svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

รวมทุกคำตอบเเละการเเก้ "อาการข้อเท้าพลิก"

15 ธันวาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

อาการบาดเจ็บของเส้นเอ็นรอบข้อเท้า หรือที่เรียกว่าอาการข้อเท้าพลิก ซึ่งพบได้บ่อยในระหว่างวิ่ง เล่นกีฬา หรือใช้ชีวิตประจำวันทั่วไป ส่วนใหญ่จะเป็นอุบัติที่เกิดขึ้นระหว่างการเล่นกีฬา ที่มีการเคลื่อนไหวเร็ว หรือเปลี่ยนทิศทางบ่อย เช่น การเล่นบาสเกตบอล หรือวิ่งเทรล บนพื้นผิวที่ไม่สม่ำเสมอ

จากเพจ May Clinic คลินิกนักวิ่งโดยหมอเมย์ หมอเมย์เป็นผู้ให้ความรู้มากมายเกี่ยวกับการออกกำลังกายเเละการฟื้นฟูร่างกายอย่างถูกวิธี เเละวันนี้เราได้นำเรื่อง รวมทุกคำตอบเเละการเเก้ "อาการข้อเท้าพลิก"

รวมทุกคำตอบเเละการเเก้ "อาการข้อเท้าพลิก"

โดยคุณหมอได็โพสต์เกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า........
ซึ่งอาการที่พบได้บ่อยคือการบาดเจ็บของเอ็นข้อเท้าด้านนอก ซึ่งสามารถสังเกตความรุนแรงของอาการได้ง่ายๆด้วยตัวเอง ดังนี้ค่ะ
เกรด 1 มีการยืดของเอ็นข้อเท้าด้านนอก แต่ไม่มีการฉีกขาด จะมีอาการปวด บวมที่ข้อเท้า มีจุดกดเจ็บบริเวณเส้นเอ็น
เกรด 2 เอ็นข้อเท้าด้านนอกมีการฉีกขาดบางส่วน จะมีอาการปวดมาก ขยับข้อเท้าได้น้อย ยังสามารถเดินลงน้ำหนักได้บ้างแต่จะปวดมาก มีอาการบวมที่ข้อเท้า และมีจุดกดเจ็บที่เส้นเอ็น
เกรด 3 เอ็นข้อเท้าฉีกขาดทั้งหมด จะมีอาการปวด และบวมมาก จำเลือดสีม่วง ไม่สามารถเดินลงน้ำหนักได้
เมื่อเกิดการบาดเจ็บขึ้นแล้ว เราสามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นก่อนได้ค่ะ โดยใช้หลักการ P.O.L.I.C.E.
Protection พักการใช้งานทันทีหลังมีการบาดเจ็บ
Optimal Loading ถ้าปวดมากให้เลี่ยงการลงน้ำหนักไปก่อน โดยใช้เครื่องช่วยเดิน เช่น ไม้คำยัน เพื่อลดการลงน้ำหนักที่ข้อเท้า แล้วลงน้ำหนักบนไม้ค้ำแทน ให้เอ็นข้อเท้าได้พักรักษาตัวเอง เมื่ออาการปวดลดลง ให้ขยับข้อเท้าขึ้นลง และหมุน ในองศาที่ไม่เจ็บ ในส่วนการออกกำลังกายอื่นๆ เพื่อฝึกการรับรู้ของข้อต่อ การเริ่มลงน้ำหนัก การทรงตัว ควรปรึกษาแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดก่อนนะคะ
Ice ประคบน้ำแข็ง เพื่อลดอาการอักเสบ ลดบวม 15-20 นาที ทุกๆ 2 ชั่วโมง
Compression ใช้ผ้ายืดพันรอบข้อเท้า เพื่อลดการบวม
Elevation ยกขาให้สูงกว่าระดับหัวใจ ในท่านอนหรือนั่ง ใช้หมอนรองขาสูงขึ้น ทำให้เลือดไหลกลับหัวใจมากขึ้น เพื่อลดการบวม
โดยทั่วไป การบาดเจ็บของเส้นเอ็นจะใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัวที่ 6 สัปดาห์ ถ้าเป็นการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อจะใช้เวลาฟื้นตัวประมาณ 3 สัปดาห์ ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินอย่างละเอียดอีกทีค่ะ
ส่วนใหญ่ 80% ของการบาดเจ็บกล้ามเนื้อในระยะเฉียบพลัน (acute musculoskeletal injury) จะฟื้นฟูได้เองเกือบสมบูรณ์ ภายใน 3 สัปดาห์ แต่ในกลุ่ม 20% ที่เหลือ จะเข้าสู่ระยะบาดเจ็บเรื้อรัง(chronic musculoskeletal injury) แสดงว่ามีอาการอักเสบของเอ็นกล้ามเนื้อ(tendinitis) และกล้ามเนื้อ(myofascial pain) ร่วมด้วย จะต้องได้รับการรักษาเพิ่มเติมค่ะ
หลังอาการบาดเจ็บดีขึ้นแล้ว สิ่งที่เราต้องทำต่อคือการฟื้นฟูค่ะ เพื่อนๆบางคนที่ข้อเท้าพลิกบ่อย แต่ไม่ค่อยเจ็บ เป็นซ้ำเรื่อยๆ แสดงว่าการรับรู้ข้อต่อของข้อเท้าไม่ดี เอ็นรอบข้อเท้ายืดจนหลวม จะต้องฝึกการทรงตัว การรับรู้ข้อต่อของข้อเท้าเพิ่มค่ะ เพื่อลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บซ้ำ

logoline