svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

เปิดพิรุธ"ธนาธร"หลายจุด ก่อนศาลตัดสินพ้นสมาชิกภาพ ส.ส.

20 พฤศจิกายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ก่อนที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั่งบัลลังก์อ่านคำวินิจฉัยว่านายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ จะสิ้นสุดความเป็นสมาชิกภาพ ส.ส.หรือไม่ หลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. มีมติส่งสำนวนให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ากรณีที่ "ธนาธร" ถือหุ้นสื่อ คือบริษัทวีลัคมีเดีย โดยต่อมาคุณธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ พร้อมภรรยาได้เดินทางถึงแล้ว

โดยบรรยากาศที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ คุณธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ พร้อมด้วยภรรยา คือคุณรวิพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ ได้เดินทางมารอฟังคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญกรณีการถือหุ้นสื่อ บริษัทวี-ลัคมีเดีย ของคุณธนาธรว่า เข้าข่ายลักษณะต้องห้ามของความเป็นส.ส.หรือไม่

เปิดพิรุธ"ธนาธร"หลายจุด ก่อนศาลตัดสินพ้นสมาชิกภาพ ส.ส.


แนวทางดำเนินการของศาลรัฐธรรมนูญในวันนี้ ตุลาการศาลทั้ง 9 ท่าน ได้ประชุมกันไปแล้วในเวลา 10:00 น. เพื่อแถลงด้วยวาจาและลงมติก่อนที่จะมีการอ่านคำวินิจฉัยในเวลา 14:00 น. และเพื่อไม่ให้ผลการวินิจฉัยรั่วไหลก่อนที่จะมีการนั่งออกบัลลังก์ทางศาลจะมีการตัดสัญญาณโทรศัพท์เป็นช่วงช่วงพร้อมให้ตุลาการอยู่ภายในห้องประชุมจนกว่าจะจัดทำคำวินิจฉัยเสร็จสิ้นและออกนั่งบัลลังก์ ซึ่งคำวินิจฉัยในวันนี้จะมี 2 แนวทาง คือ หากศาลวินิจฉัยว่าไม่ผิดก็สามารถปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.ได้ตามปกติ แต่หากตัดสินว่าผิดตามคำร้อง นอกจากต้องพ้นสมาชิกภาพการเป็น ส.ส.แล้ว อาจจะมีโทษตามมาตรา 151 พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ผู้สมัครรู้ตัวว่าไม่มีสิทธิแล้วยังสมัครรับเลือกตั้ง ระวางโทษจำคุก 1-10 ปี ปรับ 20,000-200,000 บาท และเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 20 ปี ซึ่งขึ้นอยู่กับคำวินิจฉัยศาลจะเป็นผู้กำหนด
ล่าสุดทีมข่าวโต๊ะการเมือง เนชั่นทีวี นำเสนอนาทีต่อนาที ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัย ในช่วงบ่ายวันนี้(20 พฤศจิกายน 2562) ของ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ดังต่อไปนี้

1.ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเริ่มอ่านคำวินิจฉัยคดีธนาธร
2.ศาลอธิบายคำร้องสมาชิกภาพธนาธรต้องสิ้นสุดลงหรือไม่ / อธิบายหลักการลักษณะต้องห้ามการถือหุ้นในกิจการสื่อสารมวลชน เพื่อป้องกันการใช้สื่อเพื่อความได้เปรียบทางการเมือง
3.ศาลระบุ คณะกรรมการเลือกตั้ง(กกต.) ยื่นคำร้องต่อศาลโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว

เปิดพิรุธ"ธนาธร"หลายจุด ก่อนศาลตัดสินพ้นสมาชิกภาพ ส.ส.


4.ศาลอธิบายความหมายของคำว่า หนังสือพิมพ์ / สิ่งพิมพ์ ตาม พ.ร.บ.การพิมพ์ ว่า หนังสือพิมพ์หมายรวมถึงนิตยสารด้วย / การเลิกกิจการต้องจดแจ้งภายใน 30 วัน
5.ศาลชี้ บริษัท วี-ลัค มีเดียฯ จดทะเบียน 10 ม.ค.2551 / แจ้งวัตถุประสงค์ ประกอบกิจการสิ่งพิมพ์ โรงพิมพ์ รับพิมพ์หนังสือ และโฆษณาทุกรูปแบบ / บริษัทฯ ได้จดแจ้งการพิมพ์ ตาม พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ เมื่อปี 2551 ด้วย
6.ศาลชี้ไม่ปรากฏหลักฐานว่า บริษัท วี-ลัค มีเดียฯ จดแจ้งยกเลิกการพิมพ์ ก่อนวันที่ 6 ก.พ.2562 ซึ่งเป็นวันส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัคร ส.ส.
7.ศาลชี้ บริษัท วี-ลัค มีเดีย ยังมีสภาพประกอบกิจการสื่อมวลชน ณ วันที่ส่งบัญชีรายชื่อผู้สมัคร ส.ส.
8.ศาลตรวจสอบรายละเอียดย้อนหลัง 3 ปี พบว่า ผู้ถูกร้อง มีการเรียกเก็บเงินตามเช็ค ตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป มีการเรียกเก็บเงิน ภายใน 42-45 วันทุกครั้ง(ระยะเวลานานที่สุด)
9.ศาลย้อนข้อมูล นำเช็คไปขึ้นเงินนานที่สุด 98 วัน แต่ยอดเงินแค่ 2 หมื่นบาท
10.ศาลชี้ คำให้การรวิพรรณ เรื่องนำเช็คไปขึ้นเงินช้า ขัดแย้งกับหนังสือของผู้ถูกร้องเอง ที่ชี้แจงต่อ กกต. / คำอ้างรวิพรรณ ฟังไม่ขึ้น / สามารถมอบอำนาจให้คนอื่นไปขึ้นเงินแทนก็ได้

