svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ธุรกิจ​ขยะข้ามพรมแดน​ กำลังเฟื่องฟู! แต่ชาวบ้านรับกรรม

06 พฤศจิกายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำถ้าจะมีสักหนึ่งธุรกิจ ที่กำลังไปได้ดีในตอนนี้ ก็คงจะหนีไม่พ้นธุรกิจรับกำจัดขยะ รีไซเคิลขยะจากเศษจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ซึ่งมีโรงงานกระจุกตัวอยู่ในภาคตะวันออก โดยเฉพาะจังหวัดฉะเชิงเทรา และชลบุรี แต่ท่ามกลางข่าวดี เป็นข่าวร้ายสำหรับชาวบ้านในพื้นที่ที่ต้องแบกรับผลกระทบ

ขึ้นชื่อว่าขยะอุตสาหกรรมอาจมีหน้าตาไม่น่ารังเกียจเท่ากับขยะเปียก ขยะทั่วไป แต่มีอันตรายที่มากกว่า เพราะเต็มไปด้วยสารเคมี โลหะหนัก ปนเปื้อน ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหากจัดการอย่างไม่ถูกต้อง

แล้วก็กลายเป็นกรณีพิพาทต่อเนื่อง สำหรับโรงงานรีไซเคิลขยะอุตสาหกรรม - อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ที่อยู่ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา และชลบุรี มากไปกว่าสถานการณ์ขยะ ยังมีการลักลอบนำสารเคมีปนเปื้อนมาทิ้งลงในแหล่งน้ำ จนทำให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมที่ยากจะฟื้นฟู

ธุรกิจ​ขยะข้ามพรมแดน​ กำลังเฟื่องฟู! แต่ชาวบ้านรับกรรม



"วชิรวิทย์รายวัน" เคยนำเสนอข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ธุรกิจขยะข้ามพรมแดน และได้กระแสตอบรับจากทั้ง นักวิชาการ และกรมโรงงานอุตสาหกรรม ถึงข้อมูลที่แท้จริง มีการถกเถียงกันอย่างสร้างสรรค์ วันนี้จึงจะขอนำเสนอ ประมวลมาให้คุณผู้อ่านได้อ่านกันอย่างละเอียด ดังต่อไปนี้...

ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ "เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง" เปิดเผยว่าสถานการณ์ธุรกิจขยะข้ามพรมแดน ในประเทศไทยมีความน่าเป็นห่วงและไร้การควบคุมดูแลที่เพียงพอ โดยเฉพาะการนำเข้าขยะพลาสติก โดยหลังประเทศจีนแบนการนำเข้าขยะพลาสติก ทำให้ปี 2561 ไทยมีสถิติการนำเข้าขยะพลาสติกเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด 2000-7000% ซึ่งการหลอมทำลายและรีไซเคิลขยะพลาสติก เกรดต่ำ ก่อมลพิษอย่างมาก โดยปี 2018 ประเทศผู้ส่งออกขยะพลาสติกมาไทยสูงสุดคือ ญี่ปุ่น ฮ่องกง และสหรัฐอเมริกา ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วจะไม่ทำลายและรีไซเคิลขยะเหล่านี้ในประเทศตัวเอง แต่จะส่งออกมายังประเทศกำลังพัฒนา ข้อเสนอเร่งด่วนคือ รัฐบาลควรแบนการนำเข้าขยะพลาสติก เพราะหากแก้ไขปัญหาปัญหานี้ไม่ได้ ก็จะต้องเผชิญปัญหามลพิษ เช่นฝุ่น PM 2.5 ไม่จบสิ้น

ธุรกิจ​ขยะข้ามพรมแดน​ กำลังเฟื่องฟู! แต่ชาวบ้านรับกรรม



ส่วนการนำเข้ากากอิเล็กทรอนิกส์ ใน 5 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มการนำเข้าสูงขึ้น โดยประเทศที่ส่งออกมาไทยมาสุดคือไต้หวัน และ จีน สถิติปริมาณการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์ปี 2014 - 2018 รวมทั้งหมด 104,660 ตัน โดยในปี 2018 เพียงปีเดียวมีการนำเข้าขยะอิเล็กทรอนิกส์มากถึง 38,423 ตั้น ในขณะเดียวกัน กรมกระทรวงที่ดูแล ก็ไม่มีการตรวจสอบเข้มงวดว่าทำถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ไม่มีการตรวจสอบ หรือมีการเอาผิด ซึ่งหากถ้าเทียบรายได้ของอุตสาหกรรม รีไซเคิล กับปัญหาสิ่งแวดล้อมและมลพิษ ดูจะไม่คุ้มกัน คนจนจนลงจากปัญหาสิ่งแวดล้อม มีคนเพียงหยิบมือที่ได้รับประโยชน์จากผลกระทบที่เกิดขึ้น

