svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

จ้องล้ม "เรือเหล็กลุงตู่"

02 พฤศจิกายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ฝ่ายค้านทำทุกวิถีทางที่จะล้มรัฐบาลแต่ทำได้แค่ดิสเครดิตเท่านั้น โบราณว่า ไม่ได้ด้วยเล่ห์ ต้องเอาด้วยกล ไม่ได้ด้วยมนต์ ต้องเอาด้วยคาถา ท่าจะจริง........

"เนชั่น สุดสัปดาห์" จับกระบวนท่าการเมืองของฝ่ายค้าน น่าจะไปทางนั้น เพราะเปิดฉากสภาสมัยหน้า กางบัญชีคิดทั้งดอกและต้นยาวเป็นหางว่าว
เริ่มจาก ประเด็นเล็กน้อยในระดับญัตติค้างท่อธรรมดา ไปจนถึงการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจเป็นรายบุคคล โดยคาดหมายว่าจะได้อภิปรายก่อนวันที่ 20 ธันวาคม ก่อนสิ้นปี
บางคนบอกว่า ยังเร็วเกินไปที่จะยื่นซักฟอกนายกฯ เพราะฝ่ายค้านเพิ่งจะอภิปรายรัฐบาล2เรื่องติดๆคือ อภิปรายนโยบายรัฐบาล และอภิปรายร่างพรบ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี2563
รัฐบาลเพิ่งเริ่มทำงาน งบประมาณก็ยังไม่ได้ใช้ จะเอาประเด็นอะไรมาอภิปราย เพราะการอภิปรายไม่ไว้วางใจถือเป็นกระบวนการตรวจสอบขั้นสูงสุดที่รัฐธรรมนูญกำหนดเอาไว้
เป็นการถ่วงดุลระหว่างฝ่ายค้านและรัฐบาล
แต่ว่าการที่จะยื่นซักฟอกรัฐมนตรีคนไหนสักคน มันเหมือนโทษประหารทางการเมือง ฝ่ายค้านจะต้องมีหลักฐาน มีใบเสร็จในการกระทำความผิด โดยเฉพาะเรื่องการทุจริต
ยังไม่เคยเห็นการยื่นไม่ไว้วางใจจะใช้ประเด็นการปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ธรรมดา เพราะมันค่อนข้างเป็นนามธรรม
อาจจะทำให้น้ำหนักในการเอาผิดรัฐบาลเบาหวิว
อย่างไรก็ตาม เข้าใจว่าเป็นหน้าที่ของฝ่ายค้านที่รัฐธรรมนูญมาตรา151 กำหนดเอาไว้ ว่าให้อภิปรายไม่ไว้วางใจได้ปีละครั้ง ฉะนั้นมันก็เหมือนกฐิน ที่ทอดได้ภายใน30วันหลังออกพรรษา ฝ่ายค้านกลัวจะเสียสิทธิ์นี้ไป

จึงทำทุกวิธีที่มีอยู่เพื่อตรวจสอบรัฐบาล ภาษาชาวบ้านคือล้มรัฐบาล
แต่จะล้มได้หรือไม่ เพราะว่า วันนี่ยังไม่เห็นญัตติฝ่ายค้าน มีเพียงการคาดเดาว่า ฝ่ายค้านจะหยิบยกเรื่องความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ มาอภิปราย
ถ้าเอาแค่เรื่องนี้ น่าจะใช้ช่องทางการยื่นกระทู้ถามสด หรือยื่นญัตติ หรือเสนอเรื่องเข้ากรรมาธิการเศรษฐกิจ การคลัง ซักถามกันได้ สดๆตอนนี้ก็เรื่องสหรัฐฯตัดสิทธิจีเอสพี
แต่ฝ่ายค้านอาจจะบอกว่า ในกรรมาธิการฯเราก็ใช้เป็นเครื่องมือในการเล่นงบานรัฐบาลเหมือนกัน ยกตัวอย่าง กรรมาธิการปราบปรามการทุจิรตของ พล.ต..เสรีพิศุทธิ์ เตมียาเวส ที่เรียก นายกฯไปชี้แจง เรื่องงบประมาณแต่เอาไปผูกกับเรื่องการถวายสัตย์
รัฐบาลเลยงง เพราะชื่อกรรรมาธิการฯคือปราบปรามทุจริต การที่นายกฯถวายสัตย์ฯ มันเกี่ยวกับการทุจริตตรงไหน ประเด็นนี้ นายกฯมอบให้ ดิสทัต โหตระกิตย์ เลขาธิการนายกฯทำหนังสือสอบถามพร้อมชี้แจงแทนแล้วว่า การถวายสัตย์ฯจบแล้วเนื่องจากศาลรัฐธรรมนูญ ได้วินิจฉัยแล้วว่า
ความสัมพันธ์ระหว่างนายกฯและพระมหากษัตริย์ ไม่มีองค์กรไหนที่จะไปมีอำนาจตีความได้ แล้วพล.ต.อ.เสรีพิศุทธิ์ จะเรียกไปชี้แจงทำไม
แน่นอนว่า พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ไป เลยทำให้ฝ่ายค้าน แค้นสุมอก หาวิธีการอย่างไรจะให้นายกฯมาชี้แจงสภาให้ได้
แม้น นายชวน หลีกภัย ประธานสภาจะพูดอย่างเป็นกลางว่า เรื่องไหนที่กรรมาธิการฯเชิญไปก็ควรจะให้ความร่วมมือ แต่กรรมาธิการฯต้อบงมีวุฒิภาวะด้วย ไม่ใช่ไปข่มขู่ หรือเรียกมาชี้แจงในเรื่องที่ไม่เกี่ยวกับงานของกรรมาธิการฯ อย่างนี้เป็นต้น

