svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

"อีไอซี" ห่วงไทยเข้าเกณฑ์ความเสี่ยงแทรกแซงค่าเงินของสหรัฐฯ

30 ตุลาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ธนาคารไทยพาณิชย์ คาด สหรัฐตัดจีเอสพีไทยกระทบส่งออกแค่ 0.01% เหตุสินค้าถูกตัดสิทธิอยู่ในวงจำกัด จับตาไทยยังมีความเสี่ยงเรื่อง currency manipulator ในระยะข้างหน้า ที่เข้าเกณฑ์แทรกแซงค่าเงินของสหรัฐฯ

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ หรืออีไอซีได้ประเมินผลกระทบหลังจากสำนักผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ประกาศเตรียมยกเลิกการให้สิทธิพิเศษทางภาษีภายใต้ระบบGeneralized System of Preferences (GSP) กับไทยครอบคลุมมูลค่าการค้าประมาณ 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐด้วยสาเหตุที่ไทยไม่ดำเนินการเพื่อให้ประเด็นเรื่องสิทธิแรงงานเป็นไปตามมาตรฐานสากล(failure to adequately provide internationally-recognized worker rights)ตามคำร้องของ American Federation of Labor and Congress ofIndustrial Organizations (AFL-CIO) เช่นการให้ความคุ้มครองด้านเสรีภาพและการต่อรองของสหภาพแรงงาน เป็นต้น
นอกจากนี้ สหรัฐฯ ยังมีท่าทีเพ่งเล็งกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีแนวโน้มเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯในระดับสูง โดยหากพิจารณาจากมูลค่าการค้าที่ได้รับประโยชน์จาก US GSP ประเทศที่ได้รับประโยชน์มากที่สุดในปี 2018 ประกอบไปด้วยอินเดีย, ไทย, บราซิล, อินโดนีเซีย และตุรกี ซึ่งอินเดียและตุรกีโดนตัด GSP ไปแล้วตั้งแต่เดือนมีนาคม ไทยย่อมตกเป็นเป้าสายตาของสหรัฐฯจากการเกินดุลกับสหรัฐฯ ที่สูงติดอันดับ 25 ประเทศแรกนอกจากนั้น ยังมีการร้องเรียนจากภาคเอกชนของสหรัฐฯ ให้มีการตัดสิทธิ GSP ของไทยโดยสมาพันธ์ผู้เลี้ยงสุกรของสหรัฐฯ (National Pork ProducersCouncil: NPPC) เนื่องจากไทยมีการจำกัดการเปิดตลาดเนื้อหมูและเครื่องในหมูของสหรัฐฯจากความกังวลด้านการปนเปื้อนสารเร่งเนื้อแดงแรคโตพามีน ทั้งนี้ทางการสหรัฐฯได้กำหนดระยะเวลา 6 เดือนก่อนการตัด GSP โดยจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 25 เมษายน 2020
อีไอซีประเมินผลกระทบที่เกิดจากการตัดสิทธิ GSP ต่อการส่งออกในภาพรวมมีจำกัด โดยมีผลประมาณ 0.01% ของการส่งออกทั้งหมดจากสาเหตุหลัก คือการประกาศเตรียมยกเลิกการให้สิทธิพิเศษทางภาษีภายใต้ระบบ GSP กับไทย มีมูลค่าประมาณ 1.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากการที่ไทยไม่ดำเนินการเรื่องสิทธิแรงงานให้เป็นไปตามมาตรฐานสากลสินค้าที่โดนตัดสิทธิ GSP คิดเป็น 4.1% ของมูลค่าการส่งออกไปสหรัฐฯ หรือคิดเป็นเพียง 0.5% ของการส่งออกรวมของไทย
ทั้งนี้ สินค้าส่งออกสำคัญที่มีความเสี่ยงสูงในการได้รับผลกระทบ(พิจารณาจากสัดส่วนการใช้สิทธิ GSP ต่อสิทธิที่ได้รับ และ/หรืออัตราภาษีที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้น) คือ สุขภัณฑ์, เม็ดพลาสติก,อาหาร (ผลิตภัณฑ์ถั่ว, เส้นพาสต้า, เนื้อปู) และเครื่องประดับ (สร้อยทอง และหินอัญมณี) หากโดนตัดสิทธิ GSP สินค้าส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ ในหมวดที่ถูกตัดสิทธิจะโดนเก็บภาษีเพิ่มเติมเฉลี่ย(แบบถ่วงน้ำหนัก) ที่ 3.9%
"อีไอซีคาดผลกระทบต่อภาคส่งออกไทยมีจำกัดประมาณ0.01% ของมูลค่าการส่งออกรวม อย่างไรก็ดีแม้ผลกระทบในภาพรวมจะไม่สูงแต่จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและการแข็งค่าที่ต่อเนื่องของเงินบาทจะเป็นปัจจัยกดดันธุรกิจส่งออกที่พึ่งพาสิทธิ GSP โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กที่มีศักยภาพในการปรับตัวต่ำกว่า"
อย่างไรก็ตามในระยะต่อไปไทยยังคงมีความเสี่ยงเรื่อง currency manipulator ในระยะข้างหน้า เนื่องจากอีไอซีประเมินว่าในขณะนี้ไทยอาจเข้าเกณฑ์เป็นผู้แทรกแซงค่าเงิน 2 จาก 3 เกณฑ์ตามที่สหรัฐฯ กำหนด กล่าวคือ 1) ไทยมีแนวโน้มเกินดุลบัญชีเดินสะพัดกว่า6.4% ในปีนี้ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ 2% และ2) ธปท. ได้เข้าแทรกแซงค่าเงินบาทต่อเนื่องเกินกว่า 6เดือนในรอบ 1 ปีย้อนหลังและเข้าซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐเกินกว่า 2% ของ GDP ไทย อย่างไรก็ดี เกณฑ์ข้อ 3 ที่ไทยยังไม่เข้าข่ายคือการเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯที่ยังไม่เกินดุลมากกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ2 ซึ่งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อเดือนกันยายน 2018 (ปัจจุบันอยู่ที่ราว1.9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ)แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่ตัวเลขการเกินดุลจะปรับสูงขึ้นได้อีก ดังนั้นมีโอกาสที่สหรัฐฯจะประกาศว่าไทยอยู่ใน monitoring list หรือเป็น currencymanipulator ได้ในระยะข้างหน้าซึ่งอาจนำมาซึ่งการกีดกันทางการค้าในรูปแบบอื่น ๆ เพิ่มเติมได้

logoline