svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ทส. เผยผลการดำเนินงานอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมปี 2562

28 พฤศจิกายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เผยผลการดำเนินงานอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ปี2562เพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนใช้เป็นกรอบในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคร่วมกัน

การดำเนินงานของประเทศไทยภายใต้ประชาคมอาเซียน ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นส่วนหนึ่งที่ได้เข้าร่วมและได้มีผลการดำเนินงานที่สำคัญในช่วงที่ประเทศไทยดำรงตำแหน่งประธานอาเซียนในปี พ.ศ. 2562 และการดำเนินงานอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 โดยการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับรัฐมนตรีและระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนสมัยพิเศษด้านขยะทะเล (Special ASEAN Ministerial Meeting on Marine Debris) ซึ่งเป็นข้อริเริ่มสำคัญของประเทศไทยที่ได้แสดงบทบาทนำในการขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขปัญหาขยะทะเลทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค และระดับโลก ได้รับเอกสารผลลัพธ์ คือ ปฏิญญากรุงเทพฯ ว่าด้วย การต่อต้านขยะทะเลในภูมิภาคอาเซียน และ กรอบปฏิบัติการอาเซียนว่าด้วยขยะทะเล ที่ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้ให้การรับรองและรับทราบในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 34 เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2562 เพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนใช้เป็นกรอบแนวทางของอาเซียนในการแก้ไขปัญหาขยะทะเลในภูมิภาคร่วมกัน การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนสมัยพิเศษ เรื่องการป้องกันการลักลอบค้าสัตว์ป่าและพืชป่าผิดกฎหมาย (Special ASEAN Ministerial Meeting on Illegal Wildlife Trade) เพื่อเสริมสร้างบทบาท ของประเทศไทยในฐานะประเทศผู้ริเริ่มและผลักดันให้การค้าสัตว์ป่าและพืชป่าผิดกฎหมาย เป็นสาขาอาชญากรรมใหม่ในกรอบความร่วมมืออาเซียน ซึ่งที่ประชุมได้รับรองแถลงการณ์เชียงใหม่ 

ทส. เผยผลการดำเนินงานอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมปี 2562

รัฐมนตรีอาเซียนที่รับผิดชอบการดำเนินการตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์และการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับสัตว์ป่าและพืชป่าผิดกฎหมายที่ประเทศสมาชิกอาเซียนเห็นชอบเป็นกรอบแนวทางในการดำเนินการร่วมกันต่อไป การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 30 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประเทศไทยได้รับความเห็นชอบให้ทำหน้าที่ประธานคณะทำงานอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง ในระหว่างปี พ.ศ. 2562 - 2565 และอุทยานแห่งชาติของประเทศไทย จำนวน 2 แห่ง คือ อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม-เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะลิบง และ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง ได้รับการเสนอขึ้นทะเบียนเป็นอุทยานมรดกแห่งอาเซียน ลำดับที่ 45 และ 56 การขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลไทยในกรอบความร่วมมืออาเซียนสิ่งแวดล้อม 

โดยร่วมดำเนินการจัดทำระบบฐานข้อมูลทรัพยากรพันธุ์พืช (Baseline Data) รวบรวมข้อมูลพรรณไม้ในพื้นที่ Mainland ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะในประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เพื่อการอนุรักษ์และจัดการทรัพยากรพันธุ์พืชได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป และได้ดำเนินความร่วมมือระดับทวิภาคีในโครงการความร่วมมือระหว่างประเทศในการอนุรักษ์ป่าและสัตว์ป่าระหว่างประเทศไทยและราชอาณาจักรกัมพูชา ใน 3 พื้นที่ ได้แก่ พื้นที่กลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ พื้นที่ป่าพนมดงรัก-ผาแต้ม และพื้นที่กลุ่มป่าตะวันออก และ จัดทำแถลงการณ์การร่วมอาเซียนฯ จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ แถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการประชุม United Nations Climate Action Summit 2019 ที่นายกรัฐมนตรีได้นำเสนอ ต่อที่ประชุม UN Climate Action Summit 2019 เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2562 ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา และ ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนสำหรับการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 25 ที่ประเทศไทยในฐานะประธานอาเซียนจะได้นำไปกล่าวต่อการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 25 ต่อไป 

ทส. เผยผลการดำเนินงานอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมปี 2562

นอกจากนี้ ได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ASEAN-China Cooperation on Energy Transition and Climate-resilient Development เพื่อวางแผนพัฒนาสังคมคาร์บอนต่ำและขับเคลื่อนนโยบายการนำพลังงานทดแทนมาใช้ในภูมิภาค และส่งเสริมให้อาเซียนบรรลุตามข้อเสนอการมีส่วนร่วมที่ประเทศได้ให้สัตยาบันไว้ในเวทีระหว่างประเทศจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ Workshop on Risks and Impacts from Extreme Events of Drought in ASEAN Countries เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงและผลกระทบจากภัยแล้งและร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และแนวทางการปฏิบัติที่ดีด้านการบริหารจัดการภัยแล้ง สำหรับใช้เป็นแนวทางในการป้องกันภัยแล้งให้กับประเทศสมาชิกอาเซียน และดำเนินความร่วมมือในระดับทวิภาคีด้านการบริหารจัดการน้ำบาดาลกับประเทศสมาชิกอาเซียน การเข้าร่วมการประชุมตามข้อตกลงอาเซียนเรื่องมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน 3 รายการหลัก ได้แก่ การประชุมประเทศภาคีต่อข้อตกลงอาเซียน เรื่องมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน ครั้งที่ 14 การประชุมรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม 5 ประเทศ เรื่องมลพิษจากหมอกควันข้ามแดนในอนุภูมิภาคแม่โขง ครั้งที่ 8 และ การประชุมระดับรัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม 5 ประเทศ เรื่องมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน ครั้งที่ 21

ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมกันกำหนดนโยบายและติดตามสถานการณ์เพื่อแก้ไขปัญหาและลดผลกระทบจากหมอกควันข้ามแดนในอาเซียนอย่างยั่งยืน ภายใต้ข้อตกลงอาเซียนว่าด้วยเรื่องมลพิษหมอกควันข้ามแดน และโรดแมปอาเซียนปลอดหมอกควันข้ามแดน รวมถึงแผนปฏิบัติการเชียงราย 2017 ที่ริเริ่มโดยประเทศไทย โดยประเทศไทยเสนอให้ทุกประเทศดำเนินการตามโรดแมปฯ และแผนปฏิบัติการเชียงราย 2017 เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ ภูมิภาคอาเซียนปลอดหมอกควันภายในปี 2563 ร่วมกับสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสัมมนาโครงการ ASEAN-China Symposium on Ecologically Friendly Urban Development เพื่อส่งเสริมการดำเนินความร่วมมือด้านสิ่งแวดล้อมเมืองยั่งยืนและความหลากหลายทางชีวภาพ 

ทส. เผยผลการดำเนินงานอาเซียนด้านสิ่งแวดล้อมปี 2562

และแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์แนวทางการพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งผลจากการประชุมจะได้นำไปสนับสนุนการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ ครั้งที่ 15 และการประชุมสุดยอดด้านความหลากหลายทางชีวภาพระดับโลก ครั้งที่ 7 ที่จะจัดขึ้นในปี พ.ศ. 2563 ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ต่อไปจัดการประชุม ASEAN Plus Three Youth Environment Forum 2019 ภายใต้หัวข้อ "Clean up Our Sea, Clean Our Future" เพื่อสร้างความตระหนักรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของเยาวชนเกี่ยวกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมในภูมิภาคอาเซียน และแสดงบทบาทในการมีส่วนร่วมดูแลและรักษาสิ่งแวดล้อม

logoline