svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

โพลความคิดเห็น ปชช. ปัญหาสภาล่ม

15 ธันวาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น "นิด้าโพล" สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง "ปัญหาสภาล่ม" ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 9 และ 11 - 12 ธันวาคม 2562

จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,260 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับการประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่ล่มบ่อยครั้ง การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นจากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ "นิด้าโพล" สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95.0
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อการประชุมสภาผู้แทนราษฎรที่ล่มบ่อยครั้งเพราะไม่ครบองค์ประชุม พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 54.13 ระบุว่า สภาล่มบ่อยจะทำให้ประชาชนเบื่อและเกิดความเสื่อมศรัทธา รองลงมา ร้อยละ 33.02 ระบุว่า ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน เล่นเกมการเมืองมากเกินไป ร้อยละ 23.49 ระบุว่า เป็นเรื่องธรรมดาทางการเมือง ซึ่งเกิดขึ้นทุกสมัยอยู่แล้ว ร้อยละ 19.92 ระบุว่า ส.ส. ไม่ค่อยเข้าประชุม ทำงานไม่คุ้มกับเงินเดือน ร้อยละ 7.86 ระบุว่า ประธานวิปพรรคร่วมรัฐบาลไม่มีประสิทธิภาพ ร้อยละ 5.95 ระบุว่า ปัญหาเกิดจากฝ่ายรัฐบาลมีเสียงในสภามากกว่าฝ่ายค้านเพียงนิดเดียว ร้อยละ 4.76 ระบุว่า เป็นความผิดของ ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลที่โดดประชุมสภา และร้อยละ 3.10 ระบุว่า เป็นความผิดของ ส.ส. ฝ่ายค้านที่สนใจแต่จะเล่นการเมือง
ท้ายที่สุด เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนต่อแนวทางการแก้ไขปัญหาสภาล่ม พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 45.08 ระบุว่า สภาล่มบ่อย ๆ ก็ยุบสภาเลือกตั้งใหม่ไปเลย รองลงมา ร้อยละ 23.25 ระบุว่า ใครไม่อยากประชุมสภาก็ให้ลาออกไป ร้อยละ 20.08 ระบุว่า ควรมีการประกาศชื่อ ส.ส. ที่ไม่เข้าประชุมสภา ร้อยละ 14.76 ระบุว่า ปัญหานี้ไม่ต้องแก้ เพราะเป็นเรื่องธรรมดาทางการเมือง ซึ่งเกิดขึ้นทุกสมัยอยู่แล้ว ร้อยละ 9.13 ระบุว่า นายกรัฐมนตรีควรรับผิดชอบหากสภาล่มเกิดจาก ส.ส. ฝ่ายรัฐบาลไม่เข้าประชุมสภา ร้อยละ 5.71 ระบุว่า ควรเปลี่ยนประธานวิปพรรคร่วมรัฐบาล ร้อยละ 4.05 ระบุว่า ผู้นำฝ่ายค้านควรรับผิดชอบหากสภาล่มเกิดจาก ส.ส. ฝ่ายค้านไม่เข้าประชุมสภา ร้อยละ 2.38 ระบุว่า ปัญหานี้ แก้ไม่ได้ เพราะ เป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยาก เกิดขึ้นทุกยุคทุกสมัย ขณะที่บางส่วนระบุว่า ส.ส. แต่ละท่านไม่ได้ทำหน้าที่ของตนเองอย่างเต็มความสามารถ เห็นแก่ตัว เอาประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก ร้อยละ 1.90 ระบุว่า ฝ่ายรัฐบาลต้องหาทางเพิ่ม ส.ส. งูเห่า (ส.ส. ฝ่ายค้านที่หันไปสนับสนุนรัฐบาล) ร้อยละ 0.48 ระบุว่า อื่น ๆ ได้แก่ ควรมีกฎ ระเบียบ ที่ชัดเจนและเด็ดขาดสำหรับบุคคล (ส.ส.) ที่ไม่เข้าร่วมประชุม และร้อยละ 0.08 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่างร้อยละ 8.81 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 25.71 มีภูมิลำเนาอยู่ปริมณฑลและภาคกลาง ร้อยละ 18.50 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.49 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 13.49 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ ตัวอย่างร้อยละ 48.49 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.51 เป็นเพศหญิง
ตัวอย่างร้อยละ 6.59 มีอายุ 18 25 ปี ร้อยละ 13.97 มีอายุ 26 35 ปี ร้อยละ 20.87 มีอายุ 36 45 ปี ร้อยละ 36.90 มีอายุ 46 59 ปี และร้อยละ 21.67 มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่างร้อยละ 95.08 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.34 นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 0.79 นับถือศาสนาคริสต์ และอื่น ๆ และร้อยละ 0.79 ไม่ระบุศาสนา ตัวอย่างร้อยละ 20.24 สถานภาพโสด ร้อยละ 75.32 สมรสแล้ว ร้อยละ 3.65 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ และร้อยละ 0.79 ไม่ระบุสถานภาพการสมรส
ตัวอย่างร้อยละ 31.11 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 31.35 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.10 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 23.41 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ร้อยละ 4.92 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 1.11 ไม่ระบุการศึกษา
ตัวอย่างร้อยละ 9.60 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 14.21 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 23.02 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 16.51 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.63 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 18.17 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน ร้อยละ 1.67 เป็นนักเรียน/นักศึกษา และร้อยละ 1.19 ไม่ระบุอาชีพ
ตัวอย่างร้อยละ 17.14 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 27.70 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 25.08 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001 20,000 บาท ร้อยละ 10.79 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001 30,000 บาท ร้อยละ 5.64 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 40,000 บาท ร้อยละ 7.30 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 6.35 ไม่ระบุรายได้

โพลความคิดเห็น ปชช. ปัญหาสภาล่ม

logoline