svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ว่ากันว่าจุดเริ่มต้น "โคมลอย" แต่เดิมล้านนาใช้ควันไม่ใช้ไฟ

12 พฤศจิกายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ว่ากันว่า จุดเริ่มต้นของการลอยโคมมาจากประเพณียี่เป็งของเมืองเหนือล้านนา ถือเป็นประเพณีพื้นบ้านที่จัดขึ้นในช่วงวันเพ็ญเดือน 12 ซึ่งตรงกับวันลอยกระทง แต่การลอยโคมของชาวล้านนานั้นไม่ใช่การลอยโคมไปตามสายน้ำแบบชาวไทยในพื้นที่อื่นๆ หากแต่เป็นการปล่อยโคมให้ลอยขึ้นไปในอากาศ เพื่อปลดความทุกข์โศกต่างๆ ให้หลุดพ้น

ว่ากันว่า จุดเริ่มต้นของการลอยโคมมาจากประเพณียี่เป็งของเมืองเหนือล้านนา ถือเป็นประเพณีพื้นบ้านที่จัดขึ้นในช่วงวันเพ็ญเดือน 12 ซึ่งตรงกับวันลอยกระทง แต่การลอยโคมของชาวล้านนานั้นไม่ใช่การลอยโคมไปตามสายน้ำแบบชาวไทยในพื้นที่อื่นๆ หากแต่เป็นการปล่อยโคมให้ลอยขึ้นไปในอากาศ เพื่อปลดความทุกข์โศกต่างๆ ให้หลุดพ้น

อย่างไรก็ตาม โคมที่ชาวล้านนาปล่อยในช่วงยี่เป็งนั้น ไม่ใช่โคมไฟแบบที่ชาวไทยนิยมกันอยู่ในปัจจุบัน แต่เป็น "โคมลอย" หรือ "โคมควัน" ที่อาศัยแรงอัดจากควันไฟส่งให้โคมนั้นลอยขึ้นไปบนท้องฟ้า ที่สำคัญเป็นการลอยโคมในเวลากลางวันก่อนเที่ยง ไม่ใช่ยามค่ำคืนเหมือนทุกวันนี้

วรวิมล ชัยรัต ชาวบ้านวัดเกตุ สมาชิกกลุ่มรักษ์บ้านรักษ์เมือง จังหวัดเชียงใหม่ เล่าให้ฟังว่า ประเพณียี่เป็ง เป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวล้านนาที่ถือปฏิบัติสืบทอดกันมายาวนาน โดยคำว่า ยี่ ในภาษาล้านนา หมายถึง สอง ส่วนคำว่า เป็ง แปลว่า พระจันทร์เต็มดวง ดังนั้น ยี่เป็ง จึงหมายถึงวันเพ็ญเดือนสอง ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองของชาวไทยนั่นเอง

"แต่ก่อนมีแต่โคมลอย ทางเหนือเฮาฮ้องว่า "โกมลอย" ทำจากกระดาษสีๆ เอามาแปะต่อๆ กัน แล้วก็ใส่ควันเข้าไป พอแรงดันได้มันก็จะลอยขึ้นไป ไม่เคยเกิดเหตุไฟไหม้ เพราะมันมีแต่ควัน จะมีประทัดเล็กๆ ร้อยเป็นสายติดไปด้วย แต่แป๊บเดียวมันก็ดับ แล้วเวลาเฮาปล่อยโคม เฮาก็จะบอกว่าปล่อยเคราะห์ปล่อยโศก แล้วถ้าโคมไปตกที่บ้านใครก็ถือว่าโชคร้าย โชคไม่ดี ต้องนิมนต์พระมาถอน ตอนหลังเลยมีการเขียนชื่อลงไป จะได้ตามได้ว่าใครเป็นเจ้าของเคราะห์นั้น" วรวิมล เล่าปนหัวเราะ

สำหรับโคมลอย นอกจากจะปล่อยเพื่อลอยเคราะห์ให้ห่างไกลแล้ว กระบวนการทำโคมนั้นยังถือเป็นการเชื่อมความสามัคคีของคนในชุมชนให้เกิดความร่วมมือร่วมใจในศรัทธาเดียวกัน วรวิมล บอกว่า ในอดีตชาวล้านนาจะมาร่วมกันทำโคมที่วัด ใครมีกระดาษสีอะไรก็เอามาออม(รวม)กัน แล้วช่วยกันติดแป้งเปียกเป็นรูปโคม อาจจะทำโคมลอยกลุ่มวัดละ 1 ลูก หรือหลายลูกก็ได้ แล้วใช้ลอยร่วมกันในวันยี่เป็ง ซึ่งจะลอย 2 วัน คือวันขึ้น 14 ค่ำ และวันขึ้น 15 ค่ำเดือนยี่

