svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เตือน! รู้ทันโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า

13 พฤศจิกายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เชื้อไวรัสซิก้า (Zika virus) เป็นเชื้อไวรัสในตระกูลเชื้อไวรัสที่ก่อโรคไข้เลือดออก โดยยุง Aedes aegypti นำเชื้อไวรัสซิก้ามาสู่คนและเป็นยุงที่นำเชื้อไวรัสเดงกี (dengue) และไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya virus) ที่ทำให้เกิดไข้เลือดออกด้วย ยุงชนิดนี้กัดคนที่พักอยู่ในและนอกบ้านและกัดในเวลากลางวันเป็นส่วนใหญ่

เพจมูลนิธิหมอชาวบ้าน ได้ออกมาโพสต์ให้ความรู้ ถึง เชื้อไวรัสซิก้า ว่ามีการติดต่อิย่างไร และป้องกันการติดได้ด้วยวิธีอะไร เพราะโรคนี้ยังไม่มียารักษา.... โดยทางเพจได้ระบุข้อความไว้ว่า....
เชื้อไวรัสซิก้า (Zika virus) เป็นเชื้อไวรัสในตระกูลเชื้อไวรัสที่ก่อโรคไข้เลือดออก โดยยุง Aedes aegypti นำเชื้อไวรัสซิก้ามาสู่คนและเป็นยุงที่นำเชื้อไวรัสเดงกี (dengue) และไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya virus) ที่ทำให้เกิดไข้เลือดออกด้วย ยุงชนิดนี้กัดคนที่พักอยู่ในและนอกบ้านและกัดในเวลากลางวันเป็นส่วนใหญ่

เตือน! รู้ทันโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า


อาการของโรคได้แก่ ไข้ ปวดศีรษะ มีผื่น ปวดเมื่อยตามตัว ปวดตามข้อหรือกล้ามเนื้อ เยื่อบุนัยน์ตาแดงการดำเนินโรคนานประมาณ 4-7 วัน แล้วทุเลาหายไป โดยทั่วไปโรคมีความรุนแรงน้อยและไม่ถึงแก่ชีวิต
โรคติดเชื้อไวรัสซิก้า มีความสำคัญ 4 ประการ คือ
1. ทำให้คนเราเจ็บป่วยและมีลักษณะของโรคเหมือนไข้เลือดออกและ/หรือไข้เฉียบพลันที่ไม่ทราบสาเหตุ ทำให้ผู้ป่วยต้องได้รับการวินิจฉัยแยกโรคออกจากไข้เลือดออกและจากโรคอื่นๆ ดังกล่าวที่มีความรุนแรงถึงชีวิตได้
หากผู้ป่วยอยู่ในประเทศที่ยังไม่มีน้ำยาในการตรวจวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า ก็จะต้องเจาะเลือดหรือเก็บตัวอย่างไปตรวจวินิจฉัยโรคอื่นๆ หลายโรค เมื่อผลการตรวจทั้งหลายให้ผลลบ จึงจะสงสัยว่าป่วยเป็นโรคนี้ โดยเฉพาะในผู้ที่มีประวัติการเดินทางกลับมาจากดงโรค เช่น จากทวีปอเมริกาใต้ ประเทศเอลซัลวาดอร์หรือบราซิล ประเทศเม็กซิโกและมลรัฐในประเทศอเมริกาที่ติดหรือใกล้กับประเทศเม็กซิโกหรือหมู่เกาะแคริบเบียน
2. หลังจากผู้ป่วยหายจากโรคนี้แล้ว อาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนของระบบประสาทที่เรียกว่า กลุ่มอาการกีแยง-บาร์เร (Guillain-Barre syndrome) ภาวะนี้มีการอักเสบเฉียบพลันของเส้นประสาทหลายเส้นและมีการทำลายของเส้นประสาท ทำให้ขาอ่อนแรงหรือมีอาการชาได้ บางรายทำให้กล้ามเนื้อควบคุมการหายใจหมดแรงจนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจพยุงการหายใจด้วย
3. มารดาที่ตั้งครรภ์และติดเชื้อไวรัสซิก้าในประเทศบราซิล พบว่า บุตรที่คลอดออกมามีศีรษะเล็ก (microcephaly) หรือความพิการแต่กำเนิดและเกิดจากสาเหตุที่ทารกในครรภ์ติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ด้วย ดังนั้นหญิงมีครรภ์จึงควรหลีกเลี่ยงทุกวิถีทางที่จะทำให้ติดเชื้อชนิดนี้ รัฐบาลของประเทศที่มีการระบาดของโรคนี้ ถึงกับแนะนำประชาชนให้หลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ไปนาน 1-2 ปี หรือจนกว่าโรคนี้จะหยุดการระบาด
4. คาดว่าการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า จะระบาดไปทั่วโลกในภูมิประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตร้อน เพราะมียุงเป็นพาหะและมีมนุษย์เป็นผู้นำเชื้อไวรัสขึ้นเครื่องบินและเดินทางไปมาอย่างรวดเร็วพอผู้ที่ติดเชื้อกลับถึงบ้านเกิดและถูกยุงในพื้นที่กัด การแพร่กระจายของโรคนี้ จะเกิดขึ้นในพื้นที่ใหม่ได้ทันที ดังนั้น จึงคาดว่า จะหยุดยั้งการระบาดได้ยากมาก

