svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

จ่อชง กนศ.-ครม. ไฟเขียว ฟื้นเจรจา FTA ไทย-อียู

07 พฤศจิกายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรมเจรจาการค้าฯ เดินสายรับฟังความเห็นการฟื้นเจรจา FTA ไทย-อียู ครบ 4 ภูมิภาค พบอุตสาหกรรมเนื้อสัตว์ อาหารสำเร็จรูป ยานยนต์และชิ้นส่วนมีความพร้อมสูง แต่ต้องระวังประเด็นการเข้าถึงยา และการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ เตรียมชงให้ กนศ. และครม.พิจารณาไฟเขียวฟื้นเจรจา

วันนี้ (7 พ.ย. 62) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2562 ทางกรมได้ลงพื้นที่จัดสัมมนารับฟังความเห็นการฟื้นการเจรจาการค้าเสรี(เอฟทีเอ)ไทย-สหภาพยุโรป(อียู) จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานภาครัฐ ผู้ประกอบการ ภาคประชาสังคม เกษตรกร และนักวิชาการในภาคอีสาน ณ จังหวัดขอนแก่น โดยนายทวีชัย เจริญเศรษฐศิลป์ ผู้อำนวยการวิจัยสถาบันอนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนาได้นำเสนอข้อมูลสำคัญที่ได้จากการศึกษา ได้แก่ ผลประโยชน์และผลกระทบในภาพรวมต่อเศรษฐกิจและสังคม พร้อมเปรียบเทียบสาระสำคัญในแต่ละประเด็นในข้อตกลงเอฟทีเอของอียูกับประเทศต่างๆ เช่น เวียดนาม และสิงคโปร์ และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมการสัมมนาได้แสดงความเห็นร่วมกับวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา

จ่อชง กนศ.-ครม. ไฟเขียว ฟื้นเจรจา FTA ไทย-อียู

การจัดสัมมนาฯ ในวันนี้ ถือเป็นครั้งที่ 4 หลังจากการลงพื้นที่รับฟังความเห็นก่อนหน้านี้ 3 ครั้งในภาคตะวันออก ณ จังหวัดชลบุรี ภาคเหนือที่จังหวัดเชียงใหม่ และภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา มีผู้เข้าร่วมจากทุกภาคส่วนประมาณ 200 คน ซึ่งเป็นการจัดต่อเนื่องจากเวทีสัมมนาฯ ที่กรุงเทพฯ หลังจากนี้ กรมฯ จะรวบรวมผลการรับฟังความเห็นทั้งหมด และผลการศึกษาวิเคราะห์เสนอที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) และคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาตัดสินใจเกี่ยวกับการฟื้นเจรจาเอฟทีเอไทย-อียูต่อไป

จ่อชง กนศ.-ครม. ไฟเขียว ฟื้นเจรจา FTA ไทย-อียู

ทั้งนี้ ได้ย้ำกับผู้เข้าร่วมสัมมนาว่า การลงพื้นที่ในวันนี้จะไม่ใช่ครั้งสุดท้ายที่กรมฯ จะลงพื้นที่รับฟังความเห็น แต่เป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการสร้างความตื่นตัวให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเตรียมการฟื้นเจรจา ซึ่งเมื่อเริ่มเจรจาแล้ว กรมฯ จะยังลงพื้นที่เพื่อให้ข้อมูลความคืบหน้า และรับฟังความเห็นอย่างต่อเนื่องเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมและดีที่สุดสำหรับประเทศไทย

จ่อชง กนศ.-ครม. ไฟเขียว ฟื้นเจรจา FTA ไทย-อียู

นางอรมน กล่าวอีกว่า จากการจัดสัมมนาฯ ที่ผ่านมาพบว่า ผู้ประกอบการไทยทั้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรม เช่น เนื้อสัตว์ อาหารสำเร็จรูป ยานยนต์ และชิ้นส่วน เป็นต้น ค่อนข้างมีความพร้อมและสนับสนุนการฟื้นเจรจาเอฟทีเอกับอียู โดยต้องการให้อียูลดอุปสรรคทั้งทางด้านภาษีและที่ไม่ใช่ภาษีเพื่อขยายตลาด และรักษาความสามารถในการแข่งขันในตลาดอียูจากประเทศอื่นที่ได้จัดทำเอฟทีเอกับอียูแล้ว เช่น เวียดนามและสิงคโปร์ เป็นต้น

จ่อชง กนศ.-ครม. ไฟเขียว ฟื้นเจรจา FTA ไทย-อียู

อย่างไรก็ดี ภาคประชาสังคมและนักวิชาการบางท่านได้เสนอให้การเจรจาคำนึงถึงผลกระทบทางด้านสังคมที่อาจเกิดขึ้นจากข้อผูกพันด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่อาจเข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขและการเข้าถึงยา และการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ นอกจากนี้ กลุ่มเกษตรกรได้เสนอให้ภาครัฐให้ความรู้และฝึกอบรมเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าของอียูที่เข้มงวด เพื่อให้สามารถส่งออกสินค้าเกษตรไปอียูได้ รวมทั้งการจัดตั้งกองทุนเอฟทีเอเพื่อเยียวยาเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบด้วย

จ่อชง กนศ.-ครม. ไฟเขียว ฟื้นเจรจา FTA ไทย-อียู

สำหรับอียูถือเป็นตลาดใหญ่ มีประชากรรวมกันกว่า 500 ล้านคน เป็นคู่ค้าและนักลงทุนสำคัญอันดับ 4 ของไทย โดยในปี 2561 การค้าไทย-อียู มีมูลค่า 47,322 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 9.4% ของการค้าไทยกับโลก ขยายตัว 6.5% จากปี 2560 โดยไทยส่งออกไปอียู 25,041 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 5.1% และนำเข้าจากอียู 22,281 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 8.1%สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปอียู เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์ อัญมณีและเครื่องประดับ แผงวงจรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ไก่แปรรูป เป็นต้น และสินค้านำเข้าสำคัญของไทยจากอียู เช่น เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องบิน เครื่องร่อน อุปกรณ์การบินและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์เวชกรรมและเภสัชกรรม เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ และอุปกรณ์ยานยนต์ เป็นต้น สำหรับการลงทุนไทยในอียูมีแนวโน้มสูงขึ้นในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา โดยในปี 2561 คิดเป็น 11,339 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ มากกว่าการลงทุนจากอียูเข้ามาในไทย ซึ่งอยู่ที่ 7,065 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

logoline