ฝ่ายค้านก็เอาทุกทาง เพราะมีรายงานข่าวจากพรรคฝ่ายค้านว่า อารอภิปรายไม่ไว้วาใจแม้ว่าจะล้มรัฐบาลไม่ได้ แต่การอภิปรายไปเรื่อยๆจะทำให้คะแนนนิยมนายกฯลดลง ถือเป็นการดิสเครดิตไปในตัว
หากดูตามรัฐธรรมนูญ เขาจะนับคะแนนไม่ไว้วางใจ ว่าจะต้องเกินกึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกของสภา ถ้าสมาชิกมี 500 คน เสียงไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านจะต้องมีเกิน250เสียง จะไปเอามาจากไหน
ยิ่งการเบือกตั้งซ่อมสส.นครปฐมที่ผ่านมา ฝ่ายรัฐบาลก็ได้เพิ่มมาอีก1เสียง ลำพังจะให้พรรคร่วมรัฐบาลหันไปยกมือคว่ำรัฐบาลตัวเองนั้นอย่าได้หวังเพราะยังเป็นช่วงเวลาฮันนีมูนกันอยู่
ฝ่ายค้านเลิกหวังได้
ตรงกันข้าม ฝ่ายค้านน่าจะควบคุมสมาชิกให้ดี เพราะมีสส.เพื่อไทยและอนาคตใหม่ หลายคนที่มีปัญหากับพรรคตัวเอง อาจจะงดออกเสียงหรือลาป่วยไปเฉยๆในวันลงมติก็ได้ ยิ่งจะกลายเป็นว่า อภิปรายรัฐบาลแต่ฝ่ายค้านแพ้เสียเอง
มีอีกประเด็นที่ฝ่ายค้านต้องระวัง นั่นก็คือ รัฐบาลจะอภิปรายซักฟอกฝ่ายค้านกลับเอง เนื่องจากฝ่ายค่านยังมีแผลอีกเยอะในการริหารประเทศในช่วงที่ผ่านมา
ในอดีตก็เคยมีที่ฝ่ายรัฐบาลงัดเอาข้อมูลมาอภิปรายฝ่ายค้านกลับ เล่นเอาตั้งตัวแทบไม่ทัน แทนที่จะได้เอาข้อมูลไปอภิปรายรัฐบาลก็มัวมาสาละวนเสียเวลากับการชี้แจงข้อกล่าวหาของรัฐบาล
เล่นเอาประท้วงกันวุ่นวายเหมือนกันว่า วิธีการแบบนี้ทำได้หรือ รัฐธรรมนูญให้สิทธิ์ฝ่ายค่านในการยื่นญัตติ แต่รัฐบาลจะมาอภิปรายกลับได่อย่างไร เพราะรัฐบาลมีหน้าที่ในการตอบญัตติไม่ไว้วางใจของฝ่ายค้านเท่านั้น
แต่ก่อนจะอภิปรายไม่ไว้วางใจ สุทิน คลังแสง ประธานวิปฝ่ายค้านยังหวังว่าจะได้อภิปรายนายกฯประยุทธ์ เป็นการโหมโรงก่อน 3 เรื่องคือ
1.ญัตติศึกษาผลกระทบจากการใช้มาตรา 44 ของคสช.ช่วงที่ผ่านมา ซึ่งสมาชิกเตรียมพร้อมอภิปรายกันอย่างกว้างขวางโดยเฉพาะการกระทำที่ผ่านมาของ คสช.ทั้งจากพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี
2.ญัตติศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญ รับรองว่าอภิปรายกันสนั่นเมืองแน่นอน และ 3.รับทราบรายงานการปฏิรูปประเทศทุก 3 เดือน ซึ่งจะเห็นว่ารัฐบาลไม่ได้ทำอะไรเลย ซึ่งท่านเขียนรัฐธรรมนูญวางกับดักตัวเอง
นี่เรียกว่าหาช่องทางกัดกร่อนความน่าเชื่อถือของนายกฯและครม.ทุกหนทางที่มีอยู่ เหมือนที่ สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ ผู้นำฝ่ายค้าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย พูดเอาไว้ว่า อย่างน้อยก็ได้ดิสเครดิตนายกฯ
แต่เมื่อถึงวันนั้น ด้วยปัจจัยที่ยังไม่มีอะไรสุกงอม นายกฯประยุทธ์ ยังจะพา"เรือเหล็ก"ลำนี้แล่นฝ่าคลื่นเล็กๆของฝ่ายค้านไปได้ อย่างไม่น่ามีอะไรให้กังวล

logoline