svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

คณะพูดคุยสันติสุขฯ ประสานมาเลย์ ขอคุยบีอาร์เอ็น

29 พฤศจิกายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เปิดตัวคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ อย่างเป็นทางการ ประสานมาเลเซียอยากคุยกับบีอาร์เอ็น พร้อมยืนยันไม่ใช้วิธีกดดันทางทหารบังคับให้ออกมาคุย

คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ นำโดย พลเอก วัลลภ รักเสนาะ หัวหน้าคณะฯ / นายฉัตรชัย บางชวด รองเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ / นายธนากร บัวรัษฎ์ รองผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และ พลตรีเกรียงไกร ศรีรักษ์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 ร่วมกันแถลงข่าวแนะนำตัวอย่างเป็นทางการ และแลกเปลี่ยนความเห็นกับประชาคมต่างประเทศและสื่อมวลชน ในหัวข้อ "สนทนากับคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ : ความท้าทายและความคาดหวังต่อสันติภาพชายแดนใต้"โดย พลเอก วัลลภ ยืนยันเจตนารมณ์ของรัฐบาลไทยที่มุ่งมั่นและจริงจังต่อการขับเคลื่อนกระบวนการพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นวาระแห่งชาติ โดยเป็นเครื่องมือสำคัญในการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้งโดยสันติวิธีตามยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ พ.ศ. 2562-2565 ซึ่งให้รัฐต้องส่งเสริมความต่อเนื่องของกระบวนการพูดคุยและมีหลักประกันความต่อเนื่อง และความเชื่อมั่นของทุกกลุ่มในการเข้ามามีส่วนร่วม

คณะพูดคุยสันติสุขฯ ประสานมาเลย์ ขอคุยบีอาร์เอ็น

นอกจากนี้รัฐบาลไทยมุ่งมั่นและจริงใจที่จะแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยพร้อมพิจารณาตอบสนองอย่างเหมาะสมต่อข้อเสนอของกลุ่มผู้เห็นต่าง เพื่อให้มาร่วมกันสร้างสันติสุขที่ยั่งยืน และจากนี้จะสานต่อภารกิจของทีมพูดคุยชุดที่แล้ว ซึ่งได้วางรากฐานไว้ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา บนพื้นฐานของการให้เกียรติ ความจริงใจ และความสมัครใจทั้งนี้ คณะพูดคุยจะสามารถเป็นจุดเชื่อมสำคัญในการสร้างสันติสุข โดยจะประสานการทำงานใกล้ชิดกับทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้องทั้งกองทัพภาคที่ 4 กอ.รมน. ศอ.บต. ภาคประชาชน วิชาการ และประชาคมระหว่างประเทศ ที่สำคัญคณะพูดคุยฯ พร้อมทำงานกับสมาชิกรัฐสภา ทั้ง ส.ส. และ ส.ว. โดยเฉพาะ ส.ส. พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อการสร้างสันติสุข เพราะตระหนักว่ากระบวนการสันติสุขที่ครอบคลุม จำเป็นต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมและผลักดันของทุกฝ่าย ส่วนเรื่องที่ต้องปรับปรุงก็ยินดีดำเนินการอย่างไรก็ตาม คณะพูดคุยฯ ประสงค์ที่จะขับเคลื่อนภารกิจให้สัมฤทธิ์ผลและมีการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้นภายในปี 2563โดยจะสื่อสารพัฒนาการของกระบวนการพูดคุยฯ ให้สาธารณะชนทั้งในและนอกพื้นที่ได้รับทราบเป็นระยะ รวมทั้งโอกาสที่จะมีการดำเนินการสำคัญและเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมพลเอก วัลลภ ยังย้ำว่า ที่ผ่านมามีการพูดคุยตลอดในหลายช่องทาง ทั้งในและต่างประเทศ แต่ยังไม่มีประเด็นเรื่องของ autonomy หรือการปกครองตนเอง เรื่องการเป็นเอกราช และยังไม่ได้เจาะลึกถึงปัญหาต่างๆ อย่างลึกซึ้ง แต่ถ้าจากนี้ได้เริ่มพูดคุยก็คงต้องเป็นเรื่องง่ายไปหาเรื่องยาก เพราะถ้าสิ่งที่ง่ายทำได้ สิ่งที่ยากมันก็จะตามมา และนำไปสู่ข้อตกลงร่วมกันเมื่อถามว่า ที่ผ่านมาเป็นการพูดคุยกับกลุ่มมาราปาตานี เป็นไปได้หรือไม่ที่จะขอให้ทางมาเลเซีย ในฐานะผู้อำนวยความสะดวก เชิญกลุ่มบีอาร์เอ็นมาพูดคุย

คณะพูดคุยสันติสุขฯ ประสานมาเลย์ ขอคุยบีอาร์เอ็น

พลเอก วัลลภ บอกว่า ได้พยายามหากลุ่มที่มีอิทธิพลที่ก่อความความรุนแรงในพื้นที่ โดยประสานกับทางมาเลเซียไปแล้ว ซึ่งเขาก็ยินดีที่จะดำเนินการตามที่ร้องขอ แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าเป็นกลุ่มไหนบ้าง ต้องรอดูอีกครั้ง คาดว่าเร็วๆ นี้ ส่วนองค์กรต่างประเทศ ก็ได้มีการลงพื้นที่เช่นกัน มีการหาข้อมูลและข้อเสนอแนะส่งให้กับประเทศไทยอยู่แล้วสำหรับประเด็นการกดดันทางทหาร เพื่อให้กลุ่มขบวนการหลังชนฝา จนต้องมาพูดคุยนั้น ยืนยันว่า การพูดคุยต้องให้เกียรติจริงใจ และสมัครใจ ไม่มีการใช้วิธีอื่นกดดัน เพราะมันไม่เกิดประโยชน์ พร้อมมองว่าสันติภาพเกิดหลายวิธี แต่วิธีที่ดีที่สุดคือการพูดคุย เพราะนอกจากจะไม่ทำให้สูญเสียแล้ว ทั้ง 2 ฝ่ายยังได้ชัยชนะร่วมกัน นำไปสู่ความสันติสุขถาวรของพื้นที่ขณะที่ พลตรี เกรียงไกร ระบุว่า กอ.รมน. ภสค 4 มีหน้าที่ในการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชน ไม่ว่าจะไทยพุทธหรือมุสลิม เราต้องทำหน้าที่ตรงนี้อย่างเข้มแข็ง แต่อาจมีการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์จากเดิม และใช้วิธีเดินเท้าเข้าหาประชาชน จนเกิดใกล้ชิดและความไว้วางใจมากขึ้น ช่องว่างต่างๆก็ลดลง แต่ไม่ได้กดดันเพื่อให้มีการพูดคุยด้านนายธนากร กล่าวว่า หากส่งข้อความสั้นๆไปหากลุ่มบีอาร์เอ็น ได้ จะบอกว่า "อยากให้มาคุยกันเถอะครับ" เพราะการพูดถึงเงื่อนไขหรือการปฏิบัติต่างๆมันเป็นเรื่องที่ดี ที่จะทำให้คิดได้กว้างขึ้น แล้วเอาบทเรียนจากครั้งก่อนๆ มาศึกษาว่าทำไมถึงไม่ประสบความสำเร็จ

logoline