ป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า
เนื่องจากยังไม่มียาหรือวัคซีนใดๆ ในการรักษาหรือป้องกันโรคนี้ การป้องกันการติดเชื้อหรือการแพร่โรคนี้ให้แก่ผู้อื่น จะเพ่งเล็งไปที่คนที่จะถูกยุงกัดหรือผู้ที่จะนำเชื้อเข้ามาหรือผู้ป่วยโรคนี้ที่จะเข้ามาในประเทศ โดยมีวิธีควบคุมโรคดังนี้
1. คนไทยหรือผู้ที่จะเดินทางออกนอกประเทศไปยังดงโรค
งดเดินทางไปยังประเทศที่ตั้งในพื้นที่ที่โรคติดเชื้อไวรัสซิก้ากำลังระบาด เพราะในบริเวณนั้นจะมีความหนาแน่นของโรคสูง ทั้งจำนวนผู้ป่วย ผู้เป็นพาหะของเชื้อและจำนวนยุงติดเชื้อที่นำเชื้อโรค การเดินทางเข้าไปในดงโรคมีโอกาสสูงที่จะถูกยุงที่มีเชื้อกัดและติดเชื้อมาได้ ถึงแม้ผู้ติดเชื้อหลายรายจะไม่ป่วย แต่จะกลายเป็นผู้นำเชื้อกลับเข้ามาในประเทศไทยได้ หากต้องเดินทางไป จะต้องสวมเสื้อแขนยาว กางเกงขายาว ทายากันยุง และอยู่ในประเทศนั้นให้สั้นที่สุด และให้ติดตามข่าวการระบาดของโรคในพื้นที่ต่างๆ ว่า ขณะนี้โรคนี้ได้ระบาดไปถึงที่ใดแล้ว
2. คนต่างชาติที่อาศัยอยู่ในดงโรคและเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย
คนต่างชาติที่อยู่ในดงโรคและเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทย โดยเฉพาะผู้ที่นั่งเครื่องบินเข้ามาประเทศไทยขณะเดินทางมาบนเครื่องบินหรือหลังจากเข้ามาในประเทศ 3-7 วัน แล้วมีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ควรแจ้งให้แพทย์และกรมควบคุมโรคทราบว่าเพิ่งเดินทางมาจากดงโรค ขอแนะนำให้ผู้ป่วยต่างชาติรายนั้นสวมชุดแขนยาวขายาว และทายากันยุงด้วย หากนอนพักผ่อนในบ้าน ให้นอนในมุ้งหรือในห้องที่มีมุ้งลวดและเปิดแอร์ เพื่อป้องกันยุงกัดและให้ทายากันยุงกัดด้วยตลอดเวลาที่มีไข้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการที่ยุงมากัดและนำเชื้อติดตัวยุงออกไปแพร่กระจายไปยังผู้อื่นต่อไป
3. ผู้ป่วยที่มีลักษณะแบบไข้เลือดออก
ผู้ที่สงสัยว่าตนเองป่วยเป็นโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า หรือไข้เลือดออกชนิดใดก็ตาม ให้นอนกางมุ้งหรือในห้องนอนที่มีมุ้งลวด สวมชุดนอนที่มีแขนยาวขายาว และทายากันยุงด้วยตลอดเวลาที่มีไข้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันการกัดของยุงและไม่ปล่อยให้มีการนำเชื้อติดตัวยุงออกไปแพร่กระจายไปยังผู้อื่น

เตือน! รู้ทันโรคติดเชื้อไวรัสซิก้า


logoline