจากเส้นเทปกระดาษที่นำวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตของเอสซีจีมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งล้วนมาจากความมุ่งมั่นของเอสซีจีที่ต้องการใช้ทรัพยากรใหม่ให้น้อยที่สุด และใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด โดยใช้นวัตกรรมการผลิตให้สามารถนำกระดาษที่ใช้แล้วกลับมาใช้ซ้ำ และเพิ่มสัดส่วนการใช้วัตถุดิบรีไซเคิลที่สูงขึ้น แต่ยังคงคุณภาพของกระดาษให้แข็งแรง เพื่อให้สามารถนำไปผลิตเป็นสินค้ารูปแบบต่างๆ ได้

ภาครัฐ-เอสซีจี เดินหน้าพัฒนานวัตกรรมจัดการขยะตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

เอสซีจี เชื่อว่า ความร่วมมือกันตั้งแต่การสร้างความรู้-ความเข้าใจของผู้บริโภค ตลอดจนความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดการขยะของประเทศ และเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่อการรีไซเคิลขยะให้มีมูลค่าเพิ่ม คือปัจจัยแห่งความสำเร็จที่จะช่วยผลักดันให้เรื่องการบริหารจัดการขยะ (Waste Management) ในประเทศไทยเกิดขึ้นได้จริง เพื่อเป็นอีกหนึ่งแรงที่ช่วยขับเคลื่อนอาเซียนให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของโลก (Sustainable Development Goals : SDGs) ต่อไป

logoline