ปัจจุบันพรบ.โรงงาน พ.ศ.2562 ลดขั้นตอนการขอใบ รง.4 ยิ่งเปิดช่องให้มีโรงงานรีไซเคิลเยอะขึ้น หรือสามารถขยายกิจการได้โดยไม่ต้องขออนุญาติอีก ทำให้ไม่มีการตรวจสอบมาตรฐาน และการสร้างผลกระทบ พรบ.โรงงานฉบับนี้อาจมีข้อดีในการส่งเสริมการทุนลงทุน แต่สร้างผลกระทบสูง มูลนิธิจึงอยู่เรียกร้องให้มีการแก้ไขกฎหมาย โดยอาจต้องมีการรวบรวมรายชื่อประชาชน เพื่อให้มีการแก้ไข พรบ.

สำหรับพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากธุรกิจขยะข้ามพรมแดนมากที่สุดในขณะนี้คือ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ซึ่งมีมาตรการดูแลสิ่งแวดล้อมหย่อนยานกว่าที่อื่น เพื่อส่งเสริมการลงทุน

จากข้อมูลนี้รองอธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม "บรรจง สุกรีฑา" โต้ตอบในเฟซบุ๊ค "ข่าวคุณภาพชีวิตสิ่งแวดล้อมเนชั่นทีวี" โดยระบุว่า

1. ตั้งแต่ 22 มิถุนายน 2561 กรมโรงงานอุตสาหกรรม มีคำสั่งชะลอการพิจารณาอนุญาตฯ จึงไม่มีการออกใบอนุญาตให้นำเข้า E-Waste ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2562 แล้ว และปัจจุบันกรมโรงงานอุตสาหกรรม ได้ยกร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม โดยอาศัยมาตรา 32(2)แห่ง พรบ.โรงงาน 2535 ห้ามโรงงานใช้วัตถุดิบ E-Waste จากการนำเข้า และเช่นกระทรวงพานิชย์ร่างประกาศห้ามนำเข้าสิค้าที่เข้าเกณฑ์ E-Weaste ประมาณสี่ร้อยกว่าซึ่งสอดคล้องตรงกับประกาศกรมโรงงาน เสร็จแล้ว รอเพียงกระบวนออกกฎหมายของทางราชการซึ่งคงมีผลบังคับใช้เร็วๆ นี้ สรุปว่าประเทศไทยมีนโยบายแบนสินค้า E-Waste 100% ครับ

2. และก็ไม่มีการออกใบอนุญาตให้นำเข้าเศษพลาสติกแล้ว คงเหลือเฉพาะการบริหารจัดการโคต้าใบอนุญาตเดิมที่ยังคงมีอายุอยู่ ซึ่งก็ลดลงเรื่อยๆ ถึงสิ้นปี 2563 ใบอนุญาตเดิมทั้งจะสิ้นอายุ...ดังนั้น ตามเนื้อหาข่าว ณ ปัจจุบันจึงไม่ตรงกับข้อเท็จจริง...ครับ

ธุรกิจ​ขยะข้ามพรมแดน​ กำลังเฟื่องฟู! แต่ชาวบ้านรับกรรม


จากนั้น "ดาวัลย์ จันทรหัสดี" แกนนำชาวบ้านคลองด่าน ในนามมูลนิธิบูรณะนิเวศ ได้ตอบกลับไปว่า ตามที่ท่านรองอธิบดีกรอ.มาเม้นใต้ภาพ ท่านคงไม่ทราบว่าเราได้ทำการศึกษาและสืบค้นเปรียบเทียบ 5 ปีตั้งแต่ปี 2557-2561 เกี่ยวกับการนำเข้าตามพิกัดศุลกากรว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด ก็เป็นไปตามที่ท่านว่ายังมีบางบริษัทที่มีใบอนุญาตอยู่ ก็ยังสามารถนำเข้าได้ ซึ่งนี้ก็เป็นปัญหาที่ว่า กรอ.ออกใบอนุญาตแบบเหมาเข่ง คือออกให้โดยกำหนดระยะเวลาใบอนุญาตนำเข้า เป็นช่วงเวลา 1-2 ปี ไม่ได้ระบุเป็นครั้ง อีกทั้งยังระบุปริมาณนำเข้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งบริษัทที่ได้รับใบอนุญาต สามารนำเข้าเมื่อไรก็ได้ ซึ่งน่าจะมีปัญหาเรื่องปริมาณที่นำเข้ามาซึ่งเมื่อนำมารวมแล้วอาจเกินจากปริมาณที่ได้รับอนุญาตก็เป็นได้

