svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"เทศกาลศิลปะ" ปลุกลมหายใจชุมชนเมืองเก่า​ ยุค​ ร.5​  "ย่านสามแพร่ง" หลังก.กลาโหม

24 พฤศจิกายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ความรุ่งเรืองในอดีต เป็นสิ่งที่ไม่ควรโหยหา หันหลังกลับไปชื่นชมบ่อยนัก... เพื่อจะได้เดินหน้าในสิ่งแปลกใหม่ ทันสมัย อย่างไม่หยุดยั้ง แต่บนเส้นขนาดนี้ การต่อยอดต้นทุนจากดีตเพื่อเดินหน้าต่อ กลับมีความงดงาม ลึกซึ้ง และยั่งยืนกว่าด้วยซ้ำไป...

เทศกาลศิลปะชุมชน สามแพร่ง facetreet Love Forever ที่จัดขึ้นวัน เสาร์ที่ 23 และ อาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน 2562 ได้ปลุกลมหายใจของย่านการค้าเก่ายุคกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นมาให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง

"เทศกาลศิลปะ" ปลุกลมหายใจชุมชนเมืองเก่า​ ยุค​ ร.5​  "ย่านสามแพร่ง" หลังก.กลาโหม



ย้อนไปในสมัยรัชกาลที่ 5 ยังไม่มีย่านวัยรุ่นอย่าง "สยามพารากอน" บริเวณถนนบำรุงเมือง คือ แหล่งรวมสินค้าทันสมัยและสินค้านำเข้าจากต่างประเทศ ในขณะที่ "แพร่งภูธร" หลังกระทรวงกลาโหม ก็เต็มไปด้วยตลาดสดและร้านอาหาร ซึ่งเปิดขึ้นเพื่อรองรับบรรดาข้าราชการตามหน่วยงานต่างๆ ที่รายล้อมอยู่ในบริเวณนั้น

"เทศกาลศิลปะ" ปลุกลมหายใจชุมชนเมืองเก่า​ ยุค​ ร.5​  "ย่านสามแพร่ง" หลังก.กลาโหม



ต่อมาในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคที่เรียกว่า "ยุคเสื่อผืนหมอนใบ" ชาวจีนแคะก็ได้อพยพเข้ามาอาศัยในแพร่งภูธรมากขึ้น โดยพวกผู้ชายต่างพากันเปิดบ้านเป็นโรงงานตัดเย็บเสื้อโหล ฝ่ายภรรยาก็เปิดร้านขายอาหารจีนแคะ จนทำให้แพร่งภูธรกลายเป็นแหล่งรวมร้านอาหารอร่อยแห่งหนึ่งของกรุงเทพฯ

"เทศกาลศิลปะ" ปลุกลมหายใจชุมชนเมืองเก่า​ ยุค​ ร.5​  "ย่านสามแพร่ง" หลังก.กลาโหม

เทศกาลศิลปะชุมชน สามแพร่ง facestreet Love Forever ประกอบด้วยทั้งสามแพร่ง ทั้งแพร่งภูธร แพร่งนรา และแพร่งสรรพสาตร์ ภายในเทศกาลศิลปะนี้มีเวิร์กชอปศิลปะกลางใจชุมชน Homemade Art Workshop

"เทศกาลศิลปะ" ปลุกลมหายใจชุมชนเมืองเก่า​ ยุค​ ร.5​  "ย่านสามแพร่ง" หลังก.กลาโหม



ไอเดีย คือ การทำให้ "สามแพร่ง" ร่วมสมัยด้วยการใช้พื้นที่สำหรับการทำเวิร์กชอปศิลปะ ผูกโยงผู้คนและชุมชน ทำให้ชุมชนมีชีวิตและแบ่งปันคุณค่ากับผู้คนในสังคม โดยในปีนี้ชาวชุมชนทั้งสามแพร่งได้เข้ามามีส่วนร่วมเปิดครัว เปิดบ้านให้ผู้คนเข้ามาทำเวิร์กชอป

"เทศกาลศิลปะ" ปลุกลมหายใจชุมชนเมืองเก่า​ ยุค​ ร.5​  "ย่านสามแพร่ง" หลังก.กลาโหม



ย่านสามแพร่งนี้ ในอดีตเคยเป็นวังที่ประทับของพระบรมวงศานุวงศ์ อันประกอบไปด้วย...