เปิดพิรุธ"ธนาธร"หลายจุด ก่อนศาลตัดสินพ้นสมาชิกภาพ ส.ส.


11.ศาลชี้ ข้อต่อสู้ของผู้ถูกร้อง (ธนาธร) ที่อ้างว่าโอนหุ้นให้มารดา (นางสมพร) ตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค.62 นั้น / แต่ ปรากฏว่า ไม่มีการส่งแบบ บอจ.5 (แบบบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น) ที่บริษัท วี-ลัค มีเดียฯ ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โดยเร็ว
12.ศาลยกข้อมูลในอดีต ชี้ว่า ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น บริษัท วี-ลัค มีเดียฯ ได้ส่งแบบ บอจ.5 โดยเร็วเป็นปกติทุกครั้ง (มีการยกตัวอย่างว่า ครั้งอื่นๆ มีการส่งแบบ บอจ.5 ทันที ใกล้เคียงกับวันประชุมกรรมการบริษัท) ฉะนั้นการโอนหุ้นที่อ้างว่าโอน 8 ม.ค.62 นั้น จึงมีความผิดปกติ เพราะไม่ส่งสำเนารายชื่อเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นโดยเร็วเหมือนครั้งอื่น ทั้งๆ ที่เป็นการโอนหุ้นที่มีความสำคัญ เนื่องจากต้องนำไปใช้เป็นหลักฐานในการสมัคร ส.ส. เพื่อดำเนินงานทางการเมือง
13.ศาลชี้ข้ออ้างธนาธรฟังไม่ขึ้น ที่ว่าไม่ได้ส่งแบบ บอจ.5 เพราะไม่มีนักบัญชีดำเนินการให้ / ศาลระบุว่าการโอนหุ้น หรือเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นของบริษัทวี-ลัค มีเดียฯ ครั้งอื่นๆ ใช้วิธีส่งเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ และไม่ได้มีความยุ่งยากแต่อย่างใด
14.ศาลชี้ปมเรื่องเช็คค่าหุ้น / ซึ่งธนาธรใช้เวลาถึง 128 วัน กว่าจะนำเช็คไปเข้าบัญชี / แต่กฎหมายเช็ค (พ.ร.บ.เช็ค) มีหน้าที่ให้ผู้ครองเช็ค ให้ขึ้นเช็ค (เรียกเก็บเงิน) ภายใน 1 เดือน
15.การโอนหุ้นของนางสมพร ไปให้หลาน ไม่มีค่าตอบแทน ย้อนแย้งกับการโอนหุ้นให้ลุก กลับมีค่าตอบแทน / การอ้างโอนหุ้นแบบไม่มีค่าตอบแทน ไม่มีหลักฐานตรวจสอบได้ว่าโอนจริงหรือไม่

เปิดพิรุธ"ธนาธร"หลายจุด ก่อนศาลตัดสินพ้นสมาชิกภาพ ส.ส.


16.ศาลชี้ การโอนหุ้นให้หลานเพื่อดูแลกิจการ จริงๆ แล้วการถือหุ้นไม่ได้มีอำนาจจัดการในกิจการ / เอกสารโอนหุ้นอาจทำย้อนหลัง
17.ศาลชี้ แม้ผู้ถูกร้อง (ธนาธร) เดินทางกลับจากบุรีรัมย์ วันที่ 8 ม.ค. มาที่กรุงเทพฯ ก็ยืนยันได้แค่ว่าอยู่ กทม.จริง / แต่ไม่ได้แปลว่ามีการโอนหุ้นกันจริง
18.ศาลยกประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 การโอนหุ้นกันเฉยๆ โดยยังไม่จดแจ้งในทะเบียนผู้ถือหุ้น นำมาอ้างกับบุคคลภายนอกไม่ได้
19.ศาลชี้ ผู้ถูกร้อง (ธนาธร) ยังคงถือหุ้น บริษัท วี-ลัค มีเดียฯ ในวันที่ยื่นสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ถือเป็นลักษณะต้องห้าม สมาชิกภาพการเป็น ส.ส.ถือว่าสิ้นสุดลง
20.ศาล ชี้ สมาชิกภาพ ส.ส.ของธนาธร สิ้นสุดลงนับตั้งแต่วันที่หยุดปฏิบัติหน้าที่

เปิดพิรุธ"ธนาธร"หลายจุด ก่อนศาลตัดสินพ้นสมาชิกภาพ ส.ส.

logoline