ทั้งนี้ในช่วงระยะเวลา 5 ปีดังกล่าว เรายังทำการศึกษาเกี่ยวกับการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานลำดับที่ 53,105 และ106 ว่ามีการออกใบอนุญาตจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หมู่ 9 ต.เกาะขนุน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา หมู่เดียวมีโรงงาน 105(คัดแยก) 8 ใบอนุญาต และ 106(รีไซเคิล) 11 ใบอนุญาต ต่อมาในปี 2562(ช่วงเดือน มค.-กย.)กรอ.ได้ออกใบอนุญาตไปถึง 11 ใบ นั้นหมายถึงว่าในพื้นที่หมู่ 9 ต.เกาะขนุน มีโรงงานคัดแยกและรีไซเคิลถึง 30 โรงด้วยกัน ทางกรอ.พิจารณาออกใบอนุญาตให้กับ บริษัทเดียวมีใบอนุญาต105 ถึง 7 ใบ และมีใบอนุญาต 106 ถึง 9 ใบ รวมทั้งการออกใบอนุญาตให้บุคคลคนเดียวมีใบอนุญาตประกอบกิจการประเภทเดียวกันถึง 6 ใบ ในกรณีนี้ท่านมีคำตอบอย่างไร

ธุรกิจ​ขยะข้ามพรมแดน​ กำลังเฟื่องฟู! แต่ชาวบ้านรับกรรม



รองอธิบดีกรมโรงงานฯ จึงได้นำ กราฟแสดงสถิติการนำเข้าเศษพลาสติก ถึงปัจจุบัน ปี 2562 แสดง โคต้าการนำเข้า 471,265 ตัน นำเข้าจริง 205,552.89 ตัน เหลือโคต้าปี 2562 116,875.55 ตัน ซึ่งเหลือเวลาอีก 2 เดือน โดยระบุว่า คาดว่ายอดการนำเข้าคงต่ำกว่าโคต้าเยอะพอสมควร สาเหตุ เนื่องจาก กระบวนการบริหารจัดการเศษพลาสติกนำเข้ามีความเข้มข้น จริงจัง เด็ดขาด

สถิติการนำเข้าจริงไม่ได้ตรงกับโคต้าที่นำเข้า เมื่อเกิดปัญหาการนำเข้าเศษพลาสติกทาง กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้มีการปรับปรุงกระบวนการบริหารจัดการพลาสติกใหม่ทั่งหมดผ่านระบบสารสนเทศ ซึ่งสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกตู้สินค้าที่ตรวจปล่อยผ่านเข้ามาในประเทศทำให้มีประสิทธิภาพในการควบคุมกำกับดูแล จะเห็นได้จากปี 2561 ผู้ประกอบการปล่อยให้โคต้าการนำเข้าหมดอายุไปจำนวน 450,501.16 ตัน และปี 2562 จำนวน 148,836.57 ตัน

อนึ่ง กรมโรงงานฯ ได้ส่งเรื่องการนำเข้าเศษพลาสติกกลับไปให้กระทรวงพานิชย์ซึ่งเป็นผู้มอบอำนาจให้ กรอ.อนุญาตนำเข้าแทนฯ เพื่อพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์เงื่อนไขการนำเข้าเศษพลาสติกใหม่ทั้งหมด ซึ่งมี จนท. กรอ. เป็นคณะทำงานฯด้วย จะมีการอนุญาตในรูปคณะกรรมการฯและอนุญาตให้นำเข้าเป็นรายครั้งไป ทั้งนี้ เป็นการเตรียมพร้อมหากมีนโยบาย ในฐานะที่ผมเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงในการนำนโยบายสู่การปฎิบัติขอยืนยันว่าเราตระหนักให้ความสำคัญและคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสภาพแสดล้อม พร้อมจะบูรณาการภารกิจกับทุกองค์กร

ล่าสุด "วชิรวิทย์รายวัน" จึงลงพื้นที่ไป เยี่ยมเยียยไถ่ถามสารทุกข์สุกดิบชาวบ้าน ในอำเภอพนมสารคามจังหวัดฉะเชิงเทรา พวกเขายอมรับว่าได้รับผลกระทบอย่างหนักจากโรงงานรีไซเคิล กากขยะอุตสาหกรรมเหล่านี้ เพิ่งต่างคนก็แสดงความคิดเห็นในเชิงหมดหวังกับการแก้ไขปัญหาจากภาครัฐ

#วชิรวิทย์ #วชิรวิทย์รายวัน #Vajiravit #VajiravitDaily #Nation #NationTV

logoline