"แพร่งนารา" หรือในอดีตคือ "วังวรวรรณ" ซึ่งเป็นที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ต่อมาได้มีการเวียนคืนที่ดิน ซึ่งปัจจุบันคงเหลือเพียงพระตำหนักไม้เก่าหลังเล็ก ที่แต่เดิมเป็นที่ตั้งของโรงละครปรีดาลัย ซึ่งต่อมาถูกปรับให้เป็นโรงเรียนตะละภัฏศึกษา ซึ่งชื่อแพร่งนรานี้เป็นชื่อที่คนทั่วไปเรียกตามพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ผู้เป็นเจ้าของวังเดิมนั้นเอง

"เทศกาลศิลปะ" ปลุกลมหายใจชุมชนเมืองเก่า​ ยุค​ ร.5​  "ย่านสามแพร่ง" หลังก.กลาโหม


"แพรงภูธร" หรือในอดีตคือ "วังสะพานช้างโรงสี" ซึ่งเจ้านายพระองค์สุดท้ายที่ประทับในวังคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ต่อมาเมื่อกรมหมื่นภูธเรศฯได้สิ้นพระชนม์ลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดฯ ให้แบ่งพื้นที่ทำเป็นตึกแถวซึ่งยังคงรักษาสถาปัตยกรรมอันเดิมไว้ แล้วพระราชทานชื่อถนนย่านนั้นว่า แพร่งภูธร ตามพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์ ภาพของแนวตึกแถวเก่าที่เรียงรายระหว่างสองฝากข้างถนนของซอย มันคือความคลาสสิกที่หาชมได้ยากในปัจจุบัน นอกจากนั้นยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือ สุขุมาลอนามัย ที่เปิดทำการเมื่อปี พ.ศ. 2471 โดยพระดำริของสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี เพื่อให้เป็นสถานีอนามัย ซึ่งปัจจุบันก็ยังเป็นที่รักษาพยาบาลของคนในชุมชนอยู่

"เทศกาลศิลปะ" ปลุกลมหายใจชุมชนเมืองเก่า​ ยุค​ ร.5​  "ย่านสามแพร่ง" หลังก.กลาโหม


"แพร่งสรรพศาสตร์" หรือในอดีตคือ "วังสรรพสาตรศุภกิจ" ซึ่งเป็นที่ประทับของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ซึ่งภายหลังได้เกิดเหตุเพลิงไหม้เสียหายจนหมด ทำให้วังสรรพศาสตร์ศุภกิจ ในปัจจุบันเหลือเพียงซุ้มประตูวังเก่าที่ยังคงความสวยงามให้คนรุ่นหลังได้ชม
ในยุคต่อมาเมื่อหน่วยราชการต่างๆ ได้ย้ายออกไปสร้างสำนักงานในบริเวณอื่น แพร่งภูธรก็ไม่ได้เป็นศูนย์กลางการค้าที่คึกคักอีกต่อไป บรรยากาศในแพร่งฯ ค่อยๆ เงียบเหงาซบเซาไปตามกาลเวลา

"เทศกาลศิลปะ" ปลุกลมหายใจชุมชนเมืองเก่า​ ยุค​ ร.5​  "ย่านสามแพร่ง" หลังก.กลาโหม


"การจัดงานเทศกาลศิลปะในชุมชนแม้จะมีเพียงปีละครั้ง และเพิ่งเริ่มจัดมาได้สัก 3 - 4 ปี แล้ว แต่ก็สามารถเชื่อมโยงถึงภาพความเจริญในอดีต และฟื้นคืนคุณค่าของชุมชนเก่าแก่แห่งนี้ขึ้นมาได้งดงาม มีสีสัน และสร้างสรรค์เป็นอย่างยิ่ง"
ความรุ่งเรืองในอดีต เป็นสิ่งที่ไม่ควรโหยหา หันหลังกลับไปชื่นชมบ่อยนัก... เพื่อจะได้เดินหน้าในสิ่งแปลกใหม่ ทันสมัย อย่างไม่หยุดยั้ง แต่บนเส้นขนาดนี้ การต่อยอดต้นทุนจากดีตเพื่อเดินหน้าต่อ กลับมีความงดงาม ลึกซึ้ง และยั่งยืนกว่าด้วยซ้ำไป...
ประเทศไทย มีชุมชนดั้งเดิมมากมายที่สะสมต้นทุนมามากพอ ที่เหลือก็อยู่ที่ว่าจะนำมาต่อยอด ให้งดงามอย่างเช่นที่ "ย่านสามแพร่ง" นี้ทำสำเร็จได้หรือไม่

"เทศกาลศิลปะ" ปลุกลมหายใจชุมชนเมืองเก่า​ ยุค​ ร.5​  "ย่านสามแพร่ง" หลังก.กลาโหม


#วชิรวิทย์ #วชิรวิทย์รายวัน #Vajiravit #VajiravitDaily #NationTV #NationTV
อ้างอิงwww.tcdc.or.thwww.museumthailand.com

logoline