svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

คุณปู่วัยชราเลือกช่วงชีวิตสุดท้ายด้วยการปาร์ตี้กับครอบครัว

27 พฤศจิกายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เรื่องราวดีๆจากเพจดังที่ได้เล่าถึงคุณคุณปู่วัยชราเลือกช่วงชีวิตสุดท้ายด้วยการปาร์ตี้กับครอบครัว โดยมีขื่อว่า คุณปู่ นอร์เบิร์ต เชมม์ เป็นโรคมะเร็งลำไส้ระยะที่สี่แล้ว ลูกหลานแกก็เลยมารวมตัว ได้พูดคุยกัน และในช่วงเวลาสุดท้ายของคุณปู่

จากเพจเฟซบุ๊กชื่อดัง หมอเวร ได้โพสต์เรื่องราวของในรูปที่เห็นนี่คือ คุณปู่ นอร์เบิร์ต เชมม์ ชาวอเมริกัน เดิมทีแกเป็นคนแข็งแรงเชียวล่ะ จนกระทั่งวันหนึ่งต้องเข้าโรงพยาบาล เพราะเป็นโรคมะเร็งลำไส้ระยะที่สี่แล้ว ลูกหลานแกก็เลยมารวมตัว ได้พูดคุยกัน และในช่วงเวลาสุดท้ายของคุณปู่ แกขอดื่มเบียร์ร่วมกับลูกๆเพื่อเป็นการสั่งลา.....

คุณปู่วัยชราเลือกช่วงชีวิตสุดท้ายด้วยการปาร์ตี้กับครอบครัว

โดยโพสต์ว่า..........
เดิมทีแกเป็นคนแข็งแรงเชียวล่ะ จนกระทั่งวันหนึ่งต้องเข้าโรงพยาบาล เพราะเป็นโรคมะเร็งลำไส้ระยะที่สี่แล้ว ลูกหลานแกก็เลยมารวมตัว ได้พูดคุยกัน และในช่วงเวลาสุดท้ายของคุณปู่ แกขอดื่มเบียร์ร่วมกับลูกๆเพื่อเป็นการสั่งลา
คือถ้าเป็นบางบ้านเค้าก็คงห้ามกันใหญ่โตไปแล้วล่ะ คนป่วยขนาดนี้ยังจะมาจิบเบียร์ชิวๆได้ยังไง แต่ลูกๆ ของคุณปู่กลับไม่ขัดศรัทธาคุณพ่อ ก็เลยจัดกันไปหนึ่งยกบนเตียงกลางโรงพยาบาล ลูกชายของท่านถ่ายภาพนี้เอาไว้ก่อนท่านจะสิ้นลมหายใจในวันถัดไป ก็เลยเป็นที่มาของภาพอันแสนอบอุ่นนี้นี่เอง
ถ้าถามหมอว่าเรื่องแบบนี้มันสมควรมั้ย หมออยากตอบแบบนี้ว่าบางโรคเนี่ย ถ้าลงมือรักษาด้วยการผ่าตัดใหญ่หรือให้ยาชนิดรุนแรง บางครั้งก็อาจทำให้คนแก่ทรมานมากกว่าเดิมเหมือนกันนะ ยกตัวอย่างเช่นคนไข้สูงอายุเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก บางทีถ้าผ่าไปแล้วอาการแกอาจทรุดหนัก หรือแย่ลงกว่าเดิมไปอีก หมอเค้าก็อาจตัดสินใจไม่ผ่าให้ ซึ่งมันก็จะเสี่ยงที่จะทำให้แกเสียชีวิตทันทีได้เลย ซึ่งปัจจัยที่จะลงมือรักษาหรือไม่นั้นก็ต้องประเมินกันตามความแข็งแรงของคนไข้ด้วยหน่ะนะ
เช่นถ้าแก่มาก แต่ยังแข็งแรงและคาดว่าจะอยู่ไปได้อีกยาว ลูกหลานอยากให้รักษา แพทย์ก็ต้องทำหน้าที่รักษาไปให้ถึงที่สุด
แต่ถ้าแก่หง่อม มีโรคที่รุมเร้าแบบอาจจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้อีกไม่นาน แพทย์ก็อาจจะให้การรักษาแบบประคับประคอง หรือไม่ทำอะไรเลย เพราะคนไข้อาจเสียชีวิตก่อนมะเร็งจะลุกลามด้วยซ้ำ ยิ่งรักษาจะกลายเป็นว่าคนไข้ยิ่งทรมานเปล่าๆ ซึ่งอันนี้แพทย์ก็ต้องอธิบายให้ญาติเข้าใจแนวทางการรักษาด้วยหน่ะนะ
มีตัวอย่างอันนึงของอาจารย์ของอาจารย์หมอเวรเองแกเคยเล่าให้ฟังว่า ครั้งนึงมีคนไข้ที่ลูกพาพ่อวัยคุณปู่มาหาอาจารย์แกเป็นประจำเลย แล้วเค้าก็มากระซิบบอกอาจารย์ ให้ช่วยบอกพ่อแกว่าให้แกเลิกสูบบุหรี่ได้แล้ว เดี๋ยวจะตายไปเสียก่อน เพราะแกไม่เชื่อใครเลยนอกจากหมอคนเดียว


