svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"อมตะนคร" ยัน​ 700 โรงงานยังไม่ปิดกิจการ

15 พฤศจิกายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรรมการผู้จัดการ บจ.อมตะ ฟาซิลิตี้เซอร์วิส ยันโรงงานในนิคมอมตะนคร 700 โรงงานยังไม่มีปิดกิจการหรือหยุดงานชั่วคราว แม้มีปัญหาการส่งออก รับมอนิเตอร์สถานการณ์แรงงานโรงงานปิดกิจการอย่างใกล้ชิด

วานนี้ 15 พ.ย. 62 - นายอัครเรศร์ ชูช่วย กรรมการผู้จัดการ บริษัท อมตะ ฟาซิลิตี้ เซอร์วิส จำกัด บอกว่าจากสถานการณ์การส่งออกของประเทศไทยที่มีปัญหา ทำให้โรงงานหลายแห่งปิดกิจการ แต่ยืนยันว่าโรงงานทั้ง 700 กว่าโรงงานในนิคมอมตะนคร ยังคงเปิดกิจการอยู่ทุกสถานประกอบการ และไม่มีการหยุดงานชั่วคราวซึ่งได้ติดตามสถานการณ์ของลูกค้าที่อยู่ในนิคมอมตะนครอย่างใกล้ชิด โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่เปราะบางมากที่สุดในช่วงนี้คืออุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งแต่เดิมประเทศไทยมียอดขายรถยนต์ถึง 2 ล้าน แต่ปีนี้และปีหน้าจะมียอดขายไม่ถึง 2 ล้านคน ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์มีซัพพลายเชนที่เยอะมาก

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจของอมตะ มีนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทยอยู่ 2 แห่ง คือที่ จังหวัดชลบุรี และ ที่จังหวัดระยอง 
ในขณะเดียวกันก็ได้ขยายนิคมอุตสาหกรรมไปในประเทศเพื่อนบ้าน คือ เมียนมาร์ ลาว และเวียดนาม ส่วนนิคมอุตสาหกรรมในประเทศไทยที่มีแผนจะขยายต่อเฟสที่ 2 เป็นนิคม 5 อุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ ที่จะมีลักษณะเป็น smart City การขายแรงงานไม่ใช่เป้าหมายหลักเนื่องจากค่าแรงสูงจึงต้องเน้นการ ตั้งนิคมสำหรับแรงงานทักษะสูง เพื่อคิดค้นสิ่งใหม่ที่มีมูลค่าสูงกว่า

ด้านนายจักรรัฐ เลิศโอภาส รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บอกว่า ผู้ประกอบการในนิคมอุตสาหกรรม ยังไม่ได้รับรายงานว่ามีสถานประกอบการไหนที่ปิดกิจการ ส่วนที่ปิดกิจการตามที่เป็นข่าวเป็นโรงงานที่อยู่นอกนิคมอุตสาหกรรมที่มีการขายกิจการหรือหยุดชั่วคราว โดยหวังว่าหากสถานการณ์ดีขึ้น และมียอดสั่งซื้อจะกลับมาเปิดกิจการเปิดกิจการอีกครั้ง ซึ่งไม่มีใครทำนายได้ว่าจะเป็นเมื่อใด สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่กำลังรับผลกระทบหนักในขณะนี้คืออุตสาหกรรมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และกลุ่มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ ซึ่งมียอดขายลดลง 7% ส่วนสาเหตุที่ ทำให้สถานการณ์เศรษฐกิจชะลอตัวเป็นกันทั้งโลกไม่ได้เป็นเพียงแค่ประเทศไทยประเทศเดียวเท่านั้น

รองผู้ว่าการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยย้ำว่า ทางออกในระยะยาวสำหรับเรื่องนี้คือการพัฒนาทักษะฝีมือแรงงานให้สูงขึ้นเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่

logoline