svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ชาวบ้านรอบเหมือง​หนุน "บิ๊กตู่" สู้คดี​ "เหมืองทอง​อัคราฯ"

31 ตุลาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ที่ศาลแพ่งรัชดามีนัดฟังคำพิจารณาว่าจะรับคดีผลกระทบจากเหมืองทองคำ จังหวัดพิจิตร เป็นคดีฟ้องแบบกลุ่มหรือไม่ หลังจากที่บริษัทอัคราฯ คู่กรณีอุทธรณ์คัดค้านมาเมื่อปีที่แล้ว ขณะที่ตัวแทนชาวบ้านให้กำลังใจพลเอกประยุทธ์ หลังลั่นจะ "รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว" ในการต่อสู้คดีเหมืองทอง ในชั้นอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ

31 ต.ค. 62 - จากกรณีพิพาทคดีเหมืองทองคำระหว่างรัฐบาลไทยกับบริษัท อัครารีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) หลังคสช.ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ปิดเหมืองทอง ที่ขึ้นสู่การพิจารณาของคณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศ ซึ่งกำลังจะมีการไต่สวนนัดแรกวันที่ 18 พฤศจิกายนนี้ และหากรัฐไทยแพ้ก็อาจจะต้องเสียค่าโง่ 3 หมื่นล้านบาท และ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ออกมาเปิดเผยว่า จะรับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว 

ชาวบ้านรอบเหมือง​หนุน "บิ๊กตู่" สู้คดี​ "เหมืองทอง​อัคราฯ"



วันนี้ตัวแทนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากเหมืองทองคำ นางสาวสื่อกัญญา ธีระชาติดำรง เปิดเผยระหว่างมาฟังคำพิจารณาจากศาลแพ่งว่าจะรับคดีผลกระทบเหมืองทองคำที่มีชาวบ้านกว่า 300 คนยื่นฟ้องเป็นคดีแบบกลุ่ม เรียกร้องค่าเสียหายกับบริษัท อัครารีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) มูลค่า 500 ล้านบาท เป็นคดีแบบกลุ่มหรือไม่ หลังจากที่บริษัทได้ยื่นอุทธรณ์เมื่อปีที่แล้วว่า ในฐานะตัวแทนชาวบ้านขอเป็นกำลังใจให้กับพลเอกประยุทธ์ เชื่อว่าในครั้งนั้น ได้ตัดสินใจถูกแล้วที่ใช้มาตรา 44 ปิดเหมืองทองคำ ไม่เช่นนั้นความเสียหายและผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจะยิ่งขยายวงกว้างไปมากกว่านี้ ในขณะเดียวกันกลไกของทางราชการปกติที่สามารถจะหยุดกิจการเหมืองทองทำได้ก็มีท่าทีที่เอื้อกลุ่มทุนมากกว่า ดังนั้นการใช้มาตรา 44 จึงเป็นทางเลือกเดียวที่จะยุติปัญหาให้เร็วที่สุด

จริงอยู่ที่คำสั่งตามมาตรา 44 ของหัวหน้าปัจจุบันนั้นไม่ใช่กฎหมายที่สากลยอมรับ แต่ถ้าดูสภาพความเป็นจริงก็จะพบหลักฐานหลายอย่างว่าเหมือนสร้างผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรงโดยเฉพาะหลักฐานงานวิจัยจากคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและแก้ไขปัญหา ข้อขัดแย้ง ผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ จากการทำเหมืองแร่ทองคำของ บริษัท อัครา รีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ที่มีอยู่แล้วหนึ่งในนั้นคือ งานวิจัยของ ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ ระบุ บ่อทิ้งกากแร่ที่ 1 รั่วไหลจริง

ขณะที่การพิจารณาของศาลแพ่งว่าจะรับฟ้องคดีผลกระทบเหมืองทองคำเป็นคดีแบบกลุ่มหรือไม่ก็จะน่าจะได้รู้ผลภายในวันนี้ ซึ่งหากศาลรับเป็นคดีแบบกลุ่มก็จะมีการไต่สวนและสืบพยานต่อไป โดยชาวบ้านได้เรียกร้องให้บริษัทอัคราฯ ต้องจ่ายเงินชดเชยเยียวยาประชาชนรอบเหมืองคนละประมาณ 1.5 ล้านบาท รวมเป็นเงินตามข้อเรียกร้องกว่า 500 ล้านบาท

logoline