สิ่งที่อาจารย์หมอทำเป็นสิ่งที่สอนหมอเวรเรื่องแนวทางปฏิบัติกับคนไข้เสมอมาเลย อาจารย์แกทำไงรู้มั้ย ? แกถามลูกคนไข้กลับไปว่า
"ปีนี้อาแป๊ะแกอายุเท่าไรแล้ว"
ลูกแกตอบ "80 ครับ"
"คิดว่าแกจะอยู่ได้ถึง 5 ปีมั้ย ?"
ลูกชายแกคิดในใจอยู่พักนึง ก่อนจะตอบออกมา
"ไม่น่าจะถึงนะครับ"
อาจารย์เลยบอกว่า
"พิษบุหรี่เนี่ยมันใช้เวลากำจัดออกจากร่างกายราวๆ 10 ปี หมอว่าน่าจะให้แกมีความสุขกับสิ่งที่แกรักก่อนจากไปนะ...หรืออยากให้หมอลองพูดให้มั้ย"
ลูกคนไข้ได้ยิน แกก็เข้าใจในสิ่งที่อาจารย์บอก ก็เลยไม่ขอให้อาจารย์พูดอะไรต่อ
คือเรื่องการแจ้งข่าวร้าย หรือบอกอะไรกับคนไข้และญาติเนี่ย หมอเค้าเรียนกันมาแล้วทั้งนั้นแหละ ส่วนจะทำได้ดีแค่ไหนก็อยู่ที่ความถนัด และประสบการณ์ของแต่ละคน ว่าจะประณีประนอมถนอมน้ำใจหรือประคับประคองจิตใจได้ดีแค่ไหน อย่างวันนั้นถ้าลูกแกยังคะยั้นคะยอให้อาจารย์ช่วยบอก อาจารย์แกก็คงพูดตามสไตล์ประมาณว่า"ลูกอยากให้อาแป๊ะเลิกบุหรี่ เพราะเค้าอาแป๊ะมากนะ อยากให้แป๊ะอยู่กับลูกไปนานๆ" คือด้วยสไตล์อาจารย์ที่เป็นคนถนอมน้ำใจคนไข้อยู่แล้ว ท่านต้องพูดอะไรแบบนั้นแน่ๆหมอมั่นใจ

คุณปู่วัยชราเลือกช่วงชีวิตสุดท้ายด้วยการปาร์ตี้กับครอบครัว

แพทย์ทุกคนนั้นต้องตัดสินใจเลือกว่า Prolonged life or Prolonged dead ไม่ใช่จะยื้อให้อยู่ต่อให้ได้เพียงอย่างเดียว บางรายแพทย์ยื้อเอาไว้ได้ แต่คุณภาพชีวิตไม่เหลือแล้ว นอนเป็นผักเลย แต่ลูกหลานสั่งให้ทำ แพทย์เราก็ตัดสินใจแทนไม่ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องที่ญาติๆ หรือคนไข้ควรเข้าใจด้วย
ที่มาเพิ่มเติม

logoline