"สมัยนี้ที่ปล่อยกันเปิ้ลฮ้องว่า "โคมไฟ" หรือว่าวไฟ เฮาเพิ่งจะเคยเห็นมาเมื่อ 20 ปีนี้นะ รู้สึกว่าจะมาจากต่างประเทศ มาทางแม่สาย มาจากพม่า แต่ก็มาดูๆ แล้ว พม่าเขาก็ไม่ลอยกัน ก็ไม่รู้มาได้ยังไง ตอนเข้ามาใหม่ๆ มันเป็นโครงไม้ ใช้กระดาษจุดไฟ ไหม้ไม่นาน แต่ตอนหลังมีการประยุกต์ให้มันติดไฟนานขึ้น มีการใช้ลวดแทนโครงไม้ พอมันตกลงมาพาดสายไฟก็เกิดไฟฟ้าลัดวงจร ไฟไหม้ ไหม้ไปเยอะแล้ว กาดวโรรสนั่นดังมากๆ เสียหายเยอะ"

ถามว่า การจุดโคมลอย(ไฟ)แบบนี้ทางเหนือล้านนามีความเชื่อว่าเป็นการบูชาพระเกตุแก้วจุฬามณีบนสรวงสวรรค์ด้วยหรือไม่ สมาชิกกลุ่มรักษ์บ้านรักษ์เมืองคนเดิมบอก ไม่เคยได้ยินมาก่อน อาจจะเป็นการสร้างเรื่องขึ้นมาเพื่อเพิ่มพลังแห่งศรัทธาก็เป็นได้

"เฮาว่าเป็นการสร้างเรื่องขึ้นมาให้ดูมีความศรัทธา เพราะอยู่มากันเป็นร้อยปีไม่เคยมีเรื่องนี้ พระธาตุเกตุแก้วจุฬามณีอะไรไปถามคนเฒ่าคนแก่ก็ไม่เคยเห็น สมัยก่อนโคมไฟก็ไม่มีลอยด้วย มีแต่โคมลอย เมื่อก่อนตอนมาใหม่ๆ มันเป็นแค่เนื้องอก เฮาฮ้องว่า เนื้องอกประเพณี แต่เดี๋ยวนี้มันเป็นมะเร็งแล้ว ไม่รู้จะรักษาหายมั้ย เมื่อก่อนลูกละ 100 เดี๋ยวนี้ 3 ลูก 100 มันเป็นความสวยงามที่หาง่ายแต่อันตรายมาก

ว่ากันว่าจุดเริ่มต้น "โคมลอย" แต่เดิมล้านนาใช้ควันไม่ใช้ไฟ



เมื่อก่อนเราออกไปลอยกระทงที่แม่น้ำปิง แล้วก็กลับมาจุดผางประทีปที่กู่บรรพชน แต่พอมีโคมไฟเราไม่กล้าออกจากบ้านเลย กลัวไฟจะไหม้บ้าน เราต้องต่อน้ำขึ้นหลังคา หล่อน้ำให้เปียกหลังคาไว้ตลอด แล้วก็วิ่งขึ้นไปที่สูงๆ ไปดูไฟจะตกที่บ้านเรามั้ย เพราะแม่น้ำปิงปล่อยกันเยอะมาก คนมาแอ่วมันม่วน แต่ความม่วนคือความทุกข์ของเฮา แล้วเดี๋ยวนี้มีประทัดยักษ์ด้วย อะไรด้วย ยิ่งระแวงไปหมด เฮาก็ทุกข์กันทุกปี ทุกข์เพราะว่าดีบ่ดีเฮาจะบ่มีบ้านอยู่"

ที่ผ่านมา เชียงใหม่เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีเหตุการณ์ไฟไหม้จากการจุดโคมลอย โดยเฉพาะในช่วงเทศกาลลอยกระทง ชาวบ้านจะต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เพราะกระแสการจุดโคมลอยนั้นจุดติดแล้วในแวดวงการท่องเที่ยว และถือสินค้าทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวร่วมปล่อยโคมในคืนวันลอยกระทงนับหมื่นลูก

ไม่เพียงแค่ไฟไหม้บ้านเรือนเท่านั้น แต่การปล่อยโคมลอยยังให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าดับ ไฟไหม้ป่า ขยะเกลื่อนเมือง และที่สำคัญเป็นอันตรายต่อระบบการบินของเครื่องบิน จนอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ซึ่งที่ผ่านมามีข้อมูลจากบริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย รายงานข่าวการพบโคมลอยในระดับที่กระทบต่อการบินมากกว่า 1,000 ครั้ง เรื่องนี้เป็นปัญหาที่หลายหน่วยงานกังวล และหาทางแก้ปัญหากันมาทุกปี แต่ที่ทำได้ก็คือการหลีกเลี่ยงการบินในช่วงเวลากลางคืนของวันลอยกระทง ซึ่งแม้จะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุได้ แต่ก็ทำให้สูญเสียรายได้มหาศาล

logoline