svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เทียบเคสชาวบ้าน​ VS ปารีณา​ "รุกป่า", เพราะชาวบ้านไม่ยอมคืนที่โดยดี​ จึงติดคุก?

13 ธันวาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรณีคืนที่แล้วจบ ไม่ได้มีเพียง น.ส.ปารีณา เท่านั้นแต่กรณีวัดป่าหลวงตาบัว หรือ วัดเสือ ในช่วงที่มีการยึดเสือคืนแล้วมีการตรวจสอบพื้นที่ต่างๆ ก็พบว่าอยู่ในพื้นที่ส.ป.ก.ด้วย หลังจากที่วัดยอมคืนแต่โดยดี ก็ไม่มีการเอาผิด

กลายเป็นกรณีเปรียบเทียบขึ้นมาทันที สำหรับคดี น.ส.ปารีณา ส.ส.ราชบุรี พรรคพลังประชารัฐ ครองพื้นที่ 682 ไร่ ในเขตปฏิรูปที่ดินจ.ราชบุรี โดยหลังจากที่ กรมป่าไม้ดำเนินคดี ในข้อหาบุกรุกป่าสงวน และ พ.ร.บ.ป่าไม้ 2484 ไปแล้ว 46 ไร่ พื้นที่ที่เหลืออยู่ที่อยู่ในการดูแลอยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินดังกล่าว ยังไร้เจ้าภาพดำเนินคดีเอาผิด

เป็นที่แน่ชัดแล้วว่าการคืนที่ดิน ที่อยู่ในเขตปฏิรูปที่ดินจำนวน 682 ไร่ หลังครบกำหนด 7 วัน น.ส.ปารีณา จะไม่มีความผิดใดๆ ตามกฎหมาย เพราะหากไม่มีการขัดขืน นี่จึงเป็นที่มาของประโยคสุดฮิตในเวลานี้ที่ว่า "คืนที่ก็จบ"

แต่ถ้าคืนที่แล้วไม่จบ จะต้องใช้กฎหมายตัวไหน พ.ร.บป่าไม้พ.ศ. 2484 อาจเป็นคำตอบ เมื่อดูรายละเอียดว่า ก่อนจะประกาศเขตปฏิรูปที่ดิน ในปี 2554ก่อนหน้านั้นพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่แบบไหนใครครอบครอง ซึ่งสืบสาวราวเรื่องได้ว่า น.ส.ปารีณา ได้ที่ดินผืนนี้มาจากพ่อคือ นายทวี เมื่อปี 2548ก่อนที่จะมีการประกาศพื้นที่ปฏิรูปที่ดิน

ห้วงระยะเวลานี้เอง เป็นที่มาที่ทำให้ 2 หน่วยงาน เกี่ยงกันว่าใครจะเป็นเจ้าภาพดำเนินคดี บนที่ดินอีกที่เหลืออีก 682 ไร่ ท่ามกลางการจับตาของผู้คนในสังคมว่า น.ส.ปารีณา จะถูกดำเนินคดีบนบรรทัดฐานเดียวกันกับชาวบ้านคนอื่นหรือไม่

เลขาธิการ ส.ป.ก. ตอบชัดว่า หน่วยงานตนไม่มีอำนาจในการดำเนินคดีกับ น.ส.ปารีณา เพราะทำหน้าที่ตามพระราชบัญญัติปฏิรูปที่ดิน ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดสรรที่ดิน ซึ่งหากพบการบุกรุก แล้วไม่คืนที่จึงจะมีสิทธิ์ในการดำเนินคดี หากคืนที่แล้วหน่วยงานจะเอาผิดก็คงจะเป็นกรมป่าไม้ ที่จะร้องทุกข์กล่าวโทษได้ เพราะว่าตนได้รับที่ดินมาจากกรมป่าไม้ เฉพาะเพื่อการจัดสรรไม่ได้รับโอนคดีมาด้วย

ขณะที่ทางฝั่งของกรมป่าไม้ ก็บอกว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ของใครก็ต้องเป็นผู้ดำเนินคดี และส.ป.ก.เองก็มีสิทธิ์ที่จะใช้อำนาจตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ในการดำเนินคดี กับผู้ที่กระทำความผิดได้ โดยยกตัวอย่างเช่นแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นพื้นที่ที่ไม่มีการจับจอง ซึ่งโดยหลักการแล้วก็เข้าข่ายเป็นพื้นที่ป่าตามพ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 แต่เมื่อมีการรุกล้ำลำน้ำเกิดขึ้น คนที่จะดำเนินคดีก็คือกรมเจ้าท่า เจ้าของพื้นที่ นั่นเอง

เมื่อยังโยนกันไปโยนกัน ส.ป.ก.ก็ปฏิเสธที่จะดำเนินคดีกับ น.ส.ปารีณาโดยอ้างว่าไม่มีอำนาจหน้าที่ตามพ.ร.บ.ปฏิรูปที่ดิน ในขณะที่กรมป่าไม้ บอกว่าพื้นที่ 682 ไร่ไม่ใช่พื้นที่ในการดูแลของตน ไม่มีเขตอำนาจในการดำเนินคดีเช่นเดียวกัน เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว จึงมีการส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความว่า ใครจะสามารถดำเนินคดีได้บ้าง?

กรณีคืนที่แล้วจบ ไม่ได้มีเพียง น.ส.ปารีณา เท่านั้นแต่กรณีวัดป่าหลวงตาบัว หรือ วัดเสือ ในช่วงที่มีการยึดเสือคืนแล้วมีการตรวจสอบพื้นที่ต่างๆ ก็พบว่าอยู่ในพื้นที่ส.ป.ก.ด้วย หลังจากที่วัดยอมคืนแต่โดยดี ก็ไม่มีการเอาผิด

แต่อีกกรณีหนึ่งชาวบ้าน 3 คน ในอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ครอบครอง ที่ดินส.ป.ก.ที่ยังไม่ได้รับการจัดสรร เช่นเดียวกับ น.ส.ปารีณา

ผู้ยื่นคำฟ้อง คือ ตำรวจ ตั้งข้อกล่าวหา ส่งสำนวนให้อัยการสั่งฟ้อง มีความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 (1) 108 ทวิ และกฎหมายอาญามาตรา 83, 362 (บุกรุก) และ 365 (ลงรายละเอียดของการบุกรุก) แต่ไม่ได้เขียนถึงความผิดตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ป่าไม้ พ.ศ. 2484 เพราะพนักงานสอบสวนไม่ได้ตั้งข้อกล่าวหาในประเด็นนี้

แต่ในกรณีนี้ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ว่า ชาวบ้านทั้ง 3 คนได้รับโอกาส ให้คืนที่ภายใน 7 วันเหมือน น.ส.ปารีณา หรือไม่ แล้วชาวบ้านขัดขืนไม่ยอมคืนที่หรือไม่ ซึ่งตรงนี้ถ้า "วชิรวิทย์รายวัน" มีโอกาสลงพื้นที่ไปพูดคุย ก็จะนำมาบอกเล่าเก้าสิบกันต่อไป

#วชิรวิทย์ #วชิรวิทย์รายวัน #Vajiravit #VajiravitDaily #Nation #NationTV22

logoline