svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

มติศาลรัฐธรรมนูญ 7 ต่อ 2 ตัดสินให้ "ธนาธร" ผิดถือหุ้นสื่อ-พ้นสมาชิกภาพส.ส.

20 พฤศจิกายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ศาลรัฐธรรมนูญ อ่านคำวินิจฉัยคดีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้พิจารณาว่าสมาชิกภาพการเป็น ส.ส. ของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) เนื่องจากถือหุ้นสื่อ บริษัทวี-ลัค มีเดีย จำกัด เข้าลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. หรือไม่ หลังจากก่อนหน้านี้มีมติรับคำร้องเมื่อวันที่ 23 พ.ค. และสั่งนายธนาธร หยุดปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.

ล่าสุดเวลา  14.30 น. ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเริ่มอ่านคำวินิจฉัย คำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ( กกต.)ที่ยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย กรณีนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ  ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคอนาคตใหม่  ถือหุ้น บริษัท วี-ลัค มีเดีย  ว่าการกระทำของนายธนาธร เข้าข่ายมีคุณสมบัติไม่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 98 (3) ประกอบมาตรา 42 (3) ของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 ถือได้ว่า เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. เนื่องจากถือหุ้นในธุรกิจสื่อ 

มติศาลรัฐธรรมนูญ 7 ต่อ 2 ตัดสินให้ "ธนาธร" ผิดถือหุ้นสื่อ-พ้นสมาชิกภาพส.ส.


ศาลรัฐธรรมนูญได้อธิบายความหมายของคำว่า หนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ ตาม พ.ร.บ.การพิมพ์ ว่า หนังสือพิมพ์หมายรวมถึงนิตยสารด้วย การเลิกกิจการต้องจดแจ้งภายใน 30 วัน 
ในส่วน บริษัท วี-ลัค มีเดียฯ จดทะเบียน 10 ม.ค.2551  แจ้งวัตถุประสงค์ ประกอบกิจการสิ่งพิมพ์ โรงพิมพ์ รับพิมพ์หนังสือ และโฆษณาทุกรูปแบบ  บริษัทฯ ได้จดแจ้งการพิมพ์ ตาม พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ เมื่อปี 2551 ด้วย 
ศาลชี้ ไม่ปรากฏหลักฐานว่า บริษัท วี-ลัค มีเดียฯ จดแจ้งยกเลิกการพิมพ์ ก่อนวันที่ 16 ก.พ.2562 ซึ่งเป็นวันส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัคร ส.ส. ดังนั้น บริษัท วี-ลัค มีเดีย ยังมีสภาพประกอบกิจการสื่อมวลชน ณ วันที่ส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัคร ส.ส. 
ศาลชี้ ข้อต่อสู้ของผู้ถูกร้อง (ธนาธร) ที่อ้างว่าโอนหุ้นให้มารดาคือ นางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ ตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค.62 นั้น แต่ ปรากฏว่า ไม่มีการส่งแบบ บอจ.5 (แบบบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น)  ที่บริษัท วี-ลัค มีเดียฯ ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยเร็ว

ข้อต่อสู้ของผู้ถูกร้อง (ธนาธร) ที่อ้างว่าโอนหุ้นให้มารดา คือนางสมพร ตั้งแต่วนัที่ 8 ม.ค.62 นั้น  แต่ ปรากฏว่า ไม่มีการส่งแบบ บอจ.5 (แบบบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น)  ที่บริษัท วี-ลัค มีเดียฯ ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยเร็ว

มติศาลรัฐธรรมนูญ 7 ต่อ 2 ตัดสินให้ "ธนาธร" ผิดถือหุ้นสื่อ-พ้นสมาชิกภาพส.ส.


ข้ออ้างธนาธรจึงฟังไม่ขึ้น ที่ว่าไม่ได้ส่งแบบ บอจ.5 เพราะไม่มีนักบัญชีดำเนินการให้
ศาลรัฐธรรมนูญยังระบุว่าการโอนหุ้น หรือเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นของบริษัทวี-ลัค มีเดียฯ ครั้งอื่นๆ ใช้วิธีส่งเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ และไม่ได้มีความยุ่งยากแต่อย่างใด
ส่วนปมเรื่องเช็คค่าหุ้นซึ่งธนาธรใช้เวลาถึง 128 วัน กว่าจะนำเช็คไปเข้าบัญชี แต่กฎหมายเช็ค พ.ร.บ.เช็ค มีหน้าที่ให้ผู้ครองเช็ค ให้ขึ้นเช็ค (เรียกเก็บเงิน) ภายใน 1 เดือน
ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบรายละเอียดย้อนนหลัง 3 ปี พบว่า ผู้ถูกร้อง มีการเรียกเก็บเงินตามเช็ค ตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป มีการเรียกเก็บเงิน ภายใน 42-45 วันทุกครั้ง และจากข้อมูลนำเช็คไปขึ้นเงินนานที่สุด 98 วัน แต่เช็คฉบับนั้นยอดเงินแค่ 2 หมื่นบาท
นอกจากนี้ศาลรัฐธรรมนูญยังเห็นว่า  คำให้การของนางรวิพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ เรื่องนำเช็คไปขึ้นเงินช้า ขัดแย้งกับหนังสือของผู้ถูกร้องเอง ที่ชี้แจงต่อ กกต.  คำอ้างของนางรวิพรรณ ฟังไม่ขึ้น สามารถมอบอำนาจให้คนอื่นไปขึ้นเงินแทนก็ได้

การโอนหุ้นของนางสมพร ไปให้หลาน ไม่มีค่าตอบแทน ย้อนแย้งกับการโอนหุ้นให้ลูกกลับมีค่าตอบแทน การอ้างโอนหุ้นแบบไม่มีค่าตอบแทน ไม่มีหลักฐานตรวจสอบได้ว่าโอนจริงหรือไม่

มติศาลรัฐธรรมนูญ 7 ต่อ 2 ตัดสินให้ "ธนาธร" ผิดถือหุ้นสื่อ-พ้นสมาชิกภาพส.ส.


ศาลรัฐธรรมนูญยังชี้ว่า การโอนหุ้นให้หลานเพื่อดูแลกิจการ จริงๆแล้วการถือหุ้นไม่ได้มีอำนาจจัดการในกิจการ เอกสารโอนหุ้นอาจทำย้อนหลัง
ศาลรัฐธรรมนูญชี้ แม้ผู้ถูกร้องคือนายธนาธร เดินทางกลับจากบุรีรัมย์ วันที่ 8 ม.ค. มาที่กรุงเทพฯ ก็ยืนยันได้แค่ว่าอยู่ กทม.จริง แต่ไม่ได้แปลว่ามีการโอนหุ้นกันจริงศาลยังได้ยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 1129 การโอนหุ้นกันเฉยๆ โดยยังไม่จดแจ้งในทะเบียนผู้ถือหุ้น นำมาอ้างกับบุคคลภายนอกไม่ได้ศาลรัฐธรรมนูญจึงชี้ว่า ผู้ถูกร้องคือนาย ธนาธร ยังคงถือหุ้น บริษัท วี-ลัค มีเดียฯ ในวันที่ยื่นสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ถือเป็นลักษณะต้องห้าม สมาชิกภาพการเป็น ส.ส.ของนายธนาธรถือว่าสิ้นสุดลงนับตั้งแต่วันที่หยุดปฏิบัติหน้าที่ และพ้นจาก ส.ส. นับแต่วันนั้น

มติศาลรัฐธรรมนูญ 7 ต่อ 2 ตัดสินให้ "ธนาธร" ผิดถือหุ้นสื่อ-พ้นสมาชิกภาพส.ส.

มติศาลรัฐธรรมนูญ 7 ต่อ 2 ตัดสินให้ "ธนาธร" ผิดถือหุ้นสื่อ-พ้นสมาชิกภาพส.ส.

logoline