svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ทำไมไทยไม่ปลูกถั่วเหลือง​ ในเมื่อมีความต้องการใช้ในประเทศ?

07 พฤศจิกายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ดูเหมือนว่าเรื่องใหญ่หลังจากการแบนสารเคมีทางการเกษตร ก็น่าจะเป็นข้อถกเถียงเรื่องพืชดัดแปลงพันธุกรรม ว่าควรจะนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตรหรือไม่ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องเก่าที่เคยถกเถียงกันมาแล้ว

แม้หลายฝ่ายจะปฏิเสธว่าการตัดสิทธิ์ GSP ซึ่งเป็นมาตรการทางภาษีที่สหรัฐผ่อนปรนให้กับประเทศไทยมาอย่างยาวนานกับสินค้าบางประเภท จะไม่เกี่ยวข้องกับการแบนสารเคมีเกษตร 3 ชนิด ของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ก่อนหน้านี้

แต่ผู้เกี่ยวข้องที่เป็นคู่กรณีกัน เช่นมูลนิธิชีววิถี หรือไบโอไทย และ กลุ่มคนรักแม่กลอง ก็พูดในเรื่องเดียวกัน คือการแบนสารเคมีการเกษตร จะกระทบการนำเข้าถั่วเหลือง ดัดแปลงพันธุกรรม หรือ GMO เข้ามาในประเทศไทย ซึ่งผู้ส่งออกก็คือสหรัฐอเมริกา ยิ่งตอกย้ำให้เห็นภาพว่าอเมริกานั้น เสียดุลการค้าไทยมากไปอีก จากตัวเลขปัจจุบันที่เสียดุลการค้าให้ไทยอยู่แล้วถึง 20,000 ล้านบาท

หลายคนอาจงงว่าแล้วพืช GMO เกี่ยวอะไรกับการแบนสารเคมี? ก็จะขออธิบายให้เข้าใจง่ายๆว่า ถ้าเป็นพืช Original ทั่วไปไม่มีการดัดแปลงพันธุกรรม เมื่อเจอสารเคมีก็จะเหี่ยวเฉาตายไป แต่ถ้าหากเป็นพืชที่ดัดแปลงพันธุกรรมอาจทนต่อสารเคมีได้ เช่นเดียวกับที่มีการ ดัดแปลงพันธุกรรมพืช ให้ทนต่อความแห้งแล้ง

ซึ่งหลังการแบน 3 สารเคมีของรัฐบาลไทย สหรัฐอเมริกาจะไม่สามารถส่งออก ถั่วเหลืองและข้าวสาลี ที่ใช้ไกลโฟเสทได้ เพราะผิดสัญญา WTO ที่ระบุว่า "หากประเทศใดมีการแบนสารเคมี.ผลผลิตที่ใช้สารเคมีนั้น ก็จะถูกก็แบนไปด้วย จะไม่สามารถนำเข้าได้" ทั้งนี้ประเทศไทยนำเข้าถั่วเหลืองเกือบร้อยเปอร์เซ็นต์มาทำนมถั่วเหลืองและอาหารสัตว์

ในเมื่อนำเข้าไม่ได้ก็จะเกิดคำถามตัวโตๆ เป็นคำถามที่แสดงที่พยายามหาทางออกว่า" แล้วทำไมไทยไม่ปลูกถั่วเหลือง ในเมื่อมีความต้องการใช้ในประเทศ?"

ปัจจุบันประเทศไทยปลูกข้าวเป็นอันดับ 1 รัฐบาลก็เคยผลักดันให้มีการปลูกพืชหลังนา หนึ่งนั่นก็คือ "ถั่ว" ซึ่งใช้พื้นที่น้อยกว่าปลูกข้าวแล้วก็ได้กำไรดีกว่า แต่ก็ต้องยอมรับว่าถั่ว ค่อนข้างจะดูแลยากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องวัชพืช ซึ่งถ้าเป็นถั่ว GMO จะทนต่อยาฆ่าหญ้า แต่ถ้าเป็นถั่วธรรมดา ก็อาจจะต้องถอนหญ้ากัน จ้าละหวั่น 

ถั่วจึงเป็นพืชที่เกษตรกรไทยปลูกน้อย แม้จะมีความต้องการมากก็ตาม และดูเหมือนว่าราคานำเข้ามาจะถูกกว่า 

ขณะเดียวกัน ประเทศไทยไม่เปิดกว้างเรื่อง "พืชดัดแปลงพันธุกรรม" หรือ "GMO" มากนัก เพราะมีข้อถกเถียงเรื่องความมั่นคงทางอาหารและการรักษาสายพันธุ์แท้ดั้งเดิม.ซึ่งเคยได้รับการต่อต้านจากภาคประชาสังคมมาก่อนหน้านี้ เมื่อครั้งมีการผลักดันร่างพระราชบัญญัติ พืช GMO จนตีตกไป

ดูเหมือนว่าเรื่องใหญ่หลังจากการแบนสารเคมีทางการเกษตร ก็น่าจะเป็นข้อถกเถียงเรื่องพืชดัดแปลงพันธุกรรม ว่าควรจะนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตรหรือไม่ มีความปลอดภัยมากน้อยเพียงใด ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นเรื่องเก่าที่เคยถกเถียงกันมาแล้ว

แต่ประจวบเหมาะกับเวลาและโอกาส ก็อาจทำให้เรื่องพืช GMO กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้งหนึ่งก็เป็นได้ 

#วชิรวิทย์ #วชิรวิทย์รายวัน #Vajiravit #VajiravitDaily #NationTV #